Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สั่ง 3 ฝ่าย กทม.-บริษัทอนันดาฯ-การรถไฟฟ้าฯ หารือแก้ไขปมสร้างคอนโดฯ แอชตัน อโศก ‘ศาลปกครองกลาง’ ตัดสิน ‘ผู้ว่าฯ กทม.-ผอ.สำนักโยธาฯ-ผอ.เขตวัฒนา’ ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ 

ศาลปกครองกลาง อ่านคำพิพากษา คดีที่ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมป์ ยื่นฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. และผู้อำนวยการเขตวัฒนา กรณีออกใบอนุญาตให้บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างโครงการอาคารคอนโดมิเนียม แอชตัน อโศก (Ashton Asoke) ถนนสุขุมวิท 21 (อโศกมนตรี) เขตวัฒนา กทม. โดยไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่กำหนดให้อาคารก่อสร้างที่มีพื้นที่ใช้สอย 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องติดถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร และการก่อสร้างโครงการดังกล่าวยังทำให้เรือนคำเที่ยง ซึ่งเป็นเรือนไทยอนุรักษ์ของ สยามสมาคมฯ ได้รับความเสียหาย

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ขณะที่มีหนังสือร้องเรียนว่า โครงการก่อสร้างอาคารแอชตัน อโศก ไม่เป็นไปตามออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในการก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับระยะระหว่างอาคารกับถนน ทางเท้า หรือที่สาธารณะ รวมทั้งมีหนังสือร้องเรียนถึงปัญหาความเดือดร้อนจากการก่อสร้างโครงการที่ทำให้ตัวอาคารที่ทำการสยามสมาคมฯ รั้วคอนกรีต และเรือนคำเที่ยง ได้รับความเสียหายถึง ผู้ว่าฯ กทม. ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. ปีพ.ศ. 2559

แต่ทั้งผู้ว่าฯ กทม., ผอ.สำนักการโยธา กทม. และผอ.เขตวัฒนา มิได้ตรวจสอบตามข้อร้องเรียนของ สยามสมาคมฯ จนกระทั่งบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ก่อสร้างโครงการอาคารแอชตัน อโศก จนแล้วเสร็จ จึงเป็นการที่ ผู้ว่าฯ กทม., ผอ.สำนักการโยธา กทม. และผอ.เขตวัฒนา ละเลยต่อหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้ต้องปฏิบัติในการออกคำสั่งให้ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ต้องปฏิบัติระงับการก่อสร้างหรือรื้อถอนอาคารโครงการดังกล่าว

แต่เนื่องจากปัจจุบันโครงการดังกล่าวมีการโอนขายให้แก่ประชาชนไปแล้ว 668 ห้อง จากการก่อสร้างห้องพักอาศัยทั้งสิ้น 783 ห้อง หากศาลจะมีคำบังคับดังกล่าว โดยไม่ได้ให้โอกาสแก่ผู้ว่าฯ กทม., ผอ.สำนักการโยธา กทม. และผอ.เขตวัฒนา หาวิธีการเยียวยาแก้ไขความเดือดร้อนและเสียหายให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดแอชตัน อโศก เจ้าของร่วมที่ได้ซื้อห้องชุดในโครงการดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอกที่ต้องได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายควบคุมอาคารของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม

จึงสมควรที่ผู้ว่าฯ กทม., ผอ.สำนักการโยธา กทม., ผอ.เขตวัฒนา บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จะได้ร่วมปรึกษาหาวิธีการแก้ไขให้ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโครงการดังกล่าวมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร โดยการจัดหาที่ดินด้วยวิธีใดๆ อันชอบด้วยกฎหมาย เพื่อทำให้ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทเป็นไปตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่กำหนดไว้

พิพากษาให้ ผู้ว่าฯ กทม. และหรือ ผอ.เขตวัฒนา ใช้อำนาจ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 แล้วแต่กรณี ดำเนินการต่อบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างโครงการอาคารคอนโดมิเนียม แอชตัน อโศก ถ.สุขุมวิท 21 (อโศกมนตรี) เขตวัฒนา กทม. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สำหรับกรณีที่ต้องใช้อำนาจกฎหมายในการออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโครงการแอชตัน อโศก ก็ให้ดำเนินการเฉพาะแต่ส่วนของอาคารที่ได้ก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฉพาะในส่วนของอาคารที่สูงเกินกว่าความกว้างถนนให้แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ว่าฯ กทม., ผอ.สำนักการโยธา กทม., ผอ.เขตวัฒนา บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารพิพาทกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

ทางด้าน นายพิสุทธิ์ รักวงษ์ ทนายความจากนิติบุคคลอาคารชุดแอชตัน กล่าวว่า พอใจกับคำพิพากษาบางส่วน เพราะลูกบ้าน 600 กว่าห้อง ได้เข้าไปอาศัยในคอนโดมิเนียมแล้ว ถ้าไม่เปิดโอกาสให้หน่วยงานราชการร่วมกับผู้พัฒนาโครงการ ตลอดจนการรถไฟแห่งประเทศไทยไปจัดการก็จะไม่เกิดความเป็นธรรมกับลูกบ้านทั้งหมด ซึ่งจะเกิดความเดือดร้อนเสียหายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่ผลการพิพากษาในคดีของสมาคมลดโลกร้อน ทำให้ลูกบ้านประสบปัญหาในเรื่องการทำรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงิน และทำรีเทนชั่นกับธนาคาร ต้องรับภาระการจ่ายดอกเบี้ยที่แพง อีกทั้งเห็นว่าศาลควรจำหน่ายคดีนี้ไปออกจากสารบบ และให้ไปพิจารณาในประเด็นหลัก โดยจะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับเจ้าของร่วมว่าจะยื่นอุทธรณ์ตามระยะเวลากรอบกฎหมายกำหนดหรือไม่ ยอมรับว่าคำพิพากษาของศาลในครั้งนี้ส่งผลดีต่อลูกบ้าน เพราะไม่ต้องรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างไปแล้ว

เมื่อถามว่าหากในระหว่างนี้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฝ่าย มีการหารือในทางคู่ขนาน เพื่อหาทางออกระหว่างที่รอการยื่นอุทธรณ์จะดีหรือไม่ นายพิสุทธิ์ ตอบว่า ถ้าเร่งรัดดำเนินการก็จะเป็นการดี เพราะลูกบ้านจะได้รับการเยียวยาแก้ไขปัญหาไปในคราวเดียวกัน หากรอให้คำพิพากษาถึงที่สิ้นสุด จะกินระยะเวลายาวนานหลายปี ดังนั้นการแก้ไขเร็วที่สุด ก็อาจจะแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพราะจะเป็นปัญหาที่กระทบต่อโครงการที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทั้งหมดที่อยู่ใน กทม.

คำพิพากษาฉบับเต็ม 

ภาพปกจาก : ศาลปกครอง 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า