Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ใช้ระบบไบโอเมททริคเพียง 3 วัน สามารถสกัดจับชาวต่างชาติใช้หนังสือเดินทางปลอมได้ 8 ราย พบต้นตอสำคัญ มาจากหน้านายชาวอิหร่าน

วันที่ 13 ก.ย. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พลตำรวจโทสมพงษ์ ชิงดวง ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แถลงการจับชาวต่างชาติใช้หนังสือเดินทางปลอมเข้ามาในประเทศไทย โดยระบบไบโอเมททริค (Biometric) ในเวลา 3 วัน สามารถตรวจจับบุคคลใช้หนังสือเดินทางปลอมได้ถึง 8 ราย โดยกลุ่มผู้ต้องหามีพฤติการเหมือนกัน คือ เดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อเข้าไปยังประเทศที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นประเทศฝั่งยุโรป

กลุ่มชาวต่างชาติที่จับกุมได้เป็นกลุ่มแรด คือ ครอบครัวชาวอิหร่าน 3 คน  ใช้หนังสือเดินทางปลอม เพื่อขอลี้ภัยที่ประเทศอังกฤษ โดยอ้างว่า มีการติดต่อนายหน้าชาวอิหร่าน เพื่อจัดหาเอกสารเดินทาง และเดินทางไปรับหนังสือเดินทางที่ประเทศตุรกี ก่อนเดินทางมาไทย แล้วถูกจับ  จากนั้นสามารถจับกุม ชาวอิหร่านได้อีก 1 ราย ที่ขอลี้ภัยไปอังกฤษ โดยระบบเตือนว่าหนังสือเดินทางถูกขโมย จากฐานข้อมูลของตำรวจสากล

นอกจากนี้ ยังจับชายชาวซีเรีย และหญิงปาเลสไตน์ 3 คน ที่เดินทางมาจากกรุงอาบูดาบี โดยใช้หนังสือเดินทางประเทศสวีเดนเดินทางเข้าประเทศ แฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยว ก่อนขอลี้ภัยยังประเทศที่สาม แต่ระบบ ตรวจพบว่า ใบหน้าทั้งสาม แตกต่างจากภาพในระบบฐาน

ซึ่งทั้ง 3 กรณีนี้ ตรวจสอบพบว่า มีการติดต่อนายหน้าที่ประเทศอิหร่าน และเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 – 500,000 ยูโร คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 136,000 – 1,700,000 บาท

นอกจากนี้ตำรวจจับชายชาวสัญชาติไนจีเรีย ใช้หนังสือเดินทางแอฟริกาใต้ปลอม เดินทางมาจากประเทศตุรกี ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย เตรียมลักลอบไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้  โดยรายนี้ รับหนังสือเดินทางจากนายหน้าชาวแอฟริกา เสียค่าดำเนินการประมาณ 600 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 18,000 บาท

พล.ต.ท.สมพงษ์ กล่าวว่า ผลการดำเนินงานด้วยระบบไบโอเมทริกซ์ จำนวน 16 ท่าอากาศยานนานาชาติ พบบุคคลที่อยู่ในบัญชีดำและบัญชีเฝ้าระวัง จำนวน 1,123 คน จับปรับบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรเกินกำหนด จำนวนกว่า 4หมื่น 5 พัน คน นำค่าปรับส่งแผ่นดินได้กว่า 81 ล้านบาท และ จับบุคคลตามหมายจับได้ 662 คน

** ระบบไบโอเมทริกซ์ จะอ่านค่าจากชิพที่ฝั่งอยู่ในหนังสือเดินทางกับภาพผู้โดยสาร หากมีข้อมูลจะทำการเทียบกับใบหน้า หู ตา จมูกและปาก ว่าแตกต่างจากภาพที่จัดเก็บในชิพหรือไม่ ซึ่งจะตรวจด้วยแสงต่างๆ เช่นแสงยูวี แสงอินฟาเรด หากมีความแตกต่าง หรือ ไม่พบฐานข้อมูลในระบบคาดการณ์เข้าข่ายพาสปอร์ตปลอมหรือบุคคลต่างด้าว จึงทำการตรวจสอบขั้นตอนต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า