Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Emily in Paris ซีรีส์ Netflix Orignal กลับมาพร้อมซีซั่น 2 ที่มีผู้ชายน้อยลงแต่วายป่วงไม่แพ้เดิม กับเรื่องราวของ เอมิลี่ นักการตลาดสาวชาวอเมริกันที่ส้มหล่นได้ย้ายมาทำงานที่เอเจนซี่โฆษณาสาขาปารีส ต้องฝ่าฟันอุปสรรคในการทำงาน และจัดระเบียบชีวิตรัก จากการตัดตัวเลือกที่มีมากหน้าหลายตาในซีซัน 1 มาสู่ความยุ่งเหยิงกับรักสามสี่เส้าสุดซับซ้อนของเธอในซีซั่นนี้

EMILY IN PARIS (L to R) LILY COLLINS as EMILY in episode 101 of EMILY IN PARIS. Cr. CAROLE BETHUEL/NETFLIX © 2020

Emily in Paris อาจจะเป็นซีรีส์ที่ดูสนุกและช่วยให้พักสมองเหมือนได้ไปท่องแดนไกล แต่อาจจะไม่ได้สะท้อนภาพของปารีสได้จริงขนาดนั้น บทความนี้จะลองมาดูว่า Emily in Paris ทั้งสองซีซั่นสะท้อนภาพจริงของปารีสได้แค่ไหน และคนฝรั่งเศสเขาคิดอย่างไงกับซีรีส์เรื่องนี้ หลังจากที่ฮิตไปทั่วโลกจนต้องมีซีซั่น 2

Emily in Paris เป็นซีรีส์เบาสมองที่นำเสนอความสวยงามของเมืองปารีส แฟชั่นที่สดใสโดดเด่น และความแซ่บของหนุ่มสาวปารีเซียง ที่นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องความเซ็กซี่แล้ว พวกเขายังดูเหมือนจะไม่ได้ยึดติดกับความสัมพันธ์แบบรักเดียวใจเดียวเสียเท่าไหร่ด้วย นับว่าเป็นซีรีส์ที่เล่นกับ ‘Stereotypes’ หรือแนวความคิดแบบเหมารวมว่า ปารีส เป็นเมืองที่สวยงามโรแมนติกที่สุดในโลก ทุกคนแต่งตัวดี แฟชั่นจ๋า มีประชากรที่สวยหล่อเซ็กซี่ เก่งเรื่องบนเตียง และเปลี่ยนคนรักเป็นว่าเล่น

เริ่มด้วยเมืองปารีส ที่ในซีรีส์ดูช่างแสนโรแมนติก ตั้งแต่อพาร์ทเมนต์ของนางเอกในซีซั่น 1 ตึกรามบ้านช่องที่สวยงาม รุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์ อาหารอร่อย หอไอเฟลและแม่น้ำแซนที่สวยจับใจทั้งกลางวัน กลางคืน แต่สิ่งที่ Emily in Paris ไม่ได้บอกเราคือนอกจากคนหน้าตาหยิ่ง ๆ อาหารแพง ยังมีอีกหลายอย่างที่ทำให้ปารีสเป็นเมืองที่ชวนอกหักเมื่อไปถึงแล้วเมืองไม่ได้เป็นแบบที่หลายคนคาดหวัง

ภาพจาก frenchmoments.eu

กลิ่นฉี่

  • เหมือนที่ ‘แอลฟี่’ พ่อหนุ่มอังกฤษร่วมชั้นเรียนภาษาของเอมิลี่ค่อนไว้คือปารีสไม่ได้สะอาดเนี้ยบสักเท่าไหร่คล้าย ๆ กับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในโลกนี้ แต่สิ่งที่ซีรีส์ไม่ได้นำเสนอให้เห็นคือ ‘กลิ่น’ หลายที่ในปารีส โดยเฉพาะรถไฟใต้ติน มีกลิ่นฉี่ลองฟุ้งอยู่ในอากาศ จนติดอันดับ 1 กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองหลวงประเทศแห่งน้ำหอม
  • กลิ่นคู่บ้านคู่เมืองของปารีสนี้มีที่อันยาวนาน เพราะหลายบทความชี้ว่ามันเริ่มด้วยสิ่งที่เรียกว่า Vespasiennes หรือโถปัสสาวะสาธารณะ ที่เริ่มเข้ามาในปารีสประมาณกลางศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่ปี 1834 และในจุดพีคช่วงยุค 1930s มีมากถึง 1,230 แห่ง

