Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
วันที่ 19 มี.ค. นพ.ไพจิตร์ วราชิต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขที่ร่วมหารือมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 กล่าวว่า ทิศทางควบคุมโรคระบาด มีอยู่ 3 แนวทาง คือ
 
1. ไม่ทำอะไร ปล่อยให้โรคระบาด บางประเทศกำลังใช้แนวทางนี้ โดยไประวังเรื่องผู้สูงอายุไม่ให้ติดเชื้อ
 
2. หน่วงโรค เหมือนสร้างฝายกันน้ำไหลลงจากภูเขา เพื่อให้น้ำค่อยๆ ผ่าน ไม่ให้ลงมาทีเดียวแล้วทำให้บ้านเรือนเสียหาย
 
3. ปิดประเทศ
.
ทิศทางที่กระทรวงสาธารณสุขทำมาตั้งแต่ต้นคือ หน่วงโรค จนขยับเข้ามาใกล้ปิดเมือง ใช้แนวทาง 2+3 แล้วหาร 2 แม้วันนี้มีกระแสให้ปิดประเทศ แต่ให้เชื่อมั่นว่าทิศทางขณะนี้ถูกต้องที่สุดแล้ว ถ้าดูจากประสบการณ์การรับมือ ซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009 กระทรวงผ่านมาหมดแล้ว
.
แต่ทิศทางเหล่านี้ไม่ใช่ว่าถาวร ต้องมีการประเมินทุก 2 สัปดาห์ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนทิศทางอาจจะเปลี่ยน ไม่มีใครต่อสู้กับโรคระบาดโดยใช้ทิศทางเดียว เราประเมินอยู่ตลอดเวลา
 
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ที่ต้องหน่วงโรค เพราะถ้าไม่ทำอะไรผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะไม่มีโรงพยาบาล เตียง ห้องฉุกเฉิน เครื่องช่วยหายใจเพียงพอ ดังนั้น ยืนยันว่าการหน่วงโรคเป็นวิธีที่ถูกต้อง
.
การหน่วงเพื่อไม่ให้โรครุนแรงกะทันหัน เพราะเขารอเรื่องยา วัคซีน การเตรียมโรงพยาบาลให้มีความพร้อม ขณะนี้ยารักษาเริ่มมีความหวัง ส่วนวัคซีนคงอีกนาน
.
ระหว่างนี้ที่ต้องสื่อให้ประชาชนเข้าใจ ให้รับผิดชอบต่อสังคม คือ พยายามอยู่กับบ้าน Social Distancing เพราะโรคนี้ติดต่อกับผู้ที่อยู่ใกล้กัน การเพิ่มระยะห่างเป็นวิธีการที่ดีที่สุดก่อนที่จะมียาและวัคซีน โดยเฉพาะกรณีผู้สูงอายุ ตัวเลขของจีน ผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตอายุเกิน 55 ปีเกือบทั้งหมด ผู้สูงอายุต้องอยู่กับบ้านไม่ไปศูนย์การค้า หรือไปทานข้าวนอกบ้าน
.
มีคนถามว่าต้องทำอย่างนี้นานเท่าไร ถ้าตนประเมินจากประสบการณ์ 1.คลื่นลูกแรกมาจากจีน แล้วจีนก็ปิดประเทศ ตอนนี้คลื่นลูกที่ 2 จากยุโรปและที่อื่นจะกลับโถมมาหาประเทศไทย ดังนั้น ถ้าอึดอีก 2-3 เดือนให้คลื่นอันนี้ผ่านแล้วก็จะจบ ตนเชื่อมั่นอย่างนั้นจริงๆ จากประสบการณ์จากการต่อสู้กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซาร์ส และไข้หวัดนก
.
กรณีไข้หวัดใหญ่ 2009 เราชนะได้เพราะมียา โอเซลทามิเวียร์ องค์การเภสัชกรรมนำวัตุดิบจากอินเดียมาทำ แล้วสุดท้าย 3 เดือนจบหมดเลย ตอนนี้ รมว.สาธารณสุข ประสานกับจีน ซึ่งวัตถุดิบทั้งหมดอยู่ที่จีน เราได้ยามาจำนวนหนึ่งแล้ว ถ้าจำนวนคนไข้ขนาดนี้ ขอให้เชื่อมั่นว่าเราเตรียมพร้อมหมดแล้ว

