Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติให้กำลังใจนศ.ม.ราชภัฏโคราชผู้วาดภาพพระพุทธรูปซึ่งปรากฎพระพักตร์เป็นรูปซูเปอร์ฮีโร “อุลตร้าแมน” โดยชี้ว่าสร้างสรรค์แล้ว และเชื่อว่าประเทศไทยควรปล่อยให้เด็กมีจินตนาการ

ข้อความดังกล่าวเผยแพร่ผ่านไลฟ์สด ในเครือข่ายออนไลน์เฟสบุ๊ก ของ “นรินทร ทามาส” ซึ่งเป็นลูกศิษย์ มีความยาวกว่า 7 นาที

“ทุกวันนี้บ้านเมืองของเรามีแต่คนลอก มันลอกอย่างเดียว ลอกทุกสิ่งทุกอย่าง มันเลยคิดไม่เป็น … เด็กไม่กล้าที่จะคิดต่าง ท่านลองคิดใหม่สร้างใหม่สิ เราจึงสุดยอด”

เฉลิมชัย ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปีพ.ศ. 2554 กล่าวว่ารูปดังกล่าวเป็นการเขียนอุนตร้าแมน ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวแทนตามความรู้สึกของการเป็นฮีโร เป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี การปกปักษ์รักษาโลกและปราบปรามเหล่าร้าย เมื่อนำความเก่งของอุลตร้าแมนใส่เข้ากับพระพุทธเจ้าก็ย่อมหมายถึงคุณงามความดี

“เขาต้องการให้คนในรุ่นของเขานั้นได้เห็นอะไรที่มันแปลกใหม่ เขาไม่ได้เขียนว่าเอาหัวพระพุทธเจ้า หรือเอาเศียรพระพุทธเจ้าไป
ใส่กับซาตานหรือใส่กับปีศาจหรือใส่คนชั่ว หรือตัวละครในหนังที่เป็นคนชั่ว ไม่ใช่ เขาเอาเศียรพระมาใส่ที่ตัวละครที่ดีที่สุดที่ปกปักษ์รักษาโลก”

ส่วนหนึ่งของภาพวาดต้นเรื่อง

ส่วนประเด็นที่กระแสสังคมส่วนหนึ่งโต้แย้งว่าการวาดภาพดังกล่าวถือเป็นการลบหลู่ศาสนาจนเป็นเหตุให้นาย วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยผศ.ดร.ธวัช ตราชู รองอธิการบดีม.ราชภัฎนครราชสีมานำตัวนักศึกษาเจ้าของผลงานกราบขอขมาต่อพระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาเนื่องจากวาดภาพดังกล่าว เขากล่าวว่า”เราอย่าไปมองถึง ลบหลู่ศาสนาบ้าบอคอแตก ผมว่าน้ำเน่ามากเกินไป มันไม่ได้เป็นขนาดนั้น จนกระทั่งทำให้เด็กต้องไปกราบ”

“นั่นคือสิ่งที่เรามองแค่เปลือก เรามองเปลือกแล้วเราก็กล่าวหาว่าลบหลู่” เฉลิมชัยกล่าวในตอนหนึ่ง

นอกจากนี้ เขายังชี้ว่าการที่ภาคส่วนต่าง ๆ บังคับให้นักศึกษาคนดังกล่าวต้องกราบขอโทษส่งแรงสะเทือนไปยังเยาวชนทั้งประเทศ “ไม่ใช่เด็กคนนี้คนเดียว เด็กทั้งประเทศก็สั่นไหว ว่าอีกหน่อยทำอะไรผู้ใหญ่ด่ามาอย่างนี้ … กูไม่ทำดีกว่า กูก็ลอกๆไป”

“เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เด็กมีจินตนาการ เด็กเปลี่ยนแปลง นั่นคือสิ่งที่เราต้องการ คนสมัยใหม่เป็นแบบนี้และกล้าหาญ ดังนั้น ตอนนี้เราไปด่าเด็ก ทำให้เด็กทั้งประเทศหวาดกลัว ทำอะไรก็ไม่ได้สิ่งที่แปลกใหม่ออกไป ทำไม่ได้”

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการถกเถียงในประเด็นข้อจำกัดระหว่างศิลปะและศาสนา ก่อนหน้านี้งานของถวัล ดัชนี ศิลปินเชิงพุทธปรัชญาก็เคยถูกกรีดทำลายจนเป็นเหตุให้ คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ซึ่งได้รับความเคารพเป็นปราชญ์ในยุคหนึ่งต้องออกมาอธิบายว่าศิลปะสามารถมีความคิดสร้างสรรค์ได้

 

ภาพ “ภิกษุสันดานกา” ปรากฎในหนังสือศิลปะนานาชาติ

วงการศิลปะเองก็เคยต่อสู้กับข้อกำจัดด้านศาสนา เมื่อครั้งหนึ่ง “ภาพภิกษุสันดานกา” โดยอนุพงษ์ จันทร ก็เคยสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากวงการพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาคณะกรรมการศิลปกรรมแห่งชาติก็ตัดสินใจมอบรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม ในการคัดเลือกศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 ในส่วนนี้เฉลิมชัยชี้ว่าความสร้างสรรค์ในลักษณะนี้สุดท้ายก็เป็นที่ชื่นชมในวงการศิลปะระดับนานาชาติ และชี้ว่า “ประชาชนคนไทยต้องเข้าใจว่าศิลปะ มันต้องมีจินตนาการ มันต้องมีความคิดแตกต่างสร้างสรรค์แต่ไม่ได้เหยียบย่ำลบหลู่”

“สงสารเด็ก ผมมาวันนี้เพื่อมาพูดนะ ใครจะด่าผมด่ามา ไม่เป็นไรแต่ว่าอย่าด่าเด็ก ผมสงสารเด็กจริง ๆ เด็กไม่ได้ผิดอะไร … ลูกอย่าท้อ ลูกจงคิด แล้วสร้างงานศิลปะต่อไป” ศิลปินแห่งชาติปิดท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า