Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ พร้อมด้วย นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับรายการ workpointTODAY ถึงประเด็น ฝ่าวิกฤตไฟไหม้ โรงงานกิ่งแก้วระเบิด

          โดยนายอรรถพล ซึ่งมีโอกาสได้ลงพื้นที่เกิดเหตุ กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า เจ้าที่กู้ภัยและมูลนิธิอาสาสมัครต่างๆ พยายามควบคุมเพลิงตั้งแต่เกิดเหตุ แต่เนื่องจากการระเบิดค่อนข้างรุนแรง ทำให้ยังไม่สามารถเข้าควบคุมเพลิงไหม้บริเวณถังเก็บสารเคมี ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงได้ ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่พยายามเข้าไปควบคุมจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

อย่างไรก็ตาม ได้ทำการประสานงานไปอย่างหน่วยงานต่างๆ อย่างกทม. เพื่อขออุปกรณ์เพิ่มเติมแล้ว โดยเฉพาะน้ำยาโฟมที่ใช้ในการดับไฟจากสารเคมี แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปได้ แต่ก็พยายามควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามและสร้างความเสียหายไปมากกว่านี้

ขณะนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้จัดพื้นที่สำหรับประชาชนที่จำเป็นต้องอพยพออกจากบริเวณเสี่ยงที่ควันจากสารเคมีในโรงงานเข้าปกคลุม และสำหรับกรมควบคุมมลพิษก็มีการนำรถตรวจอากาศไปจอดในบริเวณใกล้เคียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศและสารเจือปนที่เป็นอันตราย

นายอรรถพลกล่าวอีกว่า ประเด็นสำคัญคือไทยควรจะมีมาตรการดูแลควบคุมสารเคมีเหล่านี้ หากมีและยึดหลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย คงจะไม่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้น

TNP_050721 ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว

เมื่อถามถึงประเด็นผังเมืองที่มีหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้โรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรมเขตสีม่วง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเผยว่า “ใครจะมาก่อนมาหลัง ตั้งก่อนตั้งหลังก็แล้วแต่ อย่างไรก็แล้วแต่ ก็ต้องเข้าใจหลักของความปลอดภัย” ทั้งส่วนของประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงและส่วนของผู้ประกอบกิจการโรงงาน

สำหรับความกังวลว่า หากฝนตก จะยิ่งชะล้างสารเคมีลงน้ำหรือไม่ นายอรรถพลกล่าวว่า “มองได้สองแง่ ถ้าฝนตก ไฟดับ มลพิษทางอากาศก็คงจะไม่มี ควันก็จะไม่มี ที่เหลือก็ค่อยๆ ฟุ้งกระจายออกไป ส่วนหนึ่งก็ได้รับการดูดซับจากน้ำฝน แต่ก็อย่างที่บอกครับ น้ำฝนที่ลงมาก็จะเป็นน้ำฝนที่อันตราย ก็จะลงมาสู่ระบบท่อน้ำทิ้ง เพราะฉะนั้น ในระบบท่อน้ำทิ้งก็คงจะต้องมีการจัดการให้ดี น้ำฝนที่จะต้องไปตกค้างอยู่ในดิน ตามบ้านเรือนต่างๆ ก็คงจะต้องมีการพูดคุย ประชาสัมพันธ์ให้มีการล้างหรือกำจัด” อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้ ตนอยากให้ควบคุมไฟได้เองก่อนที่ฝนจะตก เพราะจะเป็นการจัดการที่ดีและง่ายกว่าการที่จะต้องไปแก้ปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำซ้อนไปอีก

ในส่วนของผลกระทบ นายอรรถพลมองว่า หากสูดดมควันเป็นจำนวนมาก ในระยะสั้นอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ แต่หากสะสมในร่างกายมากอาจมีผลก่อมะเร็ง แนะว่าไม่ควรสูดดมหรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนมาตรการระยะยาว อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเผยว่า จริงๆ ก็มีกฎหมายกำหนดไว้ “ถ้าเรามีมาตรการที่เข้มแข็ง เจ้าหน้าที่เอาจริงเอาจัง เอาใจใส่ ผู้ประกอบการเองก็ให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัย ไม่บกพร่อง ไม่สะเพร่า และปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ให้มีช่องโหว่หรือจุดอ่อนในการที่จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างนี้ได้ ผมว่าเรื่องนี้ก็คงไม่เกิด” ก่อนชี้ว่าต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ ไม่ควรละเลย และคงจะมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบ

ด้านนายสนธิ เผยถึงผลกระทบในระยะใกล้และระยะไกลว่า เดิมที มีการประเมินระยะผลกระทบไว้ที่ 5 กิโลเมตร แต่ภายหลังมีการเปลี่ยนทิศทางลม จึงขยายเป็น 10 กิโลเมตร และหากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในอดีต ไทยก็เคยประสบเหตุการณ์คล้ายๆ กันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งคือเหตุท่อแก๊สระเบิดละแวกลาดกระบัง หรือเหตุโรงงานระเบิดแถวมาบตาพุด

