Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นิ้วโป้ง นักลงทุน Fundamental VI

นิ้วโป้ง นักลงทุน Fundamental VI แนะคนไทยตั้งสติเลิก Panic วิกฤติโควิด-19 ใครมีกำลังให้ทยอยลงทุนช่วงต้นทุนที่วิปริต วันหนึ่งเมื่ออายุ 60 ปีจะนึกขอบคุณวันนี้ที่ตัดสินใจลงทุน

นายอธิป กีรติพิชญ์ นักลงทุน Fundamental VI ให้สัมภาษณ์ในรายการเวิร์คพอยท์ทูเดย์ถึงการรับมือเศรษฐขาลง จากวิกฤติโควิด-19 ว่า การลดต้นทุนเป็นสิ่งต้องยืนระยะเราอยู่กับโคโรน่าไวรัสมานาน 2 เดือนเต็ม ตั้งแต่มกราคม-กุมพาพันธ์ ส่วนตัวคิดว่าเราจะเผชิญกับไวรัสแบบสุดๆ ไปอีก 2 เดือน และเราจะต้องหลุดออกจากความกลัวนี้ ความกลัวในลักษณะนี้ต้องไม่เกิน 2 เดือนนับจากนี้ เหตุผลเพราะ 1. ถ้าเกิน 2 เดือนจากนี้แล้วยังแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ผลกระทบมากขึ้น 2. มีประเทศที่เดิมพันใหญ่มาก หาก 2 เดือนนี้จบไม่ได้ ประเทศที่จะต้องสูญเสียมหาศาล คือ ประเทศญี่ปุ่นที่กำลังจะจัดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ช่วงกลางปีนี้

ผมมั่นใจว่าสรรพกำลังทั้งหลายจะต้องทุ่มอย่างเต็มที่ใน 2 เดือนข้างหน้า เพื่อต้องจัดการไวรัสให้ได้ และเชื่อว่าเวลานั้นทุกอย่างฟื้นตัวแล้วจะเศรษฐกิจฟื้นเป็นวีเชฟ คือ ไม่ตกท้องช้างนานๆ เพราะถ้าตกท้องช้างนานๆ อาจทำให้ภาคธุรกิจล้มได้” นายอธิป กล่าวและเปรียบเทียบเศรษฐกิจปัจจุบันกับปี 2540 ว่า

เศรษฐกิจปีนี้ต่างจากเศรษฐกิจปี 40 ที่ไทยมีปัญหาในเชิงโครงสร้างต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ไม่มีทุนสำรอง และแก้ปัญหาไม่ได้ภายใน 4 ปีจนกลายเป็นวิกฤต เผาจริง เผาหลอก ลอยอังคาร ปัญหาจึงกลายเป็นแบบยูเซฟ 4 ปีจึงพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ

นักลงทุน Fundamental VI มองว่า วิกฤติโควิด-19 เป็นเรื่องที่เกินคาดของทุกคน และมีความรู้สึกว่าประเทศไทยมีความกลัวมากกว่าประเทศอื่นเป็นพิเศษ ทั้งที่ประเทศจีนคือประเทศต้นตอของเชื้อไวรัสโคโรน่า แต่ภาพรวมกันลงทุนตลาดหุ้น Year To Date นับตั้งแต่ 2 มกราคมถึงตอนนี้ ตลาดหุ้นจีน Shanghai Composite -2% จุดที่ลบหนักที่สุดคือเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ประเทศไทย Year To Date -14% ติดลบชนิดไม่เกรงใจเจ้าภาพและเจ้าภาพรวมอย่างญี่ปุ่น อย่างตลาดหุ้น Nikkei -4.77%, เกาหลี -5%, อิตาลี -2 % และสิงคโปร์ -3.5 จะเห็นได้ว่าทุกประเทศผ่านจุดต่ำสุดของไวรัสโคโรน่าและเด้งขึ้น เกิดเสถียรภาพในตลาดทุน แต่ของไทยกลัวมาก -5% ในวันเดียวนี่คือภาพในตลาดหุ้น

หากถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทย อาจจะสรุปไม่ได้เป็นตอบเดียวเพราะอาจเกิดจากหลายปัจจัยทั้งภาคการเมือง เศรษฐกิจ และการเสียบบัตรแทนกัน ตอนนี้ทุกประเทศมีแพ็คเก็จกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาแล้ว เช่นที่ฮ่องกงมีการให้เงินประชาชนเพื่อต้องการให้มีการดันระบบเศรษฐกิจขึ้นเป็นวีเชฟ เพราะถ้าเศรษฐกิจขาลงแบบลากยาวเป็นยูเชฟจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ นักธุนกิจอาจสูญเสียธุรกิจไปได้ ของไทยผ่านมาแล้ว 2 เดือน ยังไม่ได้ยินว่ามีแพ็คเก็จอะไรออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนตัวมองว่าเราต้องมีแพลนเพราะคนเราอยู่ได้ด้วยความหวัง

เมื่อถามว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้ถึงจุดต่ำสุด (Bottom out) แล้วหรือยัง นายอธิป กล่าวว่า นักลงทุนในตลาดหุ้นรอลุ้นว่า จะมีการผลิตวัคซีนหรือหยุดการระบาดได้หรือไม่ ที่หุ้นตกเพราะเชื้อโควิด-19 แพร่ระบาดไปที่อิตาลีและเกาหลีใต้ ทำให้ความกลัวมากขึ้น เชื่อว่าหากไม่มีการติดเชื้อเพิ่ม ตรงนี้จะเป็นจุด Bottom out และสถานการณ์จะดีขึ้น หากเปรียบเทียบบรรยากาศการลงทุนชวงหนี้กับปี 40 เมื่อวาดเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด เศรษฐกิจปี 40 นักลงทุนที่เจ็บคือ พวกที่อยู่ยอดพีระมิด เพราะตอนนั้นดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ในประเทศไทยประมาณร้อยละ 0.5 – 0.75

เมื่อ 23 ปีที่แล้วดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 10 ใากเงินในธนาคาร 1 ล้านบาทผ่านไปหนึ่งปีได้ดอกเบี้ยเป็นเงินแสน แต่นี่คือภาพเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เมื่อดอกเบี้ยในประเทศสูงแต่ดอกเบี้ยนอกประเทศต่ำทำให้มีคนไปกู้เงินจากต่างประเทศมาแล้วเปลี่ยนเป็นเงินบาทฝากเพื่อรับดอกเบี้ย 10% เมื่อค่าเงินลอยตัวคนที่ไปกู้เงินมาฝากจึงพัง คนที่มีกำลังคือยอดพีระมิดไม่ใช่ฐาน สมัยนั้นภาคการเกษตรเข้มแข็งไม่ได้เป็นหนี้เหมือนสมัยนี้ ตัดภาพมาที่ปี 2563 หลายปีที่ผ่านมาความมั่งคั่งของยอดพีระมิดจะเพิ่มมากขึ้น ช่วงกลางพีระมิดโอกาสทำงานน้อยลง เริ่มมีผลกระทบ หางานดีๆ ไม่ได้ จึงกลับต่างจังหวัด สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปจึงต้องมีนโนยาบที่เข้าใจบริบทสังคมปัจจุบันเพื่อไปขับเคลื่อนเรื่องพวกนี้

นายอธิป แนะนำว่า การลงทุนในช่วงนี้นักลงทุนในตลาดหุ้น Panic ไป ไม่รู้ว่านี่คือจุดต่ำสุดหรือยัง ตอนนี้คือจุดที่คนกลัว ที่สุด คนเก่าอยากจะขายหุ้นทิ้ง คนใหม่กำเงินจะซื้อก็ไม่กล้า  กลายเป็นว่าคนที่อยู่กับตลาดมาอย่างต่อเนื่องสู้ไม่ถอย ทำงานหาเงิน และเติมอย่างมีวินัยให้พอร์ตหุ้นโต วิธีเดียวที่จะทำให้พอร์ตหุ้นเติบโต คือ ต้องซื้อในต้นทุนที่วิปริตที่จะเกิดขึ้นในช่วงวิฤติเท่านั้น และขอแถมคือเงินปันผล 4% เพราะฉะนั้นขอให้มีสติ หากใครมีกำลังก็ขอให้ทยอยลงทุน คิดอะไรไม่ออกให้ลงทุน RMF (Retirement Mutual Fund) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่าไปกลัวตลาดมาก เพราะวันหนึ่งเมื่ออายุ 60 ปี จะนึกขอบคุณวันนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า