Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

เข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ที่ม็อบชาวนได้มาปักหลักบริเวณหน้ากระทรวงการคลัง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาหนี้สิน ก่อนจะกลายเป็นวงจรที่ทำให้ชาวนาหลายคนต้องเสียที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย แม้จะไม่ค่อยได้รับพื้นที่สื่อและการพูดถึงจากคนหมู่มาก แต่วันนี้ (7 ก.พ.) เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) ก็ยังคงปักหลักอยู่ที่หน้ากระทรวงการคลังเช่นเดิม เพื่อเรียกร้องกับรัฐบาล 3 ข้อ เกี่ยวกับมาตรการการบรรเทาหรือแก้ไข้ปัญหาภาระหนี้สินของชาวนา

โดยข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่ม คนท.นี้ได้แก่

  1. ขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ ชะลอการฟ้องบังคับคดี ยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด ทรัพย์สินของสมาชิก เร่งดำเนินการโอนหนี้สิน เข้าสู่กระบวนการการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) พร้อมกับขยายเพดานวงเงินการซื้อหนี้ NPA จาก 2.5 ล้านบาท ขยายเป็น 5 ล้านบาท เสนอเข้าสู่มติ ครม.
  2. ขอให้ลดหนี้ ปลดหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิก กฟก. กรณีที่ตาย พิการ ทุพพลภาพ ชราภาพ เจ็บป่วยเป็นโรค เหลือไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้บัญญัติไว้ช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิก กฟก.
  3. ขอให้ตรวจสอบปัญหาทุจริต คอรัปชั่น พร้อมกับปฏิรูปการบริหารงานของ กฟก. ขึ้นราคาพืชผลการเกษตรถูกลงทุกวัน แต่ราคาปุ๋ยกลับแพงขึ้น ประชาชนที่เดือดร้อนที่ทำเกษตรกรรมจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ช่วยเหลือและเยียวยา รวมถึงพักชำระหนี้

โดยสาเหตุของการเข้ามาปักหลักเรียกร้องกับรัฐบาลครั้งนี้ เกิดจากหนี้ของเกษตรกรที่สะสมมานานหลายปี ในช่วงของรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ราคาข้าวนั้นดี ทว่าภายหลังการเปลี่ยนรัฐบาลและการรัฐประหารทำให้ราคาข้าวตกต่ำสะสมกันมาเรื่อย ๆ สวนทางกับราคาปุ๋ยและอุปกรณ์ ประกอบกับต้องมีการกู้หนี้ยืมสินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ทำให้หนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ม็อบชาวนาจึงอยากให้รัฐบาลช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สิน ซึ่งไม่จำเป็นต้องแบ่งเบาทั้งหมด แต่เพียงครึ่งเดียวก็ได้

อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ราวปี 2546 แต่ประเด็นไม่ค่อยคืบหน้าเพราะการเปลี่ยนรัฐบาล และเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่มั่นคง มีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีบ่อยครั้ง ทำให้กระบวนการต่าง ๆ ไม่คืบหน้า

โดยความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ (7 ก.พ.) ชรินทร์ ดวงดารา ที่ปรึกษาเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย หรือ คนท. เปิดเผยในไลฟ์ของ workpointTODAY เมื่อเที่ยงนี้ว่า ข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ใช่ข้อเรียกร้องใหม่ โดยมันเป็นกฎหมายที่มีอยู่แล้วที่รัฐต้องปฏิบัติตาม ทั้งไม่ได้จะไปขูดรีดจากเจ้าหนี้ 4 ธนาคาร แต่เพียงแค่ทำข้อตกลงโอนหนี้มาไว้ที่กองทุนฟื้นฟูฯ แล้ว เพียงแค่มันยังไม่มีความคืบหน้ามติจากคณะรัฐมนตรี เนื่องจากธนาคารทั้ง 4 อยู่ภายใต้รัฐ และมูลหนี้ก้อนใหญ่ โดยสิ่งที่ต้องการคือต้องการให้ครม. ไฟเขียวโครงการนี้เสียที เพราะทุกอย่างตกลงพร้อมแล้ว

เมื่อถามถึงความคืบหน้า นายชรินทร์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าตนเชื่อว่านายกยังไม่รับรู้เรื่องนี้ด้วยซ้ำไป ฝ่ายที่รับผิดชอบทั้งกระทรวงเกษตร และกระทรวงพาณิชย์ ก็ไม่ค่อยติดตามเท่าไหร่ โดยตลอด 1 ปี เรื่องยังคงติดค้างที่กระทรวงการคลัง

ซึ่งการประชุมเมื่อวันที่ 3 ก.พ. กับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากคณะทำงานเห็นชอบในหลักการ เพียงแต่ต้องมีการปรับแก้ถ้อยคำสำนวนบางประการ ที่จะทำให้ครม.เข้าใจ เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมอีกครั้ง โดยหากไม่มีอะไรผิดพลาดคาดว่าน่าจะมีมติอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า และจะยังปักหลักเรียกร้องจนกว่าจะได้ข้อสรุป

กล่าวโดยคร่าว ๆ คือหนี้ทั้งหมดของเกษตรกรจะถูกโอนไปยังกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ใช่การล้างหนี้ ลักษณะเป็นการเปลี่ยนมือของเจ้าหนี้แทน เนื่องจากการเร่งรัดจะแตกต่างจากเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคาร 

ส่วนข้อกังวลนายชรินทร์ เกรงว่ารมว.และนายกรัฐมนตรีจะไม่เข้าใจการเรียกร้องดังกล่าว ส่วนเจ้าหนี้ทั้ง  4 ธนาคารเองก็รอมติไฟเขียวจากครม.เช่นเดียวกัน

ถ้าหากครม. มีมติเห็นชอบโครงการในครั้งนี้ จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มแรกที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน คือ เสี่ยงต้องการถูกยึดทรัพย์ บังคับคดีได้ จำนวนทั้งสิ้น 50,621 ราย โดยกองทุนฟื้นฟูฯ จะชำระหนี้แทนเกษตรกรในอัตรา 50% ของหนี้เงินต้น จำนวน 4,600 ล้านบาทโดยประมาณ รวมค่าใช้จ่ายดำเนินคดี ซึ่งงบประมาณดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เกษตรกรที่จะได้รับการชำระหนี้แทน ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตากหลักเกณฑ์ และชำระหนี้ต่อกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ครบถ้วน ซึ่งที่สุดแล้วการเรียกร้องครั้งนี้จะสามารถช่วยเหลือชาวนาได้ต่อเนื่องถึง 30,000 ราย 

ทั้งนี้ผู้ชุมนุมเรียกร้องส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยที่ประกอบอาชีพเกษตรกร และเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อเสนอข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อด้วยตัวเอง 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า