Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้นำการศึกษาโลกชื่นชม วิสัยทัศน์ รมว.ศธ.ไทย ประกาศดึงความร่วมมือนานาชาติ หนุนปฏิรูปการเรียนการสอน ส่งเสริมครูพัฒนาผู้เรียนไทย ปลื้มผลวิจัย OECD 3 ปีพบเด็กพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ได้ไม่แพ้ใครในโลกด้วยฝีมือครูไทย ขณะที่ กสศ. และ สพฐ. เตรียมขยายผลเน้นความยั่งยืน

วันที่ 27 ก.ย 62 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า หลังร่วมการประชุมนานาชาติเรื่องการขับเคลื่อนทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ในโรงเรียนตามคำเชิญอย่างเป็นทางการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานผู้ประสานงานโครงการประจำประเทศไทย ที่ National Endowment for Science, Technology and the Arts (NESTA) ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร  เมื่อเร็วๆ นี้ นั้น ได้บรรยายในหัวข้อ “การปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อการพัฒนานวัตกรรม” ร่วมกับ รมว.ศธ.ออสเตรเลีย และ รมว.ศธ.แคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร โดยมีผู้แทนรัฐบาล นักการศึกษาชั้นนำระดับโลก นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สมาชิกวุฒิสภา ศิลปิน และผู้บริหารองค์กรการศึกษากว่า 200 คนจากทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างเต็มที่ทั้งระบบและในทุกระดับ และมีความตั้งใจที่จะสนับสนุนการทำงานของโครงการและแผนงานที่ดีและได้รับการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศอย่างโครงการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ ที่ กสศ. สพฐ. และองค์การ OECD ร่วมดำเนินงานมา 3 ปี จนประสบความสำเร็จ และต้องการเห็นแผนการขยายผลการดำเนินงานในประเทศไทยในขั้นตอนต่อไปที่ยังคงรักษาคุณภาพการดำเนินงาน และสามารถขยายการดำเนินงานสู่ระดับชาติได้ในอนาคต

“ทุกโรงเรียนในประเทศไทยต้องมี Internet ความเร็วสูง และมิใช่เฉพาะห้องผู้บริหาร แต่ต้องมีสัญญาณถึงทุกห้องเรียน ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องสมุด เพื่อให้นักเรียนไทยทุกคน มีโอกาสที่เสมอภาคในการเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากทั่วโลก รวมทั้งครูและผู้บริหารสถานศึกษาสามารถเข้าถึงเครื่องมือและแนวทางพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และทักษะภาษาอังกฤษในสถานศึกษาของตนได้อย่างเต็มที่” นายณัฏฐพล กล่าว

โดยระบุว่า หากโรงเรียนต้องการพัฒนาศักยภาพเด็กในพร้อมต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อย่ากังวลเรื่องงบประมาณ เนื่องจากขณะนี้เราได้มีความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศชั้นนำของโลกอย่าง OECD แล้ว เชื่อว่าจะช่วยสนับสนุนครูไทยที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ ศธ.จะตัดลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นและไม่เกิดประโยชน์โดยตรงต่อผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน มาสนับสนุนมาตรการดังกล่าวให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งแนวทางนี้ได้รับคำชื่นชมจากองค์การต่างๆ จำนวนมาก ว่าเป็นการแก้ปัญหาโดยมุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ

ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กสศ. และ ดร.ณัฐา เพชรธนู ผอ.ศูนย์ PISA สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ได้ร่วมกับผู้แทนจากประเทศฮังการี และแคว้นเวล์ส สหราชอาณาจักร นำเสนอผลการวิจัยพัฒนาและการประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ที่ได้ดำเนินการร่วมกับองค์การ OECD มาตลอด 3 ปี พบว่า ครูไทยที่เข้าร่วมโครงการวิจัยจาก 110 โรงเรียนครอบคลุมนักเรียนกว่า 1,500 คน สามารถใช้เครื่องมือส่งเสริมความคิด จากองค์การ OECD ได้ผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนไทยได้แสดงพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์นี้ได้อย่างโดดเด่นในลำดับต้นๆ ของ 11 ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ที่สำคัญครูสังกัด สพฐ. สามารถพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนที่มีฐานะยากจนด้อยโอกาสจนมีพัฒนาการที่ดีไม่แพ้นักเรียนทั่วไป ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ผลการสอบ PISA เมื่อปี 2015 ของ กสศ. ว่าประเทศไทยมี “นักเรียนช้างเผือกจำนวนมากที่ครอบครัวมีฐานะยากจน แต่ศักยภาพทางการศึกษาที่สูงไม่แพ้ใครในโลก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า