Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
ประเด็นที่กำลังจะเป็นหัวข้อถกเถียงใหม่ของโลก คือ ระหว่าง AI กับมนุษย์ ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญากันแน่

จากกรณีความสามารถของ ChatGPT แชทบอท AI ปัญญาประดิษฐ์ที่ฉลาดเหลือล้ำ ความสามารถของมันกำลังจะเป็น “อนาคตสำคัญ” ที่ทำให้เราทั้งตื่นเต้น พอกับร้อน ๆ หนาว ๆ ในการเข้ามาแย่งอาชีพแบบเดิมของมนุษย์ แต่บางคนมองบวกว่าความสามารถของ ChatGPT ช่วยเราทุ่นเวลางานได้ และมีช่องทางหารายได้ใหม่ ๆ หากเรียนรู้วิธีใช้งานและสร้างงานผ่าน ChatGPT

วิธีผลิตงานหรือสร้างสรรค์งานของ AI มีศัพท์เรียกว่า “Generative AI” คือการใช้เทคโนโลยีที่อิงมาจากเนื้อหาดิจิทัลที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งตัว AI จะเรียนรู้จดจำและสร้างสิ่งใหม่ที่อาจคล้ายกัน แต่ทำขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ ด้วยตัวระบบของมันเอง

ตัวเครื่องมือที่ถูกพัฒนาให้ขยายการเรียนรู้ได้ไม่จบสิ้น ถูกตั้งคำถามว่า แล้วเนื้อหาและผลงานที่ AI ผลิตออกมาหรือสร้างขึ้นนั้น ตามลิขสิทธิ์แล้วใครเป็นเจ้าของกันแน่

พฤศจิกายนปี 2565 โปรแกรมเมอร์โอเพ่นซอร์สในสหรัฐอเมริกาทำการฟ้องร้องบริษัทเทคโนโลยี 3 บริษัท GitHub, Microsoft และ OpenAI ในประเด็น “สิทธิการเป็นเจ้าของเนื้อหา”

ที่ฟ้อง 3 บริษัทรวด เพราะเกี่ยวข้องกันในแบบ Microsoft เป็นเจ้าของ GitHub ที่เป็นผู้ลงทุนหลักใน OpenAI ที่คลอดลูกเป็นเด็ก AI อัจฉริยะออกมาสองพี่น้อง

ตัวพี่เป็น AI สร้างรูปภาพได้ชื่อ DALL-E2 ยังไม่เข้าที่เข้าทางไม่สามารถสร้างภาพที่สมบูรณ์แบบได้ แต่มีการพัฒนาเวอร์ชั่นไปเรื่อยๆ

ส่วนตัวน้องเป็นตัวตึงในวงการเทคโนโลยีขณะนี้ ChatGPT ที่กำลังจะเป็นอนาคตใหม่ของโลก

ในคำฟ้องของโปรแกรมเมอร์โอเพนซอร์ส ฟ้องกระบวนการสร้าง AI ที่มองว่าเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพราะมีการเขียนโปรแกรมมาจากการวิเคราะห์โค้ดที่เขียนโดยฝีมือมนุษย์อีกทอด

และยังฟ้องข้อหาละเมิดใบอนุญาตของซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สที่พัฒนาโดยบริษัทต่าง ๆ ซึ่งตัวเจ้าปัญหาคือ เครื่องมือเข้ารหัสที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นผ่านความร่วมมือของ GitHub, Microsoft และ OpenAI ที่เรียกว่า GitHub Copilot

โปรแกรมเมอร์ที่ทดลองใช้เครื่องมือนี้พบว่ามีการสร้างโค้ดที่มีลิขสิทธิ์ของตัวเองโดยไม่มีการระบุแหล่งที่มาหรือใบอนุญาต ทำให้เกิดความกังวลในหมู่โปรแกรมเมอร์โอเพนซอร์สคนอื่น ๆ

ในคำฟ้องมองว่าเป็นการลอกเลียนงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นมนุษย์ ซึ่งโปรแกรมเมอร์โอเพนซอร์สมองว่าพวกเขากำลังถูกเอารัดเอาเปรียบ

เรื่องนี้ถือเป็นก้าวแรกที่ ‘ครีเอเตอร์’ ฝั่งเทคโนโลยีออกมาต่อต้านระบบ AI ที่ใช้ประโยชน์จากผลงาน และทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลต่าง ๆ เพราะมีหลายคนสงสัยว่า ถ้าเราให้ AI ช่วยแต่งเพลง แต่งทำนอง แล้วเกิดจังหวะดนตรี เนื้อร้องไปใกล้เคียงหรือคล้ายกับเพลงที่มนุษย์หรือศิลปินคนไหนในโลกเคยแต่งไว้

จะเข้าข่ายว่า AI ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของมนุษย์หรือไม่

ล่าสุดไม่กี่วันก่อน กลุ่มศิลปินนักออกแบบยื่นฟ้องผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ Midjourney และ Stable Diffusion ซึ่งเป็น AI ผู้ให้บริการสร้างภาพแบบอัตโนมัติด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของพวกเขาที่ลงในเว็บไซต์แสดงผลงานของศิลปินดิจิทัลอาร์ต

โดยระบุว่าระบบฝึกฝนการเรียนรู้ของ AI ละเมิดสิทธิ์ของศิลปินจำนวนมาก

จะเห็นว่าข้อสังเกตเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เกิดจาก AI กำลังจะเป็นประเด็นสำคัญต่อไปที่เราจะต้องมาถกเถียงกัน

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ แพลทฟอร์มขายภาพชื่อดัง Getty Images ประกาศว่าจะไม่มีการนำภาพและเนื้อหาใด ๆ ที่สร้างโดย AI มาปรากฎในแพลทฟอร์มเด็ดขาด

นอกจากนี้สำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ยังได้ปฏิเสธคำขอของศิลปินคนหนึ่งที่จะทำลิขสิทธิ์ภาพภาพหนึ่งว่า เป็นผลงานจากอัลกอริทึมที่ AI เป็นผู้สร้างสรรค์ภาพชิ้นดังกล่าวขึ้น แต่คำขอตกไปด้วยเหตุผลว่า ภาพนั้นไม่พบว่ามีการครีเอทจากมนุษย์

‘มาร์กาเร็ต มิทเชล’ นักจริยธรรมด้าน AI (ตัวอย่างอาชีพใหม่ที่งอกขึ้นมารับกับสถานการณ์) ให้ความเห็นกับสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า บริษัทที่พัฒนา AI ต้องคิดให้รอบคอบว่าพวกเขากำลังสร้างเครื่องมือด้วยวิธีที่เหมาะสมหรือไม่ และเธอแน่ใจว่าประเด็นข้อพิพาทด้านลิขสิทธิ์กับ AI สามารถดำเนินคดีทางกฎหมายได้

พร้อมเหน็บตบท้ายว่า “ฉันคิดว่า Microsoft และบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ คงเตรียมการจ้างนักกฎหมายมาทำงานเกี่ยวกับการให้ทุนการศึกษาด้านกฎหมายเพื่อจะบอกว่าเรื่องแบบนี้ถูกกฎหมาย”

ข้อกังวลด้านจริยธรรมของ AI ในการไป Generate ผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ถูกตั้งคำถามว่า AI มีสิทธิทำได้หรือไม่ แล้วใครเป็นเจ้าของเนื้อหาตามลิขสิทธิ์ที่แท้จริง?

อ้างอิง [1] [2] [3]

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า