Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 17 ก.พ. ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเมืองและการเลือกตั้ง ม.รังสิต และอดีต กกต. กล่าวในงานเสวนา เรื่อง เงินกับพรรคการเมือง : อิสระ VS การตรวจสอบว่า คดีที่ กกต.ฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่จากกรณีกู้เงินนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค 191.2 ล้านบาท เกี่ยวข้องกับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง (พ.ร.ป.พรรคการเมือง)  3 มาตรา คือ มาตรา 62 รายได้ของพรรคการเมือง, มาตรา 66 บุคคลบริจาคให้พรรคการเมืองเกินสิบล้านบาทต่อปีไม่ได้, มาตรา 72 ห้ามรับบริจาคเงินที่มีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมาตรา 72 นี้เป็นมาตราที่ กกต.ฟ้อง และจะนำไปสู่การยุบพรรค
.
ซึ่งหากมาดูว่า “เงินกู้” เข้าหลักเกณฑ์ข้อใด เป็นเงินบริจาค, รายได้อื่น หรือ ประโยชน์อื่นใดหรือไม่
.
1-เงินกู้เป็นเงินบริจาคหรือไม่ พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ระบุว่า “บริจาค” หมายถึงการให้เงินหรือทรัพย์สินแก่พรรคการเมือง แต่เมื่อเงินกู้ ให้กู้แล้วไม่ถือเป็น “การให้” ดังนั้น “เงินกู้” ไม่ใช่เงินบริจาค แต่ กกต.เชื่อว่าใช่และฟ้องด้วยข้อหานี้

ภาพประกอบการบรรยายของ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

.
2-เงินกู้เป็นรายได้อื่นหรือไม่ เมื่อไปดู พ.ร.ป.พรรคการเมือง ปี 2550 มีระบุเรื่อง “รายได้อื่น” แต่ฉบับปี 2560 ไม่มี จึงมีบางกลุ่ม เช่น สมาชิกวุฒิสภาหลายคนมักจะยกมาอ้างว่า เมื่อไม่ได้ระบุไว้จึงกู้เงินไม่ได้ ดังนั้น เงินกู้คือรายได้ที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
.
แต่ตนตรวจสอบงบการเงินของพรรคการเมืองตามกฎหมายปี 2550 เช่น ของพรรคประชาราช พบว่าเรื่องเงินกู้ยืม ก็อยู่ในหมวดหนี้สิน ไม่ใช่ “รายได้” และตรวจสอบงบการเงินของพรรคการเมือง ตาม พ.ร.ป.ปี 2560 ก็พบ 16 พรรค ที่มีการกู้ยืมเงิน ก็บันทึกในรายการ “หนี้สิน” ไม่ได้บันทึกในรายการ “รายได้”
.
การที่ กกต.ให้ดำเนินคดีพรรคอนาคตใหม่ ในมาตรา 62 และ 72 แปลว่า กกต.อาจเชื่อว่า “เงินกู้” เป็น “รายได้” และเมื่อเป็น “รายได้” ที่ไม่มีการระบุในมาตรา 62 จึงถือเป็นความผิด

ภาพประกอบการบรรยายของ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

3-เงินกู้ คือ ประโยชน์อื่นใดหรือไม่ เมื่อไปดู พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 4 กฎหมายระบุ “ประโยชน์อื่นใด” หมายความรวมถึง การให้ใช้ทรัพย์สิน การให้บริการ หรือการให้ส่วนลดโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนที่ไม่เป็นไปตามปกติทางการค้า และการทําให้หนี้ที่พรรคการเมืองเป็นลูกหนี้ลดลงหรือระงับสิ้นไปด้วย
.
ถ้าดูจากในส่วนนี้ “การกู้” ไม่ได้ทำให้หนี้ลดลง ดังนั้น เงินกู้จึงไม่ใช่ “ประโยชน์อื่นใด” แต่ กกต.ก็มีมติ ให้ดำเนินคดี ตามมาตรา 72 ซึ่งมีโทษถึงยุบพรรค

 

ภาพประกอบการบรรยายของ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

 

ภาพประกอบการบรรยายของ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

.
นายสมชัย ยังตั้งข้อสังเกตถึงกระบวนการสืบสวนไต่สวนของ กกต.ด้วยว่า ได้ดำเนินการตามที่มีผู้ร้อง มาตรา 66 เรื่องการรับบริจาคเงินเกิน 10 ล้านบาท แต่สุดท้ายมีการเพิ่มเข้าไปอีก 2 ข้อหา ในช่วงเพียง 14 วัน ก่อนมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ คือ มาตรา 62 และ มาตรา 72 ซึ่งเป็นส่วนที่พรรคอนาคตใหม่ระบุว่าไม่แจ้งข้อกล่าวหา ไม่เปิดให้ต่อสู้คดี

