Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลัง ศบค. ออกมาตราการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยให้ปิดสถานที่ก่อสร้างและปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในสถานที่ก่อสร้าง รวมทั้งให้หยุดงานก่อสร้าง ห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน เพื่อหวังควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้ออยู่ในแคมป์หลายแห่ง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สิ่งที่ตามมาหลังประกาศ คือกลุ่มแรงงานก่อสร้างเริ่มเดินทางออกจากเคลื่อนย้ายตัวเองออกจากแคมป์กลับภูมิลำเนา เพราะการสั่งปิดครั้งนี้หมายถึง ‘ค่าแรง’ ที่จะหายไปด้วย

workpointTODAY มีโอกาสพูดคุยกับผู้รับเหมารายหนึ่ง ที่ดูแลคนงานในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมใจกลางกรุงเทพฯ ได้สะท้อนเรื่องราวในฐานะนายจ้างที่ต้องรับผิดชอบชีวิตแรงงาน จากผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค เพราะมีคนในแคมป์ติดจำนวนมากจนต้องปิดแคมป์มาก่อนหน้านี้ 14 วันแล้ว

“คือแรกๆ ไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาเลยแม้แต่หน่วยงานเดียว เพราะว่าพ่อของดิฉันก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ติดเชื้อ และก่อนหน้านี้ก็ไม่มีใครเข้ามาดูแลเลย เลยส่งเรื่องไปทางช่องต่างๆ เพื่อให้นำเสนอข่าวอออกมา ถึงมีหน่วยงานเข้ามาดู ก็มี ผอ.เขต สาธารณสุขเข้ามา”

เสียงของผู้รับเหมาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่คนงานติดเชื้อโควิด-19 มาตั้งแต่ก่อนที่การประกาศสั่งห้ามให้แรงงานในแคมป์ต้องหยุดงานเป็นเวลา 30 วัน เล่าถึงสภาพความเป็นอยู่ของแคมป์แรงงานที่เธอรับผิดชอบว่าตั้งแต่การระบาด คนในงานในแคมป์ก็ตรวจพบเชื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องดูแลกันเอง โดยไร้หน่วยงานภาครัฐ

โดยสะท้อนถึงเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลของแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ ที่เป็นคนส่วนใหญ่ ผู้ติดเชื้อไม่ถูนำตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลเพราะเตียงเต็ม และสาธารณสุขยังบอกว่าประกันสังคมดูแลเรื่องนี้

“นี่แหละค่ะ คือปัญหาของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานกับธุรกิจก่อสร้าง เพราะข้อกฎหมายมันย้อนแยง เพราะแรงงานข้ามชาติเขาทำงานไม่ได้อยู่กับที่ แต่เขาต้องผูกขาดกับโรงพยาบาลที่เลือกไว้ในประกันสังคม สมมตินายจ้างอยู่จังหวัด ก. แต่แรงงานไปทำงานจังหวัด ข. แล้วเมื่อป่วยจะโอนสิทธิ์มาโรงพยาบาลใกล้ ๆ มันก็ยาก”

เพราะด้วยสถานะของแรงงานก่อสร้าง ต้องทำงานเคลื่อนย้ายไปตามโครงการที่ผู้รับเหมารับงานมา ดังนั้นการทำประกันสังคมที่ต้องผูกกับเงื่อนไขในระบบประกันสังคม มาตรา 33 จึงสร้างภาระต่อทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ที่ต้องผูกกับโรงพยาบาลตามที่อยู่ของนายจ้าง แต่เนื่องด้วยการทำงานที่เคลื่อนย้ายตลอดเวลา ข้อกำหนดเช่นนี้จึงทำให้การส่งตัวเข้ารับการรักษาล้วนสร้างความไม่สะดวก

“สำหรับแรงงานต่างด้าว พูดได้เลยนะคะ ว่าทุกไซต์เขาไม่ได้ทำแบบนี้ให้(ประกันสังคม) อย่างมีอุบัติเหตุ เมื่อไปรักษาโรงพยาบาลบอกออกเงินไปก่อน แล้วค่อยไปเบิกประกันสังคม เขาก็เลยไม่ทำประกันสังคม เพราะพอไปเบิกประกันสังคมไม่ให้ มันเสียเงิน”