 

นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาคณะกรรมการโรคอุบัติใหม่ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ด้านนพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาคณะกรรมการโรคอุบัติใหม่ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึง มาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ประเทศไทยโดย สธ.ทำได้ดีมากในการรับมือโควิด-19 ในช่วง 2 เดือนแรก เรามีคนไข้ไม่ถึง 100 คน เสียชีวิตคนเดียว
.
เพิ่งมาสัปดาห์นี้ที่ผู้ติดเชื้อเพิ่มวันละ 30 คน ซึ่งเพิ่มเพราะมีคนติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ หรือน้อยมากจนไม่ทราบ หรือไม่ยอมมาพบแพทย์แล้วไปแพร่เชื้อ จึงอยากย้ำว่ามาตรการที่รัฐบาลไม่ให้มีการชุมนุมกันเยอะให้ไม่เกิน 50 คน ซึ่งต่างประเทศให้แค่ไม่เกิน 20 คนด้วยซ้ำ กำหนดเพื่อต้องลดความเสี่ยงแพร่เชื้อให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เข้าสู่ระยะ 3
.
ข้อมูลจาก ม.โคลัมเบีย ที่ศึกษากรณีประเทศจีนก่อนใช้มาตรการเข้มข้น พบมีผู้แพร่เชื้อโดยไม่รู้ว่าติดเชื้อประมาณ 6 เท่า ถ้ามาคำนวณตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทย จากข้อมูลเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ซึ่งไทยมี 212 คนถ้าคูณ 6 คือ 1,200 คนที่ติดเชื้อแพร่เชื้อแต่ไม่รู้ คนกลุ่มนี้น่ากลัว เราจึงไม่ต้องการให้มีการชุมนุม อยู่กันห่างๆ อย่าเดินทาง เพราะเชื้อจะไปทั่วไปหมดโดยไม่รู้ตัว
.
ขณะที่อีกข้อมูลคือ เมื่อจีนมีมาตรการเข้มข้นทำให้คนที่สามารถแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัวเหลือแค่ 0.5 เท่า ถ้าเราทำเข้มข้น เท่ากับจะเหลือผู้แพร่เชื้อโดยไม่รู้ว่าติดเชื้อแค่ 100 คน ตัวเลขต่างกัน 12 เท่า
.
“อยากให้ประชาชนเข้าใจตรงนี้ ท่านต้องอดทน ท่านต้องลำบาก ท่านอย่าตามใจตัวเอง ไม่อย่างนั้นท่านจะทำลายประเทศชาติ มันไม่ได้สูญเสียแค่ชีวิต แต่สูญเสียเศรษฐกิจอีกเป็นหมื่นๆ ล้าน เพราะตัวท่านไม่มีความรับผิดชอบ เราบังคับท่านอย่างไร ท่านไม่ทำตาม เราก็บังคับท่านไม่ได้”
.
นพ.อุดม กล่าวด้วยว่า เรามาถูกทาง กระทรวงสาธารณสุขเราสู้เต็มที่ ท่านนายกฯ สนับสนุนเต็มที่ บุคลากรทางการแพทย์เราเหนื่อยมาก แต่เรายอมเหนื่อย เรากดมาได้ตั้ง 2 เดือนกว่าแล้ว
.
คำถามว่า เราจะเข้าระยะ 3 ไหม ถ้าประชาชนไม่ทำจะเข้า 100% และจะเข้าเร็วๆ นี้ด้วย แต่ก็มีโอกาสไม่เข้าถ้าทำอย่างจริงจังเข้มข้น ถ้าทุกคนยอมทำตามมาตรการที่ สธ.ประกาศจริงๆ ช่วยกันจริงๆ เราจะไม่เข้าระยะที่ 3 ขอยืนยัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า