Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID19 ในประเทศไทย พบผู้ป่วยเพิ่มอีก 143 คน รวมผู้ป่วยสะสม 1,388 คน ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 คน

เมื่อเวลา 11.30 น. วันนี้ (29 มี.ค.2563) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ COVID-19 ว่า สถานการณ์ทั่วโลกใน 197 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 2 เรือสำราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 29 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 645,158 ราย เสียชีวิต 29,951 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 81,394 ราย เสียชีวิต 3,295 ราย สหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วย 116,050 ราย เสียชีวิต 1,937 ราย อิตาลีพบผู้ป่วย 92,472 ราย เสียชีวิต 10,023 ราย

ขณะที่สถานการณ์ในไทยวันนี้ มีผู้ป่วยรายใหม่ 143 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 1,388 ราย โดย กทม.สูงสุด 641 ราย และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 82 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย เป็นชาย อายุ 68 ปี ประวัติเชื่อมโยงสนามมวย รวมยอดเสียชีวิตเป็น 7 ราย

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นชาวไทย 1,172 คน และชาวต่างชาติ 216 คน คิดเป็นผู้ชาย 61.1% หญิง 38.9% โดย

ส่วนใหญ่อาการไม่หนัก (ไม่แสดงอาการ) 18.4% และมีอาการ 81.6% กระจายตัวอยู่ใน 59 จังหวัด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยยังมีอยู่มากในกรุงเทพฯ 644 คน รองลงมาอยู่ในภาคใต้ 82 คน ปริมณฑล 135 คน และอื่น ๆ

 

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วยนายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า วันนี้มีผู้ป่วยกลับบ้านได้อีก 11 ราย และมีผู้ป่วยเพิ่ม 143 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 70 ราย ได้แก่

  • กลุ่มสนามมวย 5 ราย,
  • กลุ่มสถานบันเทิง 15 ราย
  • กลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 49 ราย
  • และผู้ร่วมพิธีทางศาสนาที่ประเทศมาเลเซีย 1 ราย

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 43 ราย ได้แก่

  • กลุ่มที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงทั้งคนไทยและคนต่างชาติ 22 ราย
  • กลุ่มผู้ทำงาน/อาศัย และเดินทางไปในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจำนวนมากหรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 8 ราย
  • กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 8 ราย
  • และกลุ่มอื่นๆ ตามเกณฑ์เฝ้าระวัง เช่น ปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ 5 ราย

 

กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ได้รับผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อแต่อยู่ระหว่างรอประวัติและสอบสวนโรค 30 ราย

 

สำหรับ ผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย เป็นชายไทยอายุ 68 ปี มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน มีอาการเหนื่อยหอบ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ตรวจพบปอดอักเสบ และภาวะวิกฤติระบบทางเดินหายใจ จึงส่งต่อไปที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า อาการไม่ดีขึ้น และเสียชีวิตวันที่ 26 มีนาคม 2563 ส่วนผู้ป่วยอาการหนัก 17 ราย มีอาการปอดอักเสบ ใส่เครื่องช่วยหายใจและเฝ้าระวังอาการใกล้ชิด ในจำนวนนี้ 1 ราย ใช้เครื่อง ECMO อาการอยู่ในภาวะวิกฤต

สรุปวันนี้ มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 111 ราย รักษาในโรงพยาบาล 1,270 ราย เสียชีวิต 7 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 1,388 ราย

นอกจากนี้ ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอิตาลี จำนวน 83 คน ที่ได้กักตัวเฝ้าระวังสังเกตอาการที่อาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งในวันนี้ครบ 14 วัน ทุกคนได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่พบเชื้อ กลับบ้านได้ทั้งหมด ทุกคนอาการปกติ

ในส่วนผู้ป่วยที่อาการวิกฤตจำนวน 17 ราย ร้อยละ 50 เป็นผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปี และมีโรคเรื้อรังประจำตัว  จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญ ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป จำนวน 4.7 ล้านคน (ข้อมูลจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) จึงขอให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว และกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา ปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด ขอให้อยู่ในเคหสถานหรือสถานที่พัก อยู่ในบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก และเมื่อมีอาการป่วย มีไข้ ไอ มีอาการระบบทางเดินหายใจ ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที ลดอัตราการเสียชีวิต

 

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำว่าขณะนี้ไทยยังคงมีน้ำยาเพียงพอในการตรวจหาเชื้อ ซึ่งขณะนี้มีน้ำยาที่พร้อมใช้กว่า 100,000 ตัวอย่าง อย่างไรก็ตามการตรวจแต่ละรูปแบบต้องพิจารณาตามความเหมาะสม โดยการวินิจฉัยโรคโควิด-19  ส่วนใหญ่เป็นการตรวจสารพันธุกรรม ทั้ง RT-PCR และ RT-LAMP ซึ่งได้ผลแม่นยำตามมาตรฐาน ส่วนชุดทดสอบเร็วอย่างที่ประชาชนให้ความสนใจซึ่งเป็นการตรวจภูมิคุ้มกันนั้นจะเหมาะกับบางสถานการณ์เท่านั้น

