Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Mercer บริษัทให้คำปรึกษาด้าน HR และการบริหารสินทรัพย์จากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงาน Mercer CFA Institute Global Pension Index (MCGPI) ประจำปี ครั้งที่ 14 ซึ่งทำการจัดอันดับระบบบำนาญของประเทศต่างๆ 44 ประเทศทั่วโลก

โดยพบว่าประเทศไทยอยู่รั้งท้ายการจัดอันดับของปีนี้ ด้วยคะแนนรวม 41.7 ภาพรวมอยู่ในระดับ D (สูงสุดคือ A)

Mercer บอกว่า MCGPI เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับระบบบำเหน็จบำนาญ 44 ประเทศทั่วโลก ซึ่งคิดเป็น 65% ของประชากรโลก โดยจะเปรียบเทียบระบบรายได้หลังเกษียณ เน้นถึงข้อบกพร่องบางประการในแต่ละระบบ และแนะนำการปรับปรุงที่เป็นไปได้ เพื่อให้มีสวัสดิการการเกษียณอายุที่เพียงพอและยั่งยืนมากขึ้น

สำหรับ 10 อันดับประเทศที่มีระบบบำเหน็จบำนาญดีที่สุดในโลกปีนี้ ได้แก่

1.ไอซ์แลนด์ (คะแนน 84.7) ภาพรวมระดับ A

2.เนเธอร์แลนด์ (คะแนน 84.6) ภาพรวมระดับ A

3.เดนมาร์ก (คะแนน 82.0) ภาพรวมระดับ A

4.อิสราเอล (คะแนน 79.8) ภาพรวมระดับ B+

5.ฟินแลนด์ (คะแนน 77.2) ภาพรวมระดับ B+

6.ออสเตรเลีย (คะแนน 76.8) ภาพรวมระดับ B+

7.นอร์เวย์ (คะแนน 75.3) ภาพรวมระดับ B+

8.สวีเดน  (คะแนน 74.6) ภาพรวมระดับ B

9.สิงคโปร์ (คะแนน 74.1) ภาพรวมระดับ B

10.สหราชอาณาจักร (คะแนน 73.7) ภาพรวมระดับ B

ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับให้มีระบบบำนาญดีที่สุดในเอเชีย (อันดับ 9 ของโลก) รองลงมาคือ ฮ่องกง (อันดับ 19), มาเลเซีย (อันดับ 23), ญี่ปุ่น (อันดับ 35), จีน (อันดับ 36), ไต้หวัน (อันดับ 37), เกาหลี (อันดับ 38), อินโดนีเซีย (อันดับ 39), อินเดีย (อันดับ 41), ฟิลิปปินส์ (อันดับ 43) และไทย (อันดับ 44)

สำหรับดัชนีชี้วัดระบบบำนาญโลก MCGPI นั้นให้น้ำหนักไปที่ 3 เรื่องหลัก คือ 1.ความเพียงพอ ซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์ที่มอบให้กับคนจนและคนมีรายได้ในระดับต่างๆ ตลอดจนการออกแบบฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบรายได้หลังเกษียณโดยรวม

2.ความยั่งยืน พิจารณาจากตัวชี้วัดจำนวนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนในระยะยาวของระบบปัจจุบัน เช่น อัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานของประชากรสูงอายุ และระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งในดัชนี้นี้ประเทศไทยมีค่าต่ำสุด ที่คะแนน 36.4

3.ความครบถ้วน พิจารณาถึง 3 ด้านกว้างๆ ของระบบบำเหน็จบำนาญ ได้แก่ กฎระเบียบและธรรมาภิบาล การคุ้มครองและการสื่อสารสำหรับสมาชิก และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

นอกจากการจัดอันดับแล้ว รายงานดังกล่าวยังชี้ให้เห็นเทรนด์ในปัจจุบันที่นายจ้างเริ่มเปลี่ยนไปใช้กองทุนบำนาญแบบ กองทุนแบบกำหนดเงินสมทบ (Defined Contribution หรือ DC) มากขึ้น

จากเดิมที่ส่วนใหญ่กองทุนบำนาญจะเป็นแบบกองทุนแบบกำหนดประโยชน์ทดแทน (Defined Benefit หรือ DB) ซึ่งในไทยเราก็คือกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ที่ผู้เกษียณจะได้รับเงินเป็นรายเดือนตลอดชีวิต

แต่แผน DC จะให้ผลประโยชน์แก่บุคคลเป็นเงินก้อนเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งเพิ่มความไม่แน่นอนและทำให้บุคคลวัยเกษียณต้องแบกรับความเสี่ยงมากกว่าเดิม

นอกจากนี้ รัฐบาลหลายแห่งกำลังพิจารณาลดระดับการสนับสนุนทางการเงินในช่วงเกษียณอายุ เพื่อให้แน่ใจว่าการเงินของประเทศจะมีความยั่งยืนในระยะยาว ผลก็คือจะมีบุคคลจำนวนมากที่ไม่สามารถพึ่งพาการสนับสนุนทางการเงินจากนายจ้างคนก่อน และ/หรือรัฐบาลได้อีกต่อไปในช่วงปีที่เกษียณอายุ

Merce แนะนำว่า ดังนั้นเราต้องวางแผนทางการเงินให้ดีที่สุดสำหรับการเกษียณ ทั้งกระจายเงินออมเพื่อการเกษียณ และกระจายความเสี่ยงสำหรับแผนการลงทุนต่างๆ สำหรับคนที่สนใจลงทุนด้วย

ที่มา: https://www.mercer.com/newsroom/mercer-cfa-institute-global-pension-index-2022-highlights-key-challenges-of-defined-contribution-plans-for-retirees.html

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า