Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมอนามัยรายงานสถานการณ์โควิด-19 ในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 5 ปี พบติดเชื้อโควิด-19 สะสม 107,059 ราย เสียชีวิต 29 ราย ชี้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ติดเชื้อง่ายสุด แพทย์แนะแนวทางปฏิบัติ 3 กรณี

วันที่ 24 ก.พ. 2565 นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยข้อมูลรายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2564 ถึง 17 ก.พ. 2565 มีเด็กปฐมวัยติดเชื้อสะสม 107,059 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 29 ราย โดยรายกลุ่มย่อยทุก 1 ปี มีจำนวนการติดเชื้ออยู่ในระดับมากกว่า 20,000ราย แต่จะพบสูงกว่าในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี แสดงให้เห็นว่า กลุ่มเด็กเล็กน้อยกว่า 2 ปี โดยเฉพาะ 0-1 ปี เป็นกลุ่มที่ติดเชื้อง่ายกว่ากลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากเด็กไม่สามารถปกป้องตัวเองได้อีกทั้งยังไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กเล็กมาก ๆ ด้วย

สาเหตุของการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในครอบครัว และด้วยธรรมชาติของเด็กวัยนี้ที่ไม่สามารถป้องกันโรคด้วยตัวเองได้ดีพอ ส่งผลให้เป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

  • แนวทางปฏิบัติเมื่อเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19

นพ.ธีรชัย บุญยะลีพรรณ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า แนวทางปฏิบัติในกรณีที่เด็กติดเชื้อโควิด-19 แบ่งได้ 3 กรณีคือ

1) กรณีเด็กเป็นผู้ติดเชื้อ และผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อให้เข้ารับการรักษา โดยเน้นให้จัดอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว

2) กรณีเด็กเป็นผู้ติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่เป็นผู้ติดเชื้อให้เด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยผู้ปกครองควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ มีอายุไม่เกิน 60 ปี และไม่มีโรคประจำตัว สามารถเข้าดูแลเด็กในสถานพยาบาลได้ แต่สำหรับโรงพยาบาลสนาม ควรจัดพื้นที่ให้เด็กและผู้ปกครองเป็นการเฉพาะ โดยแยกจากผู้ติดเชื้ออื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อโรคได้

3) กรณีเด็กไม่เป็นผู้ติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อ ให้ญาติเป็นผู้ดูแล หากไม่มีญาติหรือผู้ดูแลเด็ก ให้ส่งเด็กไปยังบ้านพักเด็ก ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้ดูแล หรือพิจารณาใช้พื้นที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในชุมชนเป็นที่ดูแลเด็ก

  • ระดับอาการของเด็กติดเชื้อโควิด-19 ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด

แบบที่ 1 อาการในระดับที่สามารถเฝ้าสังเกตที่บ้านได้ คือ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก มีอาการไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหารหรือนมได้ปกติ ไม่ซึม

แบบที่ 2 อาการที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว คือ มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94% ซึมลง ไม่ดูดนม และไม่กินอาหาร

นพ.ธีรชัย กล่าวว่า อุปกรณ์เพื่อใช้ติดตามอาการของเด็ก ได้แก่ ปรอทวัดไข้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อุปกรณ์ถ่ายภาพหรือกล้องวิดีโอ และยาสามัญประจำบ้าน โดยพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมืออย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับเด็กที่ติดเชื้อ และให้ดูแลรักษาเด็กตามอาการ ถ้ามีไข้ ให้กินยาลดไข้ และเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ถ้ามีอาการไอ มีน้ำมูกให้กินยาแก้ไอ หรือยาดลน้ำมูกได้ และดื่มน้ำมาก ๆ แต่ถ้ามีอาการถ่ายเหลว ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ

  • เทคนิคการดูแลเด็กติดเชื้อโควิด-19 เมื่อแยกกักตัวที่บ้าน ปฏิบัติได้ดังนี้

 1) ชวนเด็กพูดคุยในประเด็นที่เด็กอาจมีคำถามหรือความหวาดกลัว เพื่อคลายความกังวล

2) หากิจกรรมที่เด็กชอบและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

3) สอนให้เด็กไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

4) เตรียมอาหารที่ปรุงสุกใหม่ เน้นให้เด็กกินผัก ผลไม้ 5 สี เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

5) ฝึกเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ การเว้นระยะห่าง ให้เป็นสุขนิสัยประจำตัว

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า