SHARE

คัดลอกแล้ว

แม่ค้าหน้าใหม่บุคลิกห้าวๆ ปั่นจักรยานเก่าๆ ที่ออกแบบต่อเติมเอง เร่ขายไส้กรอกอีสานทุกๆ เย็น จนเกือบเที่ยงคืนในพื้นที่ริมชายหาดชะอำ จ.เพชรบุรี ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้ ใครจะคิดว่าเบื้องหลังแผงไส้กรอกอีสานที่แขวนอยู่เรียงราย เธอคนนี้จะเป็น ‘อดีตนักไตรกีฬาแชมป์ประเทศไทย’ ที่มากความสามารถ

เธอคือ ครูอ๊อฟ ธีรดา แก้วมณี อายุ 34 ปี อาชีพหลักเป็นครูอัตราจ้าง สอนวิชาพละ ให้เด็กนักเรียนชั้นประถม รร.เทศบาล 1 บ้านชะอำ จ.เพชรบุรี แต่รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย เธอจึงรับสอนพิเศษสุขศึกษา พละศึกษา เฉลี่ยเดือนละ 20,000 – 30,000 บาท และเปิดคอร์สสอนพิเศษว่ายน้ำให้เด็ก โดยในสถานการณ์ปกติช่วงปิดภาคเรียนซัมเมอร์ จะเป็นช่วงทำเงินให้ครูอ๊อฟ เพราะมีเด็กมาเรียนว่ายน้ำจำนวนมาก เคยมีเด็กมาเรียนมากสุด 20 คน คนละ 4,000 – 5,000 บาท

“ถ้ารวมเงินเดือนกับค่าสอนพิเศษ จะมีรายได้ประมาณ 30,000 – 40,000 บาทต่อเดือน ตอนนี้เงินมันหายไปเลยนะคะ เงินที่ได้มาใช้หนี้รายวันที่กู้มาลงทุน ขายได้ก็ใช้หนี้เก่า” ครูอ๊อฟ เล่าในรายการปัญญาปันสุข

แต่ในช่วงซัมเมอร์ปีนี้กลับไม่เป็นดังหวัง ทุกอย่างต้องมาสะดุดเพราะพิษโควิด เธอขาดรายได้จำนวนมาก ลำพังเงินเดือนครูก็ไม่พอใช้หนี้ แค่เฉพาะดอกเบี้ย 40,000 – 50,000 บาทต่อเดือน จากหนี้ที่ต้องแบกไว้เกือบล้านบาท ที่เคยกู้ยืมเงินนอกระบบมารักษาแม่ รักษาตัวเอง สร้างบ้าน และกองทุน กยศ. ซึ่งเป็นภาระที่ครูอ๊อฟที่ดิ้นรนหาเงินมาปลดหนี้

เมื่อทุกอย่างสะดุด แต่ดอกเบี้ยไม่เคยหยุด ครูอ๊อฟ รายได้น้อยไม่พอใช้ ครูอ๊อฟ บอกว่า “ร้องไห้จนเคยคิดจะฆ่าตัวตาย” จำเป็นต้องขายคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก ที่ใช้ทำสื่อการสอนนำเงินมาใช้จ่าย แต่ด้วยสัญชาตญาณนักสู้ จึงตัดสินใจกู้ยืมเงินอีกก้อน มาลงทุนรับไส้กรอกอีสานจากแม่ค้าขายส่งมาย่างขาย เพราะชอบกินไส้กรอกอีสาน จึงมองว่าน่าจะเป็นช่องทางสร้างเงินได้

ครูอ๊อฟ ปั่นจักยานขายไส้กรอกอีสาน สู้ชีวิตหารายได้ใช้หนี้ช่วงโควิด

ด้วยเหตุผลไม่อยากทำร้านใหญ่เกินตัว เขาจึงออกแบบรถจักรยานเอง ไปซื้อต่อจักรยานมือสองเก่า ๆ จากร้านของเก่า และหาเศษเหล็ก เศษไม้มาประกอบเป็นร้าน วาดแบบเองดัดแปลงเอง ตั้งใจปั่นจักรยานเร่ขายรอบๆ หมู่บ้าน และเส้นทางริมชายหาดชะอำ รายได้วันละ 2,000 บาท ส่งหนี้รายวัน 1,200 บาท เหลือไม่กี่ร้อย ก็ต้องเก็บเป็นทุนต่อวันถัดไป

“ชอบกินไส้กรอกอีสานโดยเริ่มต้น กำไรวันละ 700 -800 บาท ปั่นจักรยานขายไส้กรอกตามหน้าเซเว่น หน้าหมู่บ้าน ริมชายหาดชะอำ ลูกค้าหลักคือผู้ปกครองนักเรียน ก็ไม่อายอะไร ถือเป็นอาชีพสุจริต ก็ทำเท่าที่ทำได้”

“ชีวิตอยู่แบบวันต่อวัน ขายไส้กรอกเลี้ยงชีพ ขายตั้งแต่ช่วงเย็นถึงเที่ยงคืน เริ่มวันแรก 2 กก. จนขายมากสุด 15 กก.”