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลในกรณีคือ “สารสไตรีนโมโนเมอร์” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง, “ก๊าซคอร์บอนมอนอกไซด์” ที่เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งจะไปจับกับเม็ดเลือดแดงแทนฮีโมโกลบินและกดประสาทสมองส่วนกลาง ทำให้เป็นโรคทางสมองและเลือดได้, และฝุ่นละอองจำพวก PM 10 และ PM 2.5 จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์

นายสนธิ คาดว่า ระยะ 10 กิโลเมตรจะเป็นรัศมีที่ไกลที่สุดที่จะมีผู้ได้รับผลกระทบ แต่แม้จะเจือจางมาก ประชาชนก็สูดดมเข้าไปตลอดทั้งวัน ส่วนผู้ที่อาศัยในรัศมี 5 กิโลเมตรจะได้รับผลกระทบทันทีและอาจแสดงอาการเลย ควรไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ก่อนแนะว่าควรอพยพออกจากพื้นที่เพื่อลดความเสี่ยง

ในส่วนของผลกระทบจากมลพิษทางดินและอากาศ นายสนธิเผยว่า อันดับแรก น้ำเสียจากการดับเพลิง สุดท้ายก็จะไหลลงสู่แหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง ดังนั้น ในระยะ 1 เดือนนับจากนี้ ไม่ควรจับปลาจากบริเวณดังกล่าวเพื่อมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ สารเคมีดังกล่าวยังทำลายต้นไม้ในบริเวณโดยรอบ ส่งผลให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง และหากฝนตก ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบหนักกว่าเดิม

เมื่อถามถึงขั้นตอนการฟื้นฟู นายสนธิกล่าวว่า “เรื่องการฟื้นฟูเป็นเรื่องของราชการที่ต้องเข้าไปดูแล บ้านพัง คนบาดเจ็บ สิ่งแวดล้อม ต้องไปดูแลเรื่องต้นไม้ ไปดูแลเรื่องน้ำ มีการไปตรวจวัด ไปมอนิเตอร์ แล้วก็ไปคลีนอัพ จริงๆ ช่วงที่รดน้ำควรจะกลั้นไม่ให้ลงคลอง แต่ผมว่าไม่ได้ทำเพราะว่าเนื่องจากเหตุเกิดตั้งแต่ตีสาม เพราะฉะนั้นก็คงจะต้องได้รับผลกระทบ ต้องเอาน้ำดีไปไล่น้ำเสีย” ก่อนเสริมว่า หลังจากนี้ต้องเรียกค่าเสียหายจากโรงงานซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษจึงต้องจ่ายค่าชดเชยทั้งหมด

สำหรับประชาชนที่ยังไม่ได้อพยพออกจากพื้นที่ นายสนธิแนะว่า หากได้กลิ่นและสังเกตุเห็นควันบริเวณที่พักอาศัย ควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. ปิดหน้าต่างและประตู
  2. ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศเพราะจะดูดอากาศเข้าไปภายใน
  3. นำผ้าชุบน้ำและใส่หน้ากากอนามัย
  4. หากเข้าตา ควรล้างสัก 2-3 นาทีและใส่แว่นตา

อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้ก็ควรจะอพยพออกจากพื้นที่มาก่อน

TNP_050721 ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว

เมื่อถามถึงความบกพร่องของมาตรการไทยที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดเหตุระเบิดโรงงานได้บ่อยครั้ง นายสนธิกล่าวว่า โรงงานหมิงตี้เคมีคอลตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ก่อนจะมีผังเมืองในปี พ.ศ. 2544 ทำให้จากพื้นที่อุตสาหกรรมสีม่วงกลายเป็นพื้นที่สีแดง ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยและกิจการการค้า ทำให้ “ไม่มีบัฟเฟอร์โซนกั้นระหว่างโรงงานกับชุมชน” เมื่อเกิดปัญหาจึงเกิดผลกระทบ “ประเด็นคือโรงงานจะต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ESA) ให้กรมโรงงานทุกปี…ต้องเอาคนมาตรวจวัดสิ่งแวดล้อมและดูแลเรื่องความปลอดภัยส่งให้กรมโรงงานทุกปี ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมจังหวัดหรือกรมโรงงานจะต้องส่งคนมาตรวจทุกปีเหมือนกัน คำถามคือปีนี้เกิดอะไรขึ้น ปีนี้ผมว่าเจ้าหน้าที่เขาไม่กล้ามาเพราะมันมีโควิดมาตั้งแต่ต้นปี ขณะเดียวกันโรงงานก็อาจจะลดต้นทุนเพราะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ก็จะเกิดความผิดพลาดในการป้องกันอุบัติเหตุ”

นายสนธิกล่าวทิ้งท้ายว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นบทเรียนที่ภาครัฐจะต้องพิจารณาในอนาคตว่า การที่มีโรงงานตั้งอยู่โดยมีชุมชนล้อมรอบ ทางหน่วยราชการควรจะต้องลงพื้นที่สำรวจว่ามีโรงงานกี่แห่ง มีความเสี่ยงหรือวัตถุอันตรายมากเพียงใด การย้ายเข้า-ออก การวางผังเมืองที่จะต้องมีบัฟเฟอร์โซน เป็นพื้นที่สีเขียว เช่น ท้องนา ต้องวางผังเมืองไม่ให้ชุมชนอยู่ติดกับโรงงานโดยเด็ดขาด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า