Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากปัญหาการใช้บริการรถแท็กซี่ที่ผู้โดยสารต้องเจออยู่บ่อยครั้ง ทั้ง การปฏิเสธผู้โดยสาร ด้วยข้ออ้างไม่ผ่านเส้นทางที่ลูกค้าต้องไป หรือแก๊สหมด ต้องเติมแก๊ส, ปัญหาค่าโดยสารแพงเกินความจริงของระยะทาง, เลือกรับผู้โดยสาร, รับชาวต่างชาติ ไม่กดมิเตอร์, ไม่สะดวกออกมาเรียกรถแท็กซี่, และความไม่สุภาพของผู้ขับขี่บางราย จนผู้โดยสารหันไปใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถ แบบบริการรับถึงหน้าบ้าน แม้ว่าบางครั้งต้องหลบๆ ซ่อนๆ ก็ตาม … แน่นอนว่าเมื่อลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น ก็ย่อมมีฝ่ายที่รายได้ลดลง จนนำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อกฎหมายการนำรถยนต์ส่วนบุคคล (ป้ายดำ) มารับจ้างสาธารณะ

ล่าสุดกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (การทำประชาพิจารณ์) เกี่ยวกับการออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลการให้บริการรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน (หรือการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการรับ-ส่งคน) อาทิ แกร็บคาร์ ให้ถูกกฎหมาย ระหว่างวันที่ 15 – 29 พฤศจิกายน โดยได้ประกาศเป็น ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้ในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารผ่านแอปพลิเคชันหรือระบบอื่นใด พ.ศ. …. บนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อเป็นแนวทาง ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนธันวาคมนี้

 

เมื่อพิจารณารายละเอียดร่างกฎกระทรวงแล้วนั้น มี 10 ประเด็นที่คนขับควรจะต้องรู้ โดยพบว่ามี 3 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การครอบครองรถ, พื้นที่ให้บริการ, และ การขออนุญาตของคนขับ ที่ถูกแสดงความเห็นว่าควรทบทวนถึงความเป็นไปได้ หลังการประกาศบังคับใช้ เช่น ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว อนุญาตให้คนขับที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ต้องเป็นเจ้าของรถที่ให้บริการเท่านั้น เท่ากับว่าจะใช้รถของคนในครอบครัว หรือคนอื่นให้บริการไม่ได้

“ข้อ 3 เจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคลผู้ใดจะนำรถของตนมารับคนโดยสารต้องดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันหรือระบบอื่นใดของผู้ให้บริการขนส่งล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก โดยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนและต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข” ร่างกฎกระทรวง ระบุ

หลังการประกาศร่างกฎหมายฯ ดังกล่าว มีเสียงสะท้อนจากสังคมแสดงความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นว่า เป็นการปิดกั้นโอกาสในการสร้างรายได้ของประชาชนหรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หรือกลุ่มคนที่กำลังตกงาน ซึ่งอาจไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง บางคนต้องทําการเช่าซื้อรถยนต์ หรือยังอยู่ระหว่าง การผ่อนชําระกับบริษัทสินเชื่อ บริษัทรถยนต์ ก็ไม่สามารถนํารถมาใช้สร้างรายได้ อีกทั้ง เป็นการจํากัดการใช้ประโยชน์รถยนต์ของคนในครอบครัว เช่น ลูกก็ไม่สามารถเอารถของพ่อแม่ไป ขับได้ หรือภรรยาก็ไม่สามารถเอารถของสามีไปขับหารายได้เสริมได้

 

อีกช่องโหว่ที่น่ากังวลของร่างกฎหมายฯ ดังกล่าว คนขับต้องให้บริการในท้องที่ที่รถนั้นจดทะเบียนเป็นหลัก

“ข้อ 2 (3) ด้านระบบและการให้บริการ (ค) ต้องให้บริการในท้องที่ที