จากนั้นเธอได้เพิ่มช่องทางการขาย มาขายออนไลน์ ฝากร้านในกรุ๊ป “KU จะฝากร้าน” มีคนไลน์มาช่วยซื้อบ้าง ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุด 100 กก.ต่อวัน

ครูอ๊อฟ แถวบน คนที่ 2 นับจากฝั่งซ้าย

ชีวิตที่สู้มาคนเดียวตลอด อีกฉากหนึ่งของชีวิตแม่ค้าไส้กรอกอีสานคนนี้ เธอเคยได้รางวัลประเภทไตรกีฬามานับไม่ถ้วน เส้นทางสายกีฬาของครูอ๊อฟ เริ่มตั้งแต่วัยประถม แข่งไตรกีฬาหาเงินส่งตัวเองเรียน เพราะครอบครัวฐานะยากจน มีครูฝีมือดี 3 คน เป็นตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร ชวนให้รู้จักไตรกีฬา นั่นคือ ครูเทา (สอนลูกหลานว่ายน้ำในบ่อน้ำที่ค่าย ครูอ๊อฟไปเห็นเลยขอเรียนด้วย มีแววดี เลยสอนต่อ) และครูวารี (นักว่ายน้ำเฟสปิกเกมส์ พิการขาขาด 1 ข้าง จากเหตุระเบิดที่สงขลา) ช่วยปั้นครูอ๊อฟต่อจากครูเทา และอีกคนคือ ครูพลาม พรมจำปา (นักวิ่งระยะไกล เคยวิ่งเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ จากแม่สาย-เบตง เมื่อปี 2548) ช่วยสอนเริ่งวิ่งทางไกลต่อจากครูวารี

จากนั้นครูอ๊อฟ กลายเป็นนักกีฬาของศูนย์ตำรวจพลร่ม ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ จากสมาคมไตรกีฬาฯ เป็นนักล่ารางวัล ลงแข่งไตรกีฬาหาเงินเลี้ยงตัวเองมาตั้งแต่ 10 ขวบ ด้วยความสามารถที่โดดเด่น ช่วงมัธยมต้นจึงมีครูในโรงเรียนช่วยอุปการะ

ชีวิตครูอ๊อฟ ก้าวสู่จุดสูงสุดในช่วงมัธยมปลาย ได้เป็นแชมป์ไตรกีฬาประเทศไทย ปี 2545 ประเภทบุคคลทั่วไป และได้รางวัลประเภทไตรกีฬาสนามต่างๆ มาอีกนับไม่ถ้วน

แต่ก็ชื่นชมความสำเร็จได้ไม่นาน ปีถัดมาเมื่อพ่อเสียชีวิต เธอไม่ได้แข่งไตรกีฬาอีกเลย ชีวิตกลับหักเห ต้องไปทำงานแคดดี้สนามกอล์ฟเพื่อหาเงินเลี้ยงแม่ และด้วยทักษะความสามารถทางด้านกีฬา เธอได้โควตานักกีฬาเข้าเรียนครูพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทุนเรียนจากรัฐบาล จากการส่งเรียงความไปประกวด พอเปลี่ยนรัฐบาลทำให้โครงการจบไป ปี 2 ต้องกู้เรียน กยศ. จนเป็นหนี้กว่า 300,000 บาท เมื่อเรียนจบได้เป็นครู จึงไปเป็นครู ตชด.แม่สาย ก่อนย้ายกลับมาเป็นครูที่บ้านเกิด อ.ชะอำ เพราะอยากแบ่งเบาภาระแม่ที่กำลังป่วย แต่ต้องทำงานหนัก

ชีวิตครูอ๊อฟและแม่ หลังได้รับรางวัลรถจักรยานยนต์และแผงขายไส้กรอกอีสาน จากการเล่นเกมในรายการปัญญาปันสุข

แม้ว่าเส้นทางอาชีพครูพละจะไม่ได้ราบรื่นนัก ด้วยหนี้สินที่ต้องใช้คืน เงินจากรายได้เสริมที่ผ่านมาเข้ามา จึงอยู่ไม่นาน ทางออกที่ครูอ๊อฟ ย้ำเสมอคือ “ต้องสู้ ชีวิตไม่มีอะไรยากไปกว่านี้ ชีวิตไม่ได้ยากเสมอ” ที่สำคัญ ไม่ว่าชีวิตจะยากแค่ไหนเธอไม่เคยคิดทิ้งอาชีพครู แม้ว่าจะรายได้จะน้อย เพราะเคยมี ‘ครู’ ที่ให้โอกาสเธอ จึงมาถึงจุดนี้ได้ ครูอ๊อฟจึงอยากใช้อาชีพนี้ช่วยเหลือเด็กที่ยังเข้าไม่ถึงโอกาสอีกจำนวนมาก

“หนูยังรักในอาชีพครู ถึงแม้จะเป็นแค่ครูอัตราจ้าง ก็ยังรักในอาชีพ”

แม้หน้าร้านจะเปลี่ยนไป ชีวิตเริ่มมีรอยยิ้มมากขึ้น สิ่งที่ยังเหมือนเดิมคือใจที่ยังสู้ พร้อมกับป้าย “ต้องสู้” ที่ครูอ๊อฟเคยเขียนไว้ติดรถจักรยานคันเก่า เพื่อให้กำลังใจตัวเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า