นอกจานี้ผู้รับเหมาเองก็ยังต้องเข้ามาจัดการกับปากท้องของคนงานที่ต้องกักตัวเองอยู่ในแคมป์เป็นเวลากว่า 30 วัน “ช่วงแรกๆ ที่ยังไม่มีหน่วยงานไหน เข้ามา เราก็ดูแลลูกจ้างเราไปก่อน อย่างเรามีลูกจ้าง 43 คนเราก็ส่งข้าวสารอาหารแห้งให้เขา เราก็รีบหาซื้อของ เพื่อเตรียมให้เขากักตัว ตอนที่เป็นข่าว ถึงจะมีอาหาร เป็นกับข้าวมาส่ง 3 มื้อ”

แรงงานกลับบ้าน เพื่อความอยู่รอด เยียวยาไม่ถึง

ในขณะที่ปรากฎการณ์คนแรงต่างเก็บข้าวของกลับภูมิลำเนา ทางผู้รับเหมาได้สะท้อนว่า ทุกคนนั้นต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เพราะ ‘เมื่อไม่มีงาน ก็ไม่มีเงิน’

“การที่ต้องกักตัวเอง อยู่ในเพลิงสังกะสี ท่ามกลางอากาศร้อน ของประเทศไทย เป็นเวลากว่า 30 วัน ปัญหาความเครียดในลูกจ้างก็จะตามมา คนที่ไปไม่มีสิทธิ์ที่ได้รับเงินเยี่ยวยา คือเขารู้ตัว แล้วโทษเขาไม่ได้ด้วย เพราะรัฐบาลบอกเลยว่าคนที่ได้รับสิทธิ์คือคนที่ได้ มาตรา 33 แล้วก็ต้องดิ้นรนตัวเอง มันก็สะท้อนอะไรหลายๆ อย่าง รัฐบาลพูดว่าให้นายจ้างไปขึ้นประกันสังคม อย่างนายจ้างเขาไม่มีความรู้ ค่าใช้จ่ายเขาคิดต่อหัวอีก นายจ้างเขาก็ไม่มีรายได้”

ในส่วนของแรงงานข้ามชาติ เชื่อว่ามีความคิดอยากกลับบ้านเหมือนกัน แต่ไม่สามารถทำได้ ในฐานะนายจ้างจึงทำได้เพียงปลอบใจ ถามสารทุกข์สุขดิบ ไม่ให้เครียด เพราะอยู่อย่างนั้นมันเครียด โดยเปรียบเทียบว่า “เราอยู่ในห้องปูน มีพัดลมเรายังร้อนเลย เขาอยู่ในเพิงสังกะสี มันร้อน มันเหมือนติดคุก”

ด้านมาตราการทางภาครัฐที่ได้ประกาศออกมาด้วยการจ่ายค่าแรง 50% ให้แรงงานในแคมป์ก่อสร้างที่ต้องหยุดงาน และกักตัว โดยจะจ่ายเพิ่มเติมให้กับลูกจ้างในระบบประกันสังคมประมาณ 2,000 บาทต่อคน และนายจ้างในระบบประกันสังคมตามจำนวนลูกจ้างแต่ไม่เกิน 200 คน เป็นเงิน 3,000 บาทต่อคน ด้านผู้รับเหมาสะท้อนว่า

“อยากให้รัฐมนตรีที่พูดกัน มานอนเล่น มาลองสักครั้งนึง ในเพิงสังกะสี ถ้าเขาทนได้ ว่าชีวิตตรงนั้นมันเป็นอย่างไร เขาจะเรียนรู้ชีวิตทั้งหมด แล้วเขาจะเข้าใจบริบทของแรงงาน ถ้ารัฐมนตรีต่างๆ ที่เข้าประชุมเขาจะไม่เข้าใจเลยว่าบริบทที่ตรงนั้นเป็นอย่างไร ไปลองสักครั้ง ที่เขาต้องอยู่อย่างนั้น 14 วัน หรือเดือนหนึ่ง มันเป็นอย่างไร”

ทั้งหมดนี้ คือส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนจากผู้เหมารับ ที่นอกจากจะต้องดูแลแรงงานของตนให้รอดปลอดภัยจากโควิด-19 แล้ว ภาระต่างๆ ที่ตามมาหลังจากต้องหยุดงาน แต่ค่าใช้จ่ายไม่ได้หยุดตามไปด้วย ชีวิตของแรงงานเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของไทยที่ควรถูกละเลย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า