Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แบงก์ชาติทั่วโลกยังไม่หยุดซื้อทองคำเป็นทุนสำรอง ไตรมาสแรกปีนี้เข้าซื้อแล้วกว่า 228 ตัน จากเหตุผลด้านการเงินและความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์

‘เชาไก ฟ่าน’ (Shaokai Fan) หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) และหัวหน้าฝ่ายธนาคารกลางระดับโลกของสภาทองคำโลก (World Gold Council) ระบุว่า

ความต้องการซื้อทองคำในไตรมาส 1 ปี 2566 ยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง แม้ว่าทองรูปพรรณ ทองเครื่องประดับ และทองเพื่อเทคโนโลยี จะมีความต้องการน้อยลงก็ตาม

แต่ที่น่าสนใจ คือ ธนาคารกลางยังคงเข้าซื้อทองคำเพื่อเป็นเงินทุนสำรองอย่างต่อเนื่อง และมียอดซื้อสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ 228 ตัน เพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) สอดคล้องกับปี 2565 ที่ธนาคารกลางเข้าซื้อทองคำสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 1,078 ตัน

ทั้งนี้ สภาทองคำโลกคาดว่าแบงก์ชาติจะยังสำรองทองคำสูงต่อเนื่องในปีนี้ และการเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลาง จะเป็นแรงซื้อสำคัญของตลาดทองคำในปีนี้

สำหรับธนาคารกลางที่ซื้อสูงสุดในรอบนี้ คือ ธนาคารกลางสิงคโปร์ (0 The Monetary Authority of Singapore: MAS) ที่ 60 ตัน และธนาคารกลางจีน (The People’s Bank of China: PBoC) ที่ 58 ตัน

สาเหตุที่ธนาคารกลางต่างๆ ยังคงสำรองทอง คาดว่าเป็นเหตุผลทางด้านการเงิน รวมถึงความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์

เมื่อสอบถามถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศ ว่าการเลือกตั้งจะมีผลต่อการตัดสินใจสำรองทองคำของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือไม่นั้น สภาทองคำโลกมองว่า

ธนาคารแห่งประเทศไทยถือเป็นองค์กรที่เป็นอิสระและมีความสามารถเฉพาะตัว คาดว่าสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุด โดยไม่มีความเชื่อมโยงว่าใครเป็นรัฐบาลของประเทศไทย

สำหรับรายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก เผยแม้ความต้องการทองคำทั่วโลก (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

การฟื้นตัวของการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ทำให้ดีมานด์ทองคำโดยรวมเพิ่มเป็น 1,174 ตัน กล่าวคือ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2565

ในประเทศไทย ความต้องการทองคำของผู้บริโภคประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 3.9 ตัน จาก 3.8 ตันในไตรมาสที่ 1 ปี 2565

เนื่องจากความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น 15% มาอยู่ที่ 1.9 ตัน จาก 1.6 ตัน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 แม้ว่าความต้องการอัญมณีในประเทศจะลดลง 6% ไปอยู่ที่ 2.1 ตัน จาก 2.2 ตันในไตรมาสที่ 1/2565 ก็ตาม

ทั้งนี้ ราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้นและแรงกดดันจากค่าครองชีพเป็นตัวฉุดให้ดีมานด์อัญมณีของไทยลดลง 6% ในไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยราคาทองคำที่สูงขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจขายเครื่องประดับทองคำที่มีอยู่

ภาพรวมของทองคำในไตรมาสที่ 1 ชี้ให้เห็นถึงความต้องการทองคำจากแหล่งผู้ซื้อที่หลากหลายทั่วโลก ส่งผลให้ราคาทองคำในไตรมาสนี้ขึ้นสูงถึง 1,890 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งนับว่าเกือบสูงสุดเป็นประวัติการณ์

นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังหนุนดีมานด์ด้วยการเพิ่มทองคำ 228 ตัน ในทุนสำรองทั่วโลก ถือเป็นสถิติสูงสุดของไตรมาสที่ 1 ในช่วงเวลานี้

การซื้อทองคำจำนวนมากอย่างต่อเนื่องของภาครัฐเน้นย้ำถึงบทบาททองคำในพอร์ตทุนสำรอง ระหว่างประเทศในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนและกำลังเผชิญกับความเสี่ยงสูง

