SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปอภิปรายประชุมร่วมรัฐสภา วาระพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 60

วันที่ 23 ก.ย. 2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวโดยสรุปว่า สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 60 เพราะไม่เป็นประชาธิปไตยตั้งแต่เนื้อใน และบทเฉพาะกาล โดยมติของพรรคประชาธิปัตย์นั้นสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล ที่เสนอให้แก้ไขมาตรา 256 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ให้ยกร่างรัฐธรรมนูญแม้ที่มาของ ส.ส.ร. จะยังไม่ตรงกันแต่เชื่อว่าจะสามารถปรับได้เมื่อเข้าสู่วาระที่ 2 ในส่วนของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ถ้าไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงก็ควรมีบทบาทจำกัด เฉพาะการทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตามอีกจุดที่สนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล เพราะเป็นร่างที่ไม่แตะหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 ซึ่งเป็นรูปแบบของรัฐ

ด้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายโดยสรุปให้เหตุผลที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 60 เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประเทศไทยทวนเข็มนาฬิกาการเมืองย้อนอดีตไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว คือเหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 2551 ที่ให้อำนาจ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีได้

พร้อมระบุว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะถอนฝืนออกจากกองไฟนั้น สำคัญคือการออกแบบรัฐธรรมนูญต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีข้อจำกัด ไม่จำกัดความฝันของประชาชนกลุ่มใด ดังนั้นการห้ามแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในหมวด 1 หมวดทั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ จะไม่ช่วยให้ข้อเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข อย่างแท้จริงด้วยเหตุและและผลได้ถูกพูดถึงอย่างมีวุฒิภาวะเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่คู่กับระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมั่นคงสถาพร”

นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขเวลา มีความจริงใจ ไม่ใช่การยื้อเวลา ประวิงเวลา ให้ระบอบประยุทธ์อยู่ในอำนาจต่อไป ซึ่งลำพังเพียงแค่การแก้ไขมาตรา 256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. คงจะไม่พอที่จะลดอุณหภูมิการเมืองได้ ดังนั้นสำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เร่งด่วนที่สุด ต้องพิจารณาใจกลางความขัดแย้งของการเมืองไทย คือ ส.ว. แต่งตั้ง 250 คนที่มีอำนาจเลือกนายกฯ ระบบเลือกตั้งที่ไม่สะท้อนเจตจำนงประชาชน ทำให้เกิดรัฐบาลอ่อนแอ องค์กรอิสระถูกครอบงำ ทั้งนี้ขอให้สมาชิกรัฐสภา อย่าทำตามคำสั่งระบอบประยุทธ์ ถึงเวลาต้องอยู่ฝังเดียวประชาชน หยุดกอดอดีต ปล่อยประเทศไทยไปสู่อนาคตเสียที

สำหรับในส่วนของ ส.ว. คนแรกที่ขึ้นมาอภิปราย คือ นายมณเฑียร บุญตัน ได้ยืนยันว่า ส.ว.มีเอกสิทธิ และมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง ไมได้เป็นตัวแทน หรือสะท้อนความคิดใคร ชี้รัฐธรรมนูญต้องไม่แก้ไขยากเกินไป แต่มองว่าการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการจะยกร่างใหม่ทั้งฉบับ จะมีผลต่อความรู้สึกของคนโดยรวม ดังนั้นควรแก้เป็นรายประเด็น ไม่เช่นนั้นจะเกิดความไม่พอใจ และความขัดแย้งไม่สิ้นสุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า