Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อัปเดตยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 9,692 ราย ติดเชื้อสะสม 381,907 ราย เสียชีวิต 67 ราย และหายป่วยกลับบ้านเพิ่ม 5,730 ราย

วันที่ 16 ก.ค. 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รายงานสถานการณ์ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อโควิด19 รายใหม่อีก 9,692 ราย โดยจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 67 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึง 381,907 ราย ซึ่งในวันนี้มียอดผู้เสียชีวิต 67 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสมทะลุ 3,099 ราย และหายป่วยกลับบ้านเพิ่ม 5,730ย หายป่วยสะสม 244,431 ราย

ศบค.เห็นชอบใช้วัคซีนสูตรผสม และบูสเตอร์วัคซีนเข็ม 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ตรวจหาเชื้อโควิดให้ครอบคลุมประชาชนมากที่สุด ห่วงประชาชนใช้ชุดตรวจ COVID-19 Antigen test self-test kits

วันที่ 16 ก.ค. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค. มีมติเห็นชอบปรับสูตรการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ฉีดแบบสูตรผสมได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ให้ฉีดได้ 2 แบบ คือ เข็มแรกฉีดซิโนแวค เข็มสองแอสตร้าเซนเนก้า หรือเข็มแรกซิโนแวค เข็มสองฉีด mRNA ฉีดห่างกัน 3-4 สัปดาห์ หากเป็นแอสตร้าเซนเนก้าทั้ง 2 เข็มให้ฉีดห่างกัน 10-12 สัปดาห์ และประชาชนทั่วไปเข็มแรกฉีดซิโนแวค กระตุ้นเข็มสองเป็นแอสตร้าเซนเนก้า

พญ.อภิสมัย กล่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขได้รายงานในที่ประชุม ศบค.ว่าได้รับฟังการศึกษาจากหลายหน่วยงาน ทั้ง มหาวิทยาลัย โรงเรียนแพทย์ที่มีการรายงานในเรื่องของการใช้วัคซีนผสมต่างชนิดกัน ซึ่งผลประสิทธิภาพของการควบคุมโรคเป็นไปในทิศทางที่น่าพอใจทั้งนี้องค์การอนามัยโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศไทยก็ให้การยอมรับจึงมีข้อสรุปในที่ประชุมที่สามารถใช้ได้

ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้คณะแพทย์ไปทบทวนมาตรการด้านสาธารณสุขให้เข้มข้นขึ้น หลังจากในวันนี้ได้มีการทบทวนผลของมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ยกระดับไปในช่วงก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการล็อกดาวน์ใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส-19 ภายหลังจากที่มีการประกาศมาตรการของศบค.ไปแล้ว 5 วัน ในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ได้มีการรายงานพบว่า ประชาชนยังมีการกระทำความผิดฝ่าฝืนตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ทั้งหมด 217 ราย แบ่งเป็นฝ่าฝืนมาตรการห้ามออกนอกเคหะสถาน 158 ราย และฝ่าฝืนมาตรการห้ามรวมกลุ่มและมั่วสุม 59 ราย โดยมีการดำเนินคดีไปแล้วทั้งสิ้น 45 ราย ที่เหลือเจ้าหน้าที่พยายามตักเตือนและขอความร่วมมือ

ศปม.ได้เน้นย้ำว่า ในส่วนของความทำงานของเจ้าหน้าที่จะเพิ่มความเข้มงวดและขอความร่วมมือประชาชน ทั้งในส่วนของการดำเนินการตามมาตรการ การห้ามออกนอกเคหสถาน การรวมกลุ่ม หรือการเดินทางภายในประเทศของประชาชน โดยข้อมูลของกระทรวงคมนาคม พบว่า หลังจากประกาศบังคับใช้มาตรการที่ผ่านมา ยังพบว่า มีประชาชนเดินทางอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการข้ามพื้นที่ในจังหวัดเดียวกัน รวมทั้งจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดมีการเดินทางออกนอกจังหวัด ซึ่งที่ประชุม ศบค. มีความเป็นห่วง อีกทั้งยังสอดคล้องกับการรายงานของกรมควบคุมโรคพบว่า มีการรายงานการออกนอกเคหสถาน และพบพฤติกรรมการรวมกลุ่ม ยังพบการตั้งวงเล่นการพนัน

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ที่ประชุมได้เน้นย้ำเรื่องการตรวจหาเชื้อโควิดให้ครอบคลุมประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง ซึ่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าช่วงที่ผ่านมา ได้ตรวจโควิดให้ประชาชนเฉลี่ยวันละ 70,000 – 80,000 รายก็ยังไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของการอนุญาตให้ใช้แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test kits) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจโควิด

