Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 แล้ว 9 ราย ขณะที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันที่ 26 ม.ค. 2565 ดังนี้

– ติดเชื้อเพิ่ม 7,587 ราย สะสม 2,398,944ราย
– ผล ATK พบติดเชื้อ 2,205 ราย สะสม 425,234 ราย
– เสียชีวิตเพิ่ม 19 ราย สะสม 22,076 ราย
– หายป่วย 7,801 ราย
– กำลังรักษา 81,532 ราย

สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ณ เวลา 06:00 น.
– ผู้ป่วยยืนยัน 356,440,287 ราย
– กลับบ้านแล้ว 282,592,550 ราย
– ยังรักษาใน รพ.68,222,525 ราย
– เสียชีวิต 5,625,212 ราย

สถิติการฉีดวัคซีน ข้อมูล ณ วันที่ 25 ม.ค. 2565 ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 112,759,859 โดส สัดส่วน 64.70%
– เข็มแรก 52,088,514 โดส (78.7% ของประชากร)
– เข็มสอง 48,208,002 โดส (72.8% ของประชากร)
– เข็มสาม 12,463,343 โดส (18.8% ของประชากร)

วัคซีน Sinovac
– เข็มที่ 1 22,855,699 โดส
– เข็มที่ 2 3,579,477 โดส
– เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน AstraZeneca
– เข็มที่ 1 13,649,715 โดส
– เข็มที่ 2 28,145,490 โดส
– เข็มที่ 3 3,737,308 โดส

วัคซีน Sinopharm
– เข็มที่ 1 7,493,784 โดส
– เข็มที่ 2 7,172,830 โดส
– เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
– เข็มที่ 1 7,422,019 โดส
– เข็มที่ 2 8,578,137 โดส
– เข็มที่ 3 6,826,981 โดส

วัคซีน Moderna
– เข็มที่ 1 667,297 โดส
– เข็มที่ 2 732,068 โดส
– เข็มที่ 3 1,899,054 โดส

ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 สะสม 9 ราย 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทย์ฯ ได้ติดตามสถานการณ์การระบาดของสายพันธุ์ในประเทศ และ ติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยีการตรวจการกลายพันธุ์ (SNP genotyping assay, Targeted sequencing, Whole genome sequencing) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา ซึ่งพบสายพันธุ์ที่น่ากังวลในประเทศไทย (Variant of Concerns; VOC) ได้แก่ อัลฟ่า (อังกฤษ) เบต้า (แอฟริกาใต้) เดลต้า (อินเดีย) จนกระทั่งพบสายพันธุ์โอไมครอน รายแรกเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2564 โดยเป็นโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 พบการกลายพันธุ์ตำแหน่ง K417N, T478K, N501Y และ del69/70 แต่ไม่พบการกลายพันธุ์ตำแหน่ง L452R ซึ่งเป็นรูปแบบการกลายพันธุ์รูปแบบหนึ่งของสายพันธุ์โอไมครอน โดยในช่วงแรกประเทศไทยยังคงพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน เฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และประมาณสามสัปดาห์ต่อมาเริ่มพบผู้ติดเชื้อในประเทศ โดยเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่พบในคลัสเตอร์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1

ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ร่วมกับเครือข่ายทั่วประเทศ พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยในประเทศ ได้แก่ BA.1 และ BA.2 โดยสายพันธุ์ย่อย BA.2 ตรวจพบรายแรกตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2565 และได้รายงานในระบบฐานข้อมูล GSAID ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.. 2565 ส่วน BA.3 ยังไม่พบในประเทศไทย

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจสอบพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 รวมทั้งหมด 9 ราย ซึ่งลักษณะสำคัญทางพันธุกรรมของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 คือ ไม่พบการกลายพันธุ์บน spike โปรตีน ของตำแหน่ง 69-70 ซึ่งแตกต่างจาก BA.1 และ BA.3

จากการติดตามสถานการณ์ระบาดและการกระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19 โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ยังไม่พบความแตกต่างจากสายพันธุ์ย่อย BA.1 ในประเด็น ความสามารถในการแพร่เชื้อที่รวดเร็ว อาการรุนแรง หรือสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ จากการติดเชื้อหรือการได้รับวัคซีนมาก่อน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า