ในทางตรงกันข้าม อัญมณีค่อนข้างทรงตัวในไตรมาสแรก โดยอยู่ที่ 478 ตัน ด้วยความต้องการของจีนฟื้นคืนสู่ระดับเดิม โดยแตะ 198 ตัน ในไตรมาสแรก จากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เติบโตและมีอิสระมากขึ้นนับตั้งแต่มีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์

ทั้งนี้ ช่วยชดเชยความต้องการในอินเดียที่การซื้อทองคำลดลง 17% ไปอยู่ที่ 78 ตัน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ราคาทองคำในประเทศที่พุ่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการซื้อ

สำหรับดีมานด์การลงทุนมีความขึ้นลงในช่วงไตรมาสแรก การไหลเข้าของเงินทุนรอบใหม่ในกองทุน ETF ที่หนุนโดยทองคำในเดือน มี.ค. ซึ่งได้รับแรงขับหลักจากความเสี่ยงในลักษณะลูกโซ่ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

สวนทางกับการไหลออกของเงินทุนในเดือน ม.ค.และ ก.พ.บางส่วน และช่วยให้การไหลออกของกองทุนรายไตรมาสลดลงเหลือ 29 ตัน

ในทางกลับกัน การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำแข็งแกร่งขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไปอยู่ที่ 302 ตัน แม้ว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในตลาดสำคัญๆ

ดีมานด์ทองคำแท่งและเหรียญทองคำในสหรัฐแตะ 32 ตัน ในช่วงไตรมาสที่ 1 ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดรายไตรมาสเทียบกับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา และมีสาเหตุสำคัญมาจากความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการแสวงหาความปลอดภัยท่ามกลางความผันผวนของธุรกิจธนาคาร

ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวช่วยพยุงดีมานด์ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศเยอรมนีที่ดีมานด์ลดลง 73% อันเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่สูงขึ้น และราคาทองคำยูโรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเทขายเพื่อทำกำไร

ในด้านอุปทานพบว่า ภาพรวมในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 1,174 ตัน ทั้งมีการผลิตเหมืองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1% และการรีไซเคิลเพิ่มขึ้น 5% เพราะมาจากปัจจัยราคาทองคำที่สูงขึ้น

‘หลุยส์ สตรีท’ (Louise Street) นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสประจำสภาทองคำโลก ให้ความเห็นว่า ภาพรวมของไตรมาสที่ 1 ชี้ให้เห็นว่าความต้องการทองคำจากแหล่งที่หลากหลายจะช่วยหนุนบทบาทและการทำกำไรของทองคำในฐานะสินทรัพย์ระดับโลกได้อย่างไร

ดีมานด์ที่โตขึ้นในบางภูมิภาคชดเชยจุดอ่อนในภูมิภาคอื่นๆ ที่ไม่เติบโต เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันและปัจจัยที่ขับเคลื่อนดีมานด์มีบทบาทในตลาดทองคำทั่วโลกสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือนักลงทุนประเภทต่างๆ มองว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่เก็บรักษามูลค่าได้ในช่วงที่ไม่มีความแน่นอน

ท่ามกลางความผันผวนของภาคส่วนธนาคาร ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีความท้าทาย ทำให้บทบาทของทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยได้อย่างชัดเจน

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ความต้องการลงทุนจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะเมื่อแรงต้านเศรษฐกิจลดลงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งตัวและการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

ความต้องการในกองทุนทองคำ ETF จะยังคงเป็นไปในเชิงบวกในไตรมาสที่ 2 และผลจากภาวะถดถอยของตลาดที่พัฒนาแล้วอาจเป็นตัวกระตุ้นให้มีเงินทุนไหลเข้าเร็วขึ้นในช่วงปลายปีนี้

การซื้อทองคำของธนาคารกลางยังคงมีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งและเป็นตัวหนุนที่สำคัญของอุปทานตลอดปี 2566 แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่เคยขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อปีที่ผ่านมา

‘แม้เศรษฐกิจในหลายประเทศมีความไม่มั่นคงและเกือบเข้าสู่ภาวะถดถอย ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ทางกลยุทธ์ในระยะยาวที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีประวัติในการสร้างผลตอบแทนที่ดีแม้ในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยถึง 5 ครั้ง จากทั้งหมด 7 ครั้ง’

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า