อดีต กกต.กล่าวว่า  “เงินกู้” เป็นหนี้สิน ไม่ใช่รายได้ ไม่ใช่เงินบริจาค ไม่ใช่ประโยชน์อื่นใด และยังเป็นรายการที่พรรคการเมืองจำนวนมาก ต้องใช้เป็นแหล่งของเงินทุนในการหาเสียงเลือกตั้ง ตราบใดที่เขาไม่สามารถระดมทุนด้วยวิธีการอื่นใด ให้ทันกับสถานการณ์การเลือกตั้ง ซึ่งขณะนั้น คสช. กั๊กไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง เพิ่งจะมาผ่อนคลายให้ทำได้ วันที่ 11 ธ.ค. ไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้ง

.
“ตราบใดที่พรรคไม่สามารถระดมทุนขายโต๊ะจีนโต๊ะละ 3 ล้านโดยมีชื่อผู้จองโต๊ะคล้ายชื่อหน่วยราชการ การกู้เงินยังเป็นเรื่องที่คู่กับพรรคการเมืองไทยตลอดไป”
.
เขาตั้งข้อสังเกตด้วยว่า มีแค่ 2 พรรคการเมืองเท่านั้นที่จัดระดมทุนด้วยโต๊ะจีนได้ทัน เพราะรู้ก่อนหรือไม่ว่าการเลือกตั้งจะมีขึ้นเมื่อใดเลยเตรียมการได้ทัน

ในช่วงถามตอบ นายสมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนตัวตนคิดว่าเรื่องเนื้อหาของคดีนี้ ไม่น่าจะเป็นเหตุยุบพรรคได้ แต่เราไปพูดชี้นำศาลไม่ได้ ซึ่งสติปัญญาของเราอาจจะคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงต้องรอดูคำวินิจฉัย แต่ก็เป็นบทเรียนของอนาคตใหม่ ไม่ว่าจะตัดสินอย่างไร หากไม่ผิดการจะเดินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปต้องเดินรอบคอบทุกเรื่อง อย่าเปิดช่องว่างให้มีการร้องเรียน แต่ถ้าตัดสินว่ายุบ พรรคต้องหาทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ในการดำเนินการต่อไป เช่น มีพรรคสำรอง ย้ายไปอยู่พรรคอื่น และเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่อาจต้องเตรียมคนสำรองเอาไว้

“ถ้าเตรียมปิยบุตรไว้พูดแล้ว ต้องเตรียมเบอร์ 2 สำรองที่จะพูดแทนปิยบุตรด้วย หมายความว่าถ้าปิยบุตรไม่อยู่ ก็คงต้องเตรียมใครไว้อภิปรายแทน”

เขายังฝากข้อคิดทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า พรรคที่พยายามทำเรื่องที่อยู่บนดิน เล่นตามกติกา หากพลาดควรจะถูกเหยียบให้จมดิน จะเท่ากับเป็นการส่วเสริมพรรคให้ลงไปทำใต้ดินแบบผิดกฎหมายหรือไม่

“เรากำลังจะจับเอาสิ่งที่อยู่บนดินมาพูดกัน ตราบใดก็ตามถ้าสิ่งที่อยู่บนดินผิดเมื่อไร เราไม่มีความปราณีต่อกัน แต่เราไม่เคยสนใจสิ่งที่อยู่ใต้ดิน สิ่งที่อยู่ข้างล่าง ถ้าคุณบอกมา คุณสารภาพมา แล้วมันพลาดมันผิด เอาตาย แต่ถ้าคุณปากแข็ง ไม่พูดอะไรทั้งสิ้น ทำโน่นนี่สารพัดแต่ไม่ได้พูดออกมาให้ปรากฏ คุณปลอดภัย”

“เรากำลังส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นอย่างนี้ใช่ไหม เรากำลังส่งเสริมให้พรรคการเมืองไทยเป็นแบบนี้ใช่ไหม พรรคที่ทั้งกู้ ทั้งยืม รับเงินจากแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายสารพัดแต่เขาไม่เปิดเผยออกมา เขายังอยู่ได้ แต่พรรคที่เล่นตามกติกา แล้วพลาด เหยียบให้จมดิน สิ่งนี้คือสิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยหรือไม่”

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า