Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ยอดติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นทะลุหลักหมื่น ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่รอเตียงก็ยิ่งสูงมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข จึงออกแนวทางแยกกักตัวรักษานอกสถานพยาบาลขึ้น นั่นคือ Community Isolation หรือ การดูแลผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยชุมชน

ผู้ที่สามารถเข้ารับบริการ Community Isolation จะเป็นผู้ติดเชื้อโควิด -19 ที่มีอาการไม่รุนแรง หรือ กลุ่มสีเขียว ที่อยู่ระหว่างการรอเตียง เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะอ้วน ค่า BMI หรือ ดัชนีมวลกาย เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด หรือ น้ำหนักน้อยกว่า 90 กิโลกรัม และ ไม่ป่วยเป็นโรคกลุ่มเสี่ยง คือ ปอดอุดตันเรื้อรัง ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน โดยใช้สถานที่ในชุมชน ได้แก่ วัด หรือ โรงเรียน เป็นสถานที่พักสำหรับผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการตั้ง  Community Isolation สามารถติดต่อเพื่อเข้าร่วมได้โดย ประสานกับแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสส. หรือ ผู้ประสานงานหน่วยรับเรื่องร้องเรียน แต่กรณีที่ชุมชนที่อาศัยอยู่ ไม่มีการตั้ง Community Isolation ให้โทรศัพท์สอบถามได้ที่หมายเลย 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรืออีกช่องทางคือ แอดไลน์ ทีมคอมโควิด @comcovid-19

Community Isolation ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจุบันมี 30 แห่ง แบ่งออกเป็นเครือข่ายดังนี้

 เครือข่ายชุมชนเพื่อการพัฒนา

  • ชุมชนใหม่ไทรทอง
  • ชุมชนเพชรคลองจั่น
  • ชุมชนทองกิตติ
  • ชุมชนหลวงวิจิตร
  • ชุมชนโรงหวาย

เครือข่ายคนไร้บ้าน

  • บ้านพูนสุข ปทุมธานี
  • บ้านเตื่อมฝัน เชียงใหม่

เครือข่ายรถไฟสายใต้ตะวันตก

  • ชุมชนพุทธมณฑลสาย 2
  • ชุมชนฟ้าใหม่ร่วมใจ
  • ชุมชนพัฒนาหลักหก

เครือข่ายชุมชนใต้สะพาน

  • ชุมชนพูนทรัพย์
  • ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่

เครือข่ายชุมชนก้าวหน้า

  • ชุมชนภูมิใจ
  • ชุมชนโรงช้าง
  • ชุมชนแบนตาโพ

เครือข่ายศูนย์รวมพัฒนาชุมชน

  • ชุมชนกระทุ่มเดี่ยว
  • ชุมชนริมทางด่วนบางนา
  • ชุมชนทับแก้ว
  • ชุมชนเพชรพระราม
  • ชุมชนทองสุข
  • ชุมชนเมืองใหม่มาลัยทอง
  • ชุมชนหลัง สน.ทองหล่อ
  • ชุมชนแสงตะวัน
  • ชุมชนทรัพย์มีสุข
  • ชุมชนมีสุข
  • ชุมชนอ่อนนุช 86
  • ชุมชนนิมิตรใหม่เมืองมีน

เครือข่ายชุมชนพระราม 3

  • ชุมชนช่องลม
  • ชุมชนโรงเคลือบ

โดยทั้ง 30 ชุมชน จะดูแลทั้งระบบ Community Isolation และ Home Isolation มีแกนนำที่ผ่านการอบรมในการคัดแยกผู้ป่วยว่าเป็นระดับกลุ่มอาการสีไหน ซึ่งรวมไปถึงคอยติดตามว่าในชุมชนพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่หรือไม่ จากนั้นจะส่งต่อข้อมูลให้กับ หน่วย IHRI หรือ มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี หรือ ทีมคอมโควิด ที่ประสานกับโรงพยาบาล ซึ่งจะมีแพทย์ พยาบาล ประเมินอาการอีกครั้ง ในระหว่างรักษาตัว ผู้ดูแลขอชุมชนจะคอยรายงานข้อมูลให้โรงพยาบาล และจะมีการติดตามอาการโดยบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านระบบ VDO Call หรือ Telemedicine

นอกจากนี้ ยังจัดส่งยาฟ้าทะลายโจร หรือยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับรายที่จำเป็นต้องกิน

โดย สปสช. จะมีเงินสนับสนุนค่าอาหาร 3 มื้อ วันละ 1,000 บาท ค่าอุปกรณ์วัดอุณหภูมิ และ วัดระดับออกซิเจนไม่เกินรายละ 1,100 บาท จาก สปสช. จ่ายให้กับหน่วยบริการ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า