Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นพ.นิธิพัฒน์ ประเมินเตียงว่าง 10 วันข้างหน้า กทม.ขาดเตียงไอซียู 135 เตียง เรียกร้องรัฐบาลล็อกดาวน์กรุงเทพฯ เพื่อค้นหาและหยุดยั้งการระบาดด้วยยุทธการ 3 ระ

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ

วันที่ 25 มิ.ย. 2564 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า สอนแพทย์รุ่นหลังแบ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็น 4 ขั้น คือ

  1. การรักษาจำเพาะ (specific treatment) เป็นการรักษาเมื่อวินิจฉัยโรคได้แน่นอน มีเครื่องมือและอุปกรณ์พร้อมในการรักษา การพยากรณ์โรคดี สภาพร่างกายและจิตใจผู้ป่วยและญาติเข้มแข็ง เป้าหมายคือ ทุเลาหรือหายขาด
  2. การรักษาประคับประคอง (supportive treatment) เป็นการรักษาเมื่อวินิจฉัยโรคได้แน่นอนหรือในระหว่างรอยืนยันการวินิจฉัย เป้าหมายคือ ทำให้ร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย รอผลการรักษาจำเพาะ
  3. การรักษาตามอาการ (symptomatc treatment) เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เป้าหมายคือ ลดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ในระหว่างรอหรือรับการรักษาจำเพาะและการรักษาประคับประคอง
  4. การรักษาพยุงชีวิตระยะสุดท้าย (paliative treatment and end-of-life care) เป็นการรักษาเมื่อไม่สามารถทำการรักษาอย่างอื่นได้แล้วหรือทำแล้วไม่ได้ผล ทั้งผู้ให้การรักษาและผู้รับการรักษาเข้าใจสิ่งที่ตัดสินใจกระทำร่วมกัน เป้าหมายคือ ให้ผู้ป่วยและญาติใช้ช่วงชีวิตระยะสุดท้ายของโรคอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสอดคล้องกับความคาดหวังส่วนบุคคลและครอบครัว

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุว่า ถึงตรงนี้เราจะรักษาโรคโควิด-19 ในเมืองหลวงแบบไหน คิดว่าสถานการณ์โควิดในกทม. ยังพอเปลี่ยนการพยากรณ์โรคได้ด้วยการรักษาจำเพาะควบคู่รักษาตามอาการและประคับประคอง ก่อนจะเข้าสู่การรักษาระยะท้าย หลังถูกปล่อยให้เรื้อรังซึมลึกมาหลายเดือนด้วยการล็อคดาวน์ กทม.ชั่วคราว เพื่อค้นหาและหยุดยั้งการระบาด โดยยุทธการ 3 ระ

  • ระงับ การเคลื่อนย้ายของประชาชนทั้งสามส่วนคือ คนไทยภูมิลำเนา กทม. คนไทยต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในกทม. แรงงานต่างชาติทั้งที่ถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย (แบบหลังมีมากกว่าแบบแรกอย่างน้อยสองเท่า)
  • ระดม กำลังทั้งภาคการแพทย์ ภาคประชาชน และภาคความมั่นคง จากต่างจังหวัดที่สถานการณ์โควิดยังพอควบคุมด้วย เพื่อเสริมกำลังทัพในกทม. สำหรับเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อ คัดแยกผู้ป่วยที่มีอาการเข้ารับการรักษาตามระดับความรุนแรง เฝ้าระวังและติดตามผู้ที่เสี่ยงแต่ยังไม่ติดเชื้อจนกว่าจะปลอดภัย เช่นเดียวกับที่เราเคยทำสำเร็จในสมุทรสาครเมื่อระลอกสอง และในทัณฑสถานเขตกทม.และปริมณฑลในระลอกสาม (แสดงว่าตอนนี้เป็นระลอกสี่)
  • ระวัง จัดเตรียมมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ ตรงเป้าที่คนรากหญ้า และต้องไม่ให้ถูกเบียดบังโดยกลุ่มคนฉ้อฉล

“เราอาจไม่มีคนที่แข็งแรงพอที่จะชื่นชมผลงานการเปิดประเทศสร้างรายได้ ซื้ออาวุธเพื่อปกป้องประเทศ หรือสร้างสิ่งประดับสวยงามในท้องถิ่นแบบผลาญเงินและไม่เกิดมูลค่าเพิ่ม และต้องทำมาตรการเช่นเดียวกันนี้ในทุกจังหวัดที่มีปัญหาเช่นเดียวกับ กทม.”  รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุ

นอกจากนี้ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ได้โพสต์ประเมินปริมาณเตียงใน 10 วันข้างหน้า โดยระบุว่า ระลอกแรกกรุงเทพฯ มีไอซียูโควิดที่ใช้งานจริงได้ 200 เตียง ระลอก 2 ขยายขึ้นมาได้เป็น 300 เตียง ระลอก 3 จนถึงขณะนี้เบ่งมาเกือบเต็มที่แล้วเป็น 500 เตียง ใช้ไปแล้ว 475 เหลือว่าง 25 เตียง

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุว่า ในจำนวน 475 เตียงนี้ เป็นผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 300 เตียง ใช้อุปกรณ์พยุงชีวิตอื่น 175 เตียง ในอีก 10 วันข้างหน้า อัตราเสียชีวิตผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ คือ 50% จะมีผู้เสียชีวิต 150 คน ส่วนอีก 150 คนที่เหลือจะย้ายออกจากไอซียูได้ 1 ใน 3 คือ 50 คน จะมีผู้ป่วยใช้ไฮโฟลว์หรืออุปกรณ์พยุงชีวิตอื่นอาการทุเลาออกจากไอซียูโควิดได้ 80% คือ 140 คน จึงเหลือเตียงว่างเป็น 25+150+50+140 = 365 เตียง

หากมีผู้ป่วยใหม่วันละ 1,000 คน รวม 10 วัน คิดเป็น 10,000 คน ผู้ป่วยโควิดใหม่ทุกๆ 100 คน โรคจะลุกลามจนต้องใช้ไอซียูโควิด 5 คน ดังนั้นจะต้องเตรียม 500 เตียง ดังนั้นเตียงที่ยังขาดอยู่คือ 500-365 = 135 เตียง จะได้จากไหน…เราคงเพิ่มได้อีกเพียง 35 เตียง ที่เหลือ 100 เตียง จะต้องไปดึงมาจากผู้ป่วยโรคอื่นที่ไม่ใช่โควิด ถามว่าเราจะยอมให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ไปอีกนานเท่าไร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า