Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. สั่ง สสจ.ทั่วประเทศ ระดมแพทย์ช่วยผู้ป่วยสีแดง-เหลือง ใน กทม. 1 เดือน ย้ำระบบสาธารณสุขไม่ได้ล่มสลาย เตียงไม่พอเกิดแค่ในบางพื้นที่ ให้ผู้ตรวจราชการทุกเขตสุขภาพ สำรวจเตียง ยา เวชภัณฑ์ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมรายงานส่วนกลางทุกวัน

วันที่ 28 มิ.ย. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พร้อมผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมทางไกลเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์โควิด-19 กับผู้ตรวจราชการ / สาธารณสุขนิเทศเขตสุขภาพที่ 1-13, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป

ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในภาวะวิกฤตเช่นนี้จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับผู้บริหารส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น เช่น ปัญหาเรื่องยา เรื่องเตียงไม่พอ เกิดในบางพื้นที่ที่พบผู้ป่วยจำนวนมาก ไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมด ระบบสาธารณสุขไม่ได้ล่มสลาย ขอให้ทุกจังหวัดให้ความสำคัญกับการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เน้นความสามัคคี ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ด้วยการนำมาตรการ Bubble and Seal, ยุทธการขนมครกไปใช้ ขอให้ปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาหลายจังหวัดสามารถบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคในแต่ละพื้นที่ได้ดีมาก

อย่างไรก็ตาม ขอให้ส่วนภูมิภาคช่วยแบ่งเบาภาระของพื้นที่ กทม. ซึ่งเป็นเมืองหลวง มีหน่วยงานราชการ การศึกษา ส่งออก ท่าเรือ แรงงานก่อสร้างจำนวนมาก ที่สำคัญทุกจังหวัดต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนว่าเรื่องเตียง ยา วัคซีน และทรัพยากรอื่นๆ ที่ใช้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 รัฐบาลพร้อมจัดหาให้เพียงพอต่อการดูแลประชาชน

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า หลังมีมาตรการ ศบค. ให้ปิดแคมป์ก่อสร้าง ทำให้มีผู้เดินทางกลับบ้าน จึงจำเป็นต้องปรับการบริหารจัดการในการควบคุมป้องกันโรค ให้ผู้ตรวจราชการทุกเขตสุขภาพทำหน้าที่เหมือนปลัดกระทรวง เปิด EOC ทุกวัน และให้ดำเนินการใน 3 ด้าน คือ

1.ด้านบุคลากร ขอกำลังสนับสนุนจากส่วนภูมิภาคมาช่วยดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงใน กทม. ซึ่งต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก พร้อมทั้งขอให้แพทย์เฉพาะทาง แพทย์จบใหม่ และพยาบาล มาช่วย 1 เดือน และให้สถาบันพระบรมราชชนก จัดอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต

ด้านที่ 2 ให้ผู้ตรวจราชการทุกเขตรายงานจำนวนเตียงทั้งสีเขียว เหลือง และแดง, โรงพยาบาลในเขตสุขภาพทั้งรัฐและเอกชน และสต๊อกยา เวชภัณฑ์ ชุด PPE เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรภาพรวมทั้งเขตสุขภาพ

ด้านที่ 3 การป้องกันควบคุมโรค ใช้กลยุทธ์ต่างๆ ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น Bubble and Seal, ยุทธการขนมครก, ส่ง อสม. ติดตาม สำรวจผู้เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยเฉพาะผู้ที่มาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่ควบคุมสูงสุด และให้เร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรังให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้

ขณะเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยถึง จำนวนยาฟาวิพิราเวียร์ ว่า มีเพียงพอแน่นอน ซึ่งมีการสั่งซื้อเข้ามาใช้อย่างเพียงพอ และล่าสุดได้รับรายงานจากองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ว่า ภายในเดือน ก.ค. นี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะมีการอนุญาตให้ อภ. สามารถผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ ได้เองในประเทศไทย เมื่อได้รับการอนุญาตแล้วจะสามารถผลิตได้ภายในเดือน ส.ค. นี้ส่วนอัตรากำลังการผลิตในช่วงแรกอยู่ที่เดือนละ 2 ล้านเม็ด ก็จะเป็นส่วนที่นำมาเสริมกับที่สั่งนำเข้ามา เพราะหากใช้ที่ผลิตเองอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า