ภาพจาก frenchmoments.eu

  • นอกจากการปลดทุกข์แล้ว Vespasiennes ยังมีประโยชน์หลายอย่าง บทความของ The Guardian เคยเล่าว่าโถปัสสาวะสาธารณะเป็นตั้งแต่เป็นพื้นที่ให้กลุ่มรักร่วมเพศได้แอบมาปลดปล่อยความเป็นตัวเอง ไปจนถึงช่วยปราบนาซี เพราะในยุค 1940-44 ที่เยอรมันเข้ายึดครองฝรั่งเศส นั้นถนนโล่ง แต่โถฉี่สาธารณะนั้นแน่นขนัดด้วยทหารฝรั่งเศส เยอรมัน และอเมริกัน ที่เข้าไปแลกเปลี่ยนข่าวของข้าศึก ก่อนที่จะค่อย ๆ หายไปช่วงปี 1980 ที่มีกฏหมายจัดระเบียบสุขอนามัย จนปัจจุบันเหลืออยู่แห่งเดียวไว้เป็นที่ระลึก
  • Vespasiennes หายไปแต่การฉี่ในที่แจ้งไม่ได้หายไปไหน เพราะยังมีคนแหกกฏหมายห้ามฉี่ในที่สาธารณะอยู่เรื่อย ๆ จนรัฐบาลต้องหาทางจัดการกับฉี่โดยหลายที่ติดตั้ง Uritrottoir โถฉี่สาธารณะเวอร์ชั่นสมัยใหม่ที่แปลงให้ฉี่เป็นปุ๋ยให้ไปซะเลยถึงแม้จะโดนคำวิจารณ์ว่าการทำแบบนี้มันคือการส่งเสริมการฉี่ในที่สาธารณะและทำลายทัศนียภาพ แต่ยังไงดูแล้ว ท่าทางกลิ่นฉี่ก็คงต้องกลายเป็นเอกลักษณ์ของปารีสไปอีกนาน

Emily in Paris. Lily Collins as Emily in episode 202 of Emily in Paris. Cr. Carole Bethuel/Netflix © 2021

โจร

  • เหมือนเมืองใหญ่อื่น ๆ ในโลกอีกเช่นกัน ปารีสเป็นเมืองที่มีโจรชุกชุมโดยเฉพาะในย่านท่องเที่ยว ชวนให้หวั่นใจกับความปลอดภัย
  • เว็บไซต์ numbeo เผยข้อมูลสถิติว่า ปารีสมีปัญหาอาชญากรรมด้านทรัพย์สิน เช่นการทำลายทรัพย์สินและการโจรกรรม สูงถึง 64.97% และปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้นในช่วงสามปีที่ผ่านมากว่า 70.2%
  • ฉะนั้นการเดินหิ้วกระเป๋า แต่งตัวหรูเดินเฉิบ ๆ แบบเอมิลี่ในปารีสอาจจะเป็นเรื่องเกินจริงไม่น้อย สำหรับหลาย ๆ ย่านในปารีส

Emily in Paris. (L to R) Lily Collins as Emily, Daria Panchenko as Petra in episode 204 of Emily in Paris. Cr. Stéphanie Branchu/Netflix © 2021

ปารีสของจริงไม่เป็นดั่งฝันจนเกิดโรค Paris Syndrome

  • สำหรับหลายคนปารีสอาจจะเป็นเมืองในฝันที่อยากไปอีกหลาย ๆ ที แต่กับนักท่องเที่ยวบางกลุ่มอาจจะถึงกับเกิดอาการ culture shock หรือความตกใจกับวัฒนธรรมที่แตกต่างจนเป็นความป่วยใจ
  • บทความจาก BBC ระบุว่าศาสตราจารย์ ฮิโรอากิ โอตะ เรียกอาการป่วยที่เกิดจากความผิดหวังในเมืองปารีสว่าเป็น ‘Paris Syndrome’ พบครั้งแรกประมาณ 20-30 ปีก่อน และพบบ่อยในนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น บางรายเป็นหนัก ๆ ถึงขั้นต้องขึ้นเครื่องกลับบ้านพร้อมหมอหรือพยาบาลเพื่อให้คลายอาการช็อค

อีกอย่างที่ Emily in Paris นำเสนอคือภาพฝันดุจนิยายโรแมนซ์แฟนตาซีว่าชาวฝรั่งเศสนั้นมีชีวิตรักสุดร้อนแรงสมกับที่มีของดังอีกอย่างเป็นเฟรนช์คิส แต่พอมาดูชีวิตจริงก็ยังมีคนไม่น้อยที่คิดว่าชีวิตรักเขาไม่ได้ฮอตขนาดนั้น

