Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ลงพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม รับฟังปัญหาและผลกระทบของเกษตรกรชาวนา ในเรื่องของน้ำ ช่วงที่ฝนทิ้งช่วง พร้อมแนะให้ชาวบ้านทำธนาคารน้ำใต้ดิน

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับชาวบ้านและเกษตรกรชาวนาที่ปลูกข้าว ตำบลเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้ผลกระทบจากปัญหาฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ทำให้ขาดแคลนน้ำ ข้าวที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหายกว่าร้อยละ 30 และได้เดินทางไปที่บึงกุย หรือสะดืออีสาน ที่เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีพื้นที่ 2,750 ไร่ จุน้ำได้ 4.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งตอนนี้ปริมาณน้ำได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนชาวบ้านสามารถลงไปเดินได้

นายมงคลกิตติ์ แนะให้ชาวบ้านทำธนาคารน้ำใต้ดิน ที่จะช่วยให้เราสามารถกักเก็บน้ำ ทั้งน้ำฝนหรือน้ำจากแหล่งน้ำ ไว้ใช้ในหน้าแล้ง และจะนำเรื่องเข้าไปปรึกษาหารือในสภาอยากให้แก้ปัญหาให้ได้ในระยะยาว ไม่ใช่การแก้ปัญหาแค่ชั่วคราว ซึ่งจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ

จากการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล นายมงคลกิตติ์ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา 5 ข้อหลักดังนี้ คือ

1.ช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ฝนจะทิ้งช่วง ปลายเมษายน ถึง สิ้น กรกฏาคม ของทุกปี

2.น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วง ปลายเมษายน 2562 มีอยู่ 73% และ ช่วง 20 กรกฏาคม 2562 เหลือ 23% เขื่อนอื่นๆ ในภาคอีสานจะมีปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือน้อยตามลำดับ เนื่องจากฝนขาดช่วง

3.ช่วง สิงหาคม ถึง พฤศจิกายน ของทุกปี จะมีฝนตกชุก พายุเข้า น้ำป่าไหลหลาก เกิดน้ำท่วม น้ำเต็มเขื่อน เป็นปกติธรรมชาติ

4.หลังจากน้ำหลาก ทุกเขื่อนจะปล่อยน้ำออกจากเขื่อนอย่างเต็มที่ ไม่ค่อยกักไว้ใช้ยามน้ำขาด หรือ ปล่อยมากเกินไป อีกอย่าง ห้วย บึง หนอง คลอง ตาม ตำบล อำเภอ จังหวัด ต่างๆ ไม่มีการขุดให้ลึก เกิดการตื้นเขิน หรือ มีงบขุดแต่ทุจริตกันมาก วิธีการแก้ไขระยะยาว ใช้งบประมาณประหยัด ช่วยเหลือประชาชนจนสำเร็จ คือ การทำธนาคารน้ำใต้ดิน แก้ปัญหา น้ำแล้ง-น้ำท่วม สามารถทำสำเร็จที่อำเภอน้ำยืน จ.อุบลราชธานี และ ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จนน้ำลดกระทันหันสามารถช่วย 13 หมู่ป่าออกมาได้

5.จุดสำคัญ ช่วงฤดูน้ำหลาก เราไม่ควรปล่อยน้ำจนเต็มที่ ควรเก็บน้ำไว้ตามเขื่อนต่างๆสัก 90% ของปริมาณน้ำเต็มเขื่อน น้ำที่ปล่อยออกช่วงน้ำหลากไปควรเก็บไว้ตาม ห้วย หนอง คลอง บึง แต่น้ำก็ยังไม่พอใช้ช่วง 2 เดือนครึ่ง ควรทำธนาคารน้ำใต้ดินเก็บน้ำไว้ตามพื้นที่ต่างๆ ไว้ดึงน้ำมาใช้ตอนฝนขาดช่วง 2 เดือนครึ่ง

“ส่วนฝนเทียมนั้นก็เป็นอีกวิธีที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เหมือนปัจจุบันที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังดำเนินการอยู่ แต่ถ้าผ่านถึงช่วง กลางเดือนสิงหาคม 2562 ฝน พายุ น้ำหลาก ก็จะเริ่มเข้าภาคอีสาน พื้นที่เกษตรก็จะเสียหาย ต้องมาจ่ายค่าชดเชยรายไร่อีกก็เป็นงบจากภาษีประชาชนอีก ซึ่งเราสามารถจัดการให้ความเสียหายให้น้อยลงไปได้กว่า 70% ถ้าเราแก้ไขเป็น มองภาพรวม และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้จากการประกาศภัยพิบัติ น้ำแล้ง-น้ำท่วม ในการทุจริตงบดังกล่าว ปัญหาก็จะน้อยลง จึงเรียนสรุปมาให้ประชาชนทราบเบื้องต้น”

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สถานการณ์แม่น้ำชี ขณะนี้ถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤต  ตลอดลำน้ำชีที่ไหลผ่านจังหวัดมหาสารคาม  ระยะทาง 125 กิโลเมตร  ตั้งแต่ อ.เชียงยืน  อ.โกสุมพิสัย  อ.กันทรวิชัย  และอ.เมือง บางช่วงสามารถเดินข้ามได้ ขณะที่ปริมาณน้ำแม่น้ำชีบริเวณหน้าฝายวังยางต่ำกว่าระดับกักเก็บ ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร ต้องเก็บไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์ จึงประกาศให้แพสูบน้ำต่าง ๆ ที่เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  งดสูบน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงนี้  และหยุดเดินเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาดใหญ่ของสถานีสูบน้ำเขื่อนวังยาง เนื่องจากน้ำต้นทุนมีน้อย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า