Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหยุดทำการซื้อขายถึง 2 ครั้ง นักวิชาการ ชี้พื้นฐานเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งตลาดหุ้นฟื้นตัวเร็ว

วันที่ 14 มี.ค.2563 นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติงานกระทรวงการคลัง) กล่าวถึงกรณีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว (Circuit Breaker) ถึง 2 วันติดต่อกัน ในวันพฤหัสฯ และวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังดัชนีหลักทรัพย์เกิดความผันผวนอย่างหนัก โดยเป็นผลกระทบทางจิตวิทยาของนักลงทุนที่ตื่นตระหนกต่อข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งลุกลามและอาจกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก

นายชาญกฤช กล่าวว่า ขอให้ประชาชนตื่นตัวแต่อย่าตื่นตระหนก ขอให้มั่นใจกับมาตรการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีบัญชาการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การทำงานต้องกระชับ ฉับไว และทันต่อสถานการณ์ ที่สำคัญต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความสับสน

ชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฎิบัติงานกระทรวงการคลัง)

สำหรับตลาดหุ้นไทยเผชิญกับวิกฤติการณ์โรคระบาดมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโรคซาร์สในปี 2546 ไข้หวัดนกในปี 2549 ไวรัสเมอร์สในปี 2556 จนถึงไข้ซิกาในปี 2559 จากสถิติที่มีการรวบรวมเอาไว้พบว่า โดยภาพรวมไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก ดังนั้นจึงขอให้มองวิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสในการเลือกซื้อหุ้นพื้นฐานดี จ่ายปันผลสูง และมีราคาถูกลง เหมาะแก่การสะสมเพื่อลงทุนระยะยาว โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า มีหุ้นถึง 448 บริษัทที่มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ สูงกว่าราคาหุ้นขณะนี้ หุ้นที่มีราคาถูกสุดในรอบ 5 ปี มีถึง 231 บริษัท ส่วนหุ้นที่จ่ายปันผลในอัตราร้อยละ 5-7.5 มีจำนวน 43 บริษัท จ่ายปันผลอัตราร้อยละ 7.5-10 จำนวน 17 บริษัท และจ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 10 จำนวน 6 บริษัท

ทั้งนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ท่านอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หามาตรการดูแลตลาดหุ้นในภาวะผันผวน เช่น การขายหุ้นโดยไม่มีในมือ (Short Sell) ต้องหาแนวทางที่จะสั่งห้ามไม่ให้มีการขายชอร์ตหุ้นในช่วงนี้ได้หรือไม่ และการบังคับขายหุ้นที่ซื้อโดยใช้ Margin (Forced Sell) จะผ่อนปรนอย่างไรได้บ้าง ส่วนการจัดตั้งกองทุนสร้างเสถียรภาพตลาดทุน หรือกองทุนพยุงหุ้น ซึ่งในอดีตเมื่อปี 2546 เคยจัดตั้งกองทุนวายุภักดิ์มาแล้ว ปลัดกระทรวงการคลังกำลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสม ทั้งนี้รายละเอียดต่างๆ จะชัดเจนมากขึ้นในวันจันทร์นี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า