 

มาตรการต่างจังหวัดเข้มข้นหลังมีผู้ติดเชื้อกระจายกว่า 59 จังหวัด

นพ.ธนรักษ์ อธิบายว่าขณะนี้สามารถแบ่งการระบาดในแต่ละจังหวัดที่พบผู้ป่วยได้ เป็น 3 กลุ่ม คือ หนึ่งจังหวัดที่ไม่มีผู้ติดเชื้อเลย ซึ่งจะใช้มาตรการเช่นเดียวกับกรุงเทพฯในช่วงต้นเดือนม.ค. คือ พยายามควบคุมผู้ที่เดินทางผ่านเข้าออก และตรวจจับผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว รวมถึงติดตามผู้ที่เดินทางเข้ามาให้กักกันตัวจนครบ 14 วันเพื่อหยุดการแพร่โรคให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของกรมควบคุมโรคตอนนี้

กลุ่มที่สอง คือจังหวัดที่มีผู้ป่วยน้อย ส่วนใหญ่เดินทางมาจากพื้นที่อื่นที่แพร่ระบาดอยู่แล้ว  จึงต้องให้ความสำคัญในการตรวจจับผู้เดินทาง “ยิ่งเรามีจังหวัดที่ปลอดผู้ป่วยมากเท่าไหร่ จะยิ่งให้การดำเนินงานควบคุมโรคในจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงสามารถทำได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย”

สุดท้ายเป็นกลุ่มจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากจำนวนหนึ่ง แต่ยังคงไม่แพร่เชื้อในวงกว้าง เช่น สุรินทร์ อุดรราชธานี กาญจนบุรี บุรีรัมย์ และนครราชสีมา ต้องมุ่งเน้นมาตรการค้นหาผู้ป่วย เร่งสืบสวนโรค และการเว้นระยะห่างทางสังคม

 

สำหรับแนวทางปฏิบัติตัว และเกณฑ์พิจารณาให้ผู้ป่วยยืนยันที่ติดเชื้อแต่โรงพยาบาล รักษาหายให้กลับไปอยู่ที่บ้านนั้น ในระยะแรกที่ผู้ป่วยน้อย เราให้กลับบ้านช้า คือต้องตรวจหาเชื้อในคอเป็นลบ 2 ครั้ง ในระยะหลังมีการปรับนิยามเพื่อให้คนไข้กลับบ้านได้เร็วขึ้นในรายผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง และยืนยันว่าดีขึ้น ซึ่งตามข้อมูลคนไข้อาการน้อย เขาจะไม่เจอเชื้อในลำคอ ซึ่งเป็นเชื้อที่เราสามารถเพาะเชื้อได้ และติดต่อคนอื่นได้

ถ้าเรามีการเปลี่ยนนิยามให้คนไข้กลับบ้าน ให้ประชาชนมั่นใจว่าคนไข้เหล่านั้นจะไม่มีอาการแล้ว และเบื้องต้นจะมีการดูสภาพความพร้อมของแต่ละบ้านว่าเขาสามารถกลับบ้าน และความเสี่ยงแพร่โรคต่ำสุด อย่างไรก็ตามเมื่อกลับบ้านแล้ว ต้องมีการแยกตัวต่อสักระ ซึ่งวันนี้จะมีการพิจารณาว่ามาตรฐานการให้ผู้ป่วยกลับบ้านย่างไร

 

ทั้งนี้ แม้ สธ. ยืนยันมีเวชภัณฑ์พร้อม แต่เหตุใดจึงยังสวนทางกับกระแสสังคมที่ออกมา อย.ยืนยันว่ามีเวชภัณฑ์อยู่ทั้งจากการสั่งซื้อ และรับบริจาค ประเด็นปัญหาอยู่ที่การบริหารจัดการ ที่ต้องกระจายออกไป ทุกฝ่ายพยายามเต็มที่ อยากให้ทุกคนสื่อสารกันอย่างเข้าอกเข้าใจ หากมีความขาดแคลนก็มีช่องทางที่จะแจ้งมา ส่วนกลางพยายามเต็มที่ที่จะจัดหาให้

โดยประเด็นการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวนั้นต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม อย่างก่อนหน้านี้มีกรณีโรงพยาบาลหนึ่งที่ต้องใส่เครื่องช่วงหายใจให้คนไข้หนึ่งราย จึงใช้เจ้าหน้าที่กว่า 20 คนที่ต้อใส่ชุดป้องกันตัว ซึ่งถือเป็นการใช้งานที่มากเกินความจำเป็น ของพวกนี้มีอยู่อย่างจำกัด ถ้าสถานการณ์ยังแพร่ระบาดทั่วโลกยังรุนแรง อุปกรณ์สำคัญหลายชิ้นจะขาดแคลน กำลังการผลิตเป็นของทั้งโลกไม่ได้เป็นกำลังผลิตสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นปกติ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันใช้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากลักษณะการแพร่เชื้อในแต่ละกรณี

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า