Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลย้ำดูแลประชาชนทุกกลุ่ม ได้รับประโยชน์ 40 ล้านคนผ่าน 10 มาตรการระยะสั้น บรรเทาค่าครองชีพและความเดือดร้อน จากผลกระทบสถานการณ์ความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ภายใต้งบประมาณ 8 หมื่นล้านบาท

วันที่ 24 มี.ค. 2565 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการแถลงข่าวมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายดนุชา พิทยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ร่วมการแถลงข่าว สรุปสาระสำคัญดังนี้

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวถึง 10 มาตรการระยะสั้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย อย่างครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศที่มีความจำเป็น ประกอบด้วย มาตรการราคาขายปลีกน้ำมัน ราคาก๊าซหุงต้ม การดูแลกลุ่มเปราะบาง 5 กลุ่ม กลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มผู้ใช้ไฟรายย่อย กลุ่มนายจ้าง ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม กลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้ขับขี่แท็กซี่มิเตอร์ ในการให้บริการประชาชนในอัตราที่ไม่เพิ่มขึ้น

ในปี 2563 – 2564 การค้าขายในประเทศไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าหรือส่งออกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ ที่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบสำคัญเกิดการชะลอตัวในการผลิต หลังจากที่สถานการณ์ดีขึ้นประกอบกับการออกมาตรการป้องกันในระดับโรงงาน (Factory Quarantine) จะเห็นได้ว่าในปี 2564 ภาคการส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้น มีอัตราการเติบโตในมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐประมาณ 17 – 20% ซึ่งในปีนี้คาดว่าตัวเลขการขยายตัวของภาคการส่งออกของไทยจะอยู่ที่ 5-10% ประกอบกับการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ภาคการค้าขายชายแดนไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านในรอบอาเซียนยังคงพึ่งพาสินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ จึงคาดการณ์ได้ว่าภาคการส่งออกรวมทั้งแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐ ทั้งในการใช้จ่ายงบประมาณปี 2565 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจในปี 2565 ขณะเดียวกันในภาคเอกชนได้มีการระดมทุน โดยเฉพาะการออกหุ้นกู้ทั้งบริษัทที่อยู่ในตลาดและนอกตลาดในปี 2564 ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ภาคการลงทุนของภาคเอกชนเริ่มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนทั้งค่ายรถเดิมที่มีอยู่และค่ายรถใหม่ ทำให้เห็นได้ว่าภาคเอกชนยังมีการลงทุนอยู่อย่างต่อเนื่อง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้นจำนวน 901,414 ล้านบาท ขณะที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 1,429,194 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 394,465 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 418,588 ล้านบาท

ส่วนความกังวลต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คาดว่าจะได้ความชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการประชุมอีกครั้งปลายเดือนมีนาคมนี้ สำหรับสภาพคล่องด้านเสถียรภาพทางการเงินของภาคเอกชน และธนาคารพาณิชย์ ปัจจุบันยังคงมีสภาพคล่อง แม้งบประมาณปี 2565 ประเทศไทยขาดดุลประมาณ 700,000 ล้านบาท

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงมาตรการของกระทรวงแรงงานที่ได้ลดเงินสมทบทั้งในส่วนนายจ้างและผู้ประกันตนทุกมาตรา เป็นเวลา 3 เดือน เกิดประโยชน์กับประชาชน 24.2 ล้านคน เม็ดเงินมูลค่า 34,540 ล้านบาท ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ 103,620 ล้านบาท สำหรับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อยู่ในขั้นตอนดำเนินการสำรวจและประมวลผลค่าใช้จ่าย ซึ่งจะพิจารณาในเดือนสิงหาคม -กันยายน 2565 นอกจากนี้ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และดูแลผู้ใช้แรงงาน ได้จัดทำโครงการ factory sandbox และจัดหา hospitel ดูแลรักษาผู้ป่วย

สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชนว่ากระทรวงพลังงาน ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง รวมระยะเวลา 2 ปี ใช้งบประมาณที่ภาครัฐช่วยเหลือด้านพลังงานไปแล้ว 164,228 ล้านบาท ทั้งการคืนเงินประกันผู้ใช้ไฟฟ้า การตรึงราคา ก๊าซ LPG และ NGV การบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าเอฟที

สำหรับมาตรการที่ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือหลังจากนี้ เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2565 ประกอบด้วย
– มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้น้ำมันดีเซล
– มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ก๊าซหุ้งต้ม
– กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 บาทต่อหน่วยต่อเดือน จะได้รับส่วนลดค่าเอฟที เท่ากับค่าไฟฟ้างวดเดือนมกราคม –เมษายน 2565 ที่เรียกเก็บ 1.39 สตางค์ต่อหน่วย รวม 3.78 บาทต่อหน่วย จากที่ปรับขึ้นเป็น 4 บาทต่อหน่วย รวมงบประมาณที่ภาครัฐช่วยเหลือ 43,000 – 45,000 ล้านบาท รวมตลอดระยะเวลา 3 ปีกว่า 200,000 ล้านบาท และจะมีการพิจารณามาตรการช่วยเหลือหลังสิ้นสุดมาตรการระยะเวลา 3 เดือน จึงขอความร่วมมือประชาชนรวมพลังรวมแรงใจลดการใช้พลังงาน

กุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า