Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปี 2561 ไทยขยับอันดับประเทศที่มีการค้ามนุษย์อยู่ที่เทียร์ 2 ดีที่สุดในรอบ 9 ปี หลังกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ระบุว่า ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของขบวนการค้ามนุษย์ ส่งผลให้ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้อยู่ในระดับเทียร์ 3 คือ ระดับต่ำสุด เมื่อปี พ.ศ. 2557-2558

การถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 (Tier) เป็นการเปิดทางไปสู่การใช้มาตรการการคว่ำบาตรทางการค้าจากรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของสินค้ากุ้งและทูน่าจากไทย ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก และอาจทำให้บริษัทข้ามชาติบางแห่งทบทวนนโยบายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ถูกกล่าวหาว่ามีการค้ามนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมประมง นอกจากนี้ไทยยังอาจสูญเสียความช่วยเหลือจากสหรัฐฯที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าและไม่เกี่ยวข้องกับมนุษยธรรม รวมทั้งอาจถูกสหรัฐอเมริกาคัดค้านไม่ให้ได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก เนื่องจากปัญหาการค้ามนุษย์มีประเด็นที่เกี่ยวพันและยังคงอยู่ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาแรงงานต่างด้าว ผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย, ปัญหาแรงงานประมงผิดกฎหมาย, ปัญหาการค้าประเวณี โสเภณีเด็ก,ปัญหาขอทานเด็กและต่างด้าว, ปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ (โรฮิงญา) เป็นต้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังต่อเนื่องครอบคลุมทุกมิติ เริ่มต้นจากการใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน บูรณาการระบบการทำงานของทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้แก่

  • การแก้ปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติอย่างจริงจัง โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิอันเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์
  • การแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย IUU Fishing
  • การขึ้นทะเบียนแรงงานและเรือประมง มีมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเป็นรูปธรรม
  • การตรวจคนเข้าเมือง
  • การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว
  • การปราบปราม จับกุมผู้กระทำความผิด
  • การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย ครอบคลุมและตรงต่อการแก้ปัญหามากที่สุด
  • จัดตั้งหน่วยงานพิเศษ ดำเนินคดีการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะเพื่อลดระยะเวลาดำเนินคดีจากการที่รัฐบาลมุ่งมั่นและตั้งใจแก้ไขปัญหาในทุกมิติอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ปี 2559 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เลื่อนสถานะของไทยในรายงานการค้ามนุษย์จากเทียร์ 3 ขึ้นมาเป็นเทียร์ 2 ที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List), ปี 2560 คงสถานะเดิม เทียร์ 2 ที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) และปี 2561 เลื่อนขึ้นมาเป็นเทียร์ 2

การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลมีความพยายามอย่างจริงจังและมีความคืบหน้าในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบในปีที่ผ่านมา โดยรัฐบาลไทยพร้อมร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งในประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และนานาประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา เพื่อผลักดันให้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมในเชิงกว้างและลึกมากยิ่งขึ้นในอนาคต

รายงานการค้ามนุษย์ (Trafficking In Persons Report 2018) (พ.ศ.2561) ของสหรัฐฉบับล่าสุดที่สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์การค้ามนุษย์ใน 189 ประเทศทั่วโลก ปีนี้ไทยถูกจัดอันดับให้อยู่ใน ‘กลุ่มเทียร์ 2’ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความพยายามในการแก้ไข และตรวจสอบการลักลอบค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ใน ‘กลุ่มเทียร์ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List)’ 2 ปีติดต่อกัน คือ ปี2559 และ 2560

สำหรับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยเคยย่ำแย่ที่สุด และถูกจัดอยู่ใน ‘กลุ่มเทียร์ 3’ เมื่อปี 2014(พ.ศ.2557) และ 2015 (พ.ศ.2558) การเปลี่ยนแปลงอันดับครั้งนี้ นับว่าไทยมีพัฒนาการ ต่อการแก้ไขและจัดการปัญหาดังกล่าวดีที่สุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2009 TIP 2018 ยังระบุว่า ไทยมีความพยายามจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับรายงานฉบับก่อนหน้า ทั้งการดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เพิ่มมากขึ้นมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เข้ามาดูแลและจัดการประเด็นนี้โดยเฉพาะ มีขั้นตอนกระบวนการที่กระชับขึ้น รวมถึงรัฐบาลเข้าไปมีส่วนในการสอบสวนและติดตามผลอย่างจริงจัง การที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับที่สูงขึ้นเป็นสิ่งยืนยันความเชื่อมั่นของนานาชาติที่มีต่อทิศทางความพยายามในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทยในการป้องกันไม่ให้ประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นพัฒนากรอบกฎหมายและนโยบาย รวมทั้งเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า