EMILY IN PARIS (L to R) LILY COLLINS as EMILY in episode 101 of EMILY IN PARIS Cr. STEPHANIE BRANCHU/NETFLIX © 2020

  • จากสถิติหลายตัวที่วัดโดย Statista ในปี 2019 ที่บอกว่าจากกลุ่มตัวอย่าง 1,210 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป ผู้หญิง 78% และผู้ชายอีก 57% ระบุว่าพวกเขาประสบความลำบากที่จะถึงจุดสุดยอด
  • และผู้หญิง 59% กับผู้ชายอีก 42% เคยแกล้งทำเป็นถึงจุดสุดยอดอีกด้วย

แต่เรื่องที่ว่าสำหรับคนฝรั่งเศสนั้น การนอกใจเป็นเรื่องปรกติและไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์แตกสลายดูจะมีส่วนจริงอยู่เหมือนกัน

  • ในปี 2015 หนังสือ Modern Romance เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจจาก French Institute of Public Opinion ไว้ว่าผู้ชายฝรั่งเศส 55% และผู้หญิงอีก 32% ยอมรับว่าเคยนอกใจคนรักหรือคู่แต่งงาน
  • แต่ดูเหมือนว่าการนอกใจไม่ใช่จุดจบของความสัมพันธ์ เพราะยังมีคนอีก 63% ที่เชื่อว่าเขาจะยังรักคนที่นอกใจพวกเขาได้

สรุปแล้ว ภาพลักษณ์ความเซ็กซี่ของคนฝรั่งเศสที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยที่ประเทศยังมีราชสำนักก็อาจจะไม่ได้มากมายท่วมท้นเท่าที่ซีรีส์นำเสนอ

Emily in Paris. Lily Collins as Emily in episode 202 of Emily in Paris. Cr. Carole Bethuel/Netflix © 2021

คนฝรั่งเศสและความคิดเห็นต่อ Emily in Paris

Emily in Paris อาจจะเป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมาที่สุดเรื่องหนึ่งของ Netflix และได้เข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขาซีรีส์ตลกยอดเยี่ยม แต่ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นที่รักของนักวิจารณ์มากขนาดนั้น เพราะสื่อหลายสำนักก็วิจารณ์เรื่องความเชยของเรื่องและการที่เรื่องเต็มไปด้วยการเหมารวมคนฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อทั้งในซีซั่น 1 และ 2 โดยเฉพาะนักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศสที่บ่นกันยับ บทความของ The Guardian ได้รวบรวมคำพูดของนักวิจารณ์ไว้ หนึ่งในนั้นมี Charles Martin นักวิจารณ์จาก Premiere ที่ถึงกับพูดว่า ‘เอาตรง ๆ ตอนดู Emily in Paris มีหลายเรื่องมากที่ทำให้รู้สึกเหมือนโดนดูถูก’ เพราะสำหรับเขาชาวฝรั่งเศสในเรื่องถูกนำเสนอให้เป็นคน ‘ขี้เกียจที่ไม่เคยเข้าออฟฟิศก่อนช่วงสาย และเจ้าชู้เกินเยียวยาจนไม่รู้จักคอนเซปต์ของคำว่าซื่อสัตย์’ แถมในซีซั่น 2 ยังลามไปสู่การ stereotype คนอังกฤษอีกด้วย นักวิจารณ์จาก Irish Times ถึงกับกล่าวว่า Emily in Paris เป็นเรื่องแฟนตาซีพอ ๆ กับ Lord of the Rings แค่มี ‘ลิลลี่ คอลินส์’ ถือกระเป๋าชาแนลแทน ‘เอียน แม็คเคลเลน’ ใส่หมวกปลายแหลม

อย่างไรก็ตามนี่ไม่ได้ฉุดความนิยมของเรื่องไปสักเท่าไหร่ เพราะล่าสุดในเว็บ Flixpatrol Emily in Paris ยังคงครองอันดับหนึ่งซีรีส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้ แซงหน้า The Witcher และ The Silent Seaนี่อาจจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าสำหรับคนดูอีกมากมาย ความจริงของปารีสอาจจะไม่สำคัญเท่าการได้พักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดสิ้นปีกับซีรีส์สักเรื่องที่ดูแล้วยิ้มแบบไม่ต้องคิดเยอะก็ได้

อ้างอิง:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า