แต่มีความเป็นห่วงในแง่ของความแม่นยำ ที่อาจจะมีกรณี False Positive คือไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อแต่ผลออกมาเป็นบวก แต่พอตรวจซ้ำแล้วไม่เป็นผู้ติดเชื้อ หรือกรณี False Negative คือ เป็นผู้ติดเชื้อ แต่ผลไม่แม่นยำ ทำให้ผลออกมาเป็นลบ อย่างไรก็ตาม การให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจ แม้ว่ามาตรฐานไม่เท่ากับ RT-PCR ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ตรวจ แต่ต้องเน้นย้ำว่า เมื่อผลเป็นบวก ต้องขอให้ประชาชนติดต่อกับสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านซึ่งจะมีการดูแลต่อไป

สำหรับกรณีผู้ป่วยที่มีผลบวก ต้องเข้ารับการรักษา หากผลเป็นลบ แต่มีประวัติเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง มีคนใกล้ชิดเป็นผู้ติดเชื้อ หรือมีประวัติเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง แม้ผลตรวจจะเป็นลบ ก็ต้องตรวจซ้ำประมาณวันที่ 3-5 เนื่องจากชุดตรวจโควิดอาจจะไม่มีความแม่นยำหรือไวพอ หากมีเชื้อน้อยอาจตรวจไม่พบ ขอให้สำรวจอาการตัวเอง และต้องกักตัวเองด้วย

อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 15 กรกฎาคม ฉีดวัคซีนแล้ว 13,533,717 โดสฉีดมากที่สุด คือ ภูเก็ตโดยฉีดวัคซีนเข็มแรกกว่า 72.0%

วันที่ 15 ก.ค. 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประเทศไทย ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 13,533,717 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 50.03% จำแนกเป็น

-เข็มแรก 10,163,340 โดส (15.4% ของประชากร)
-เข็มสอง 2 3,370,377 โดส (5.1% ของประชากร)

จำนวนวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 15 ก.ค. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 13,533,717 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 273,443 โดส/วัน ประกอบด้วย

วัคซีน Sinopharm
– เข็มที่ 1 320,775 โดส
– เข็มที่ 2 775 โดส

วัคซีน AstraZeneca
– เข็มที่ 1 5,846,052 โดส
– เข็มที่ 2 78,224 โดส

วัคซีน Sinovac
– เข็มที่ 1 3,996,761 โดส
– เข็มที่ 2 3,291,378 โดส

รายงานผู้มีอาการข้างเคียงภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน
– 95.34% ไม่มีผลข้างเคียง
– 4.69% มีผลข้างเคียงไม่รุนแรง ประกอบด้วย
– ปวดกล้ามเนื้อ 1.12%
– ปวดศีรษะ 0.83%
– ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด 0.60%
– เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 0.54%
– ไข้ 0.37%
– คลื่นไส้ 0.25%
– ท้องเสีย 0.16%
– ผื่น 0.14%
– ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.11%
– อาเจียน 0.07%
– อื่น ๆ 0.48%

การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
– บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 111% เข็มที่2 97.3%
– อสม เข็มที่1 38.9% เข็มที่2 19.2%
– ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 16.5% เข็มที่2 1.1%
– ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 20.0% เข็มที่1 4.0%
– เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 40.3% เข็มที่2 24.7%
– ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 17.8% เข็มที่2 5.8%
รวม เข็มที่1 20.3% เข็มที่2 6.7%

จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 33.0% เข็มที่2 9.30% ประกอบด้วย
– กรุงเทพฯ เข็มที่1 44.59% เข็มที่2 11.97%
– สมุทรสาคร เข็มที่1 24.24% เข็มที่2 12.96%
– นนทบุรี เข็มที่1 24.85% เข็มที่2 9.33%
– สมุทรปราการ เข็มที่1 24.48% เข็มที่2 4.81%
– ปทุมธานี เข็มที่1 16.33% เข็มที่2 4.26%
– นครปฐม เข็มที่1 10.13% เข็มที่2 2.43%

จังหวัดอื่น ๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 8.33% เข็มที่2 2.84%
– ภูเก็ต เข็มที่1 72.0% เข็มที่2 57.99%
– ระนอง เข็มที่1 31.59% เข็มที่2 8.99%
– สุราษฎร์ธานี เข็มที่1 16.78% เข็มที่2 7.08%
– เกาะสมุย เข็มที่1 64.68% เข็มที่2 42.68%
– เกาะเต่า เข็มที่1 72.92% เข็มที่2 15.41%
– เกาะพะงัน เข็มที่1 51.97% เข็มที่2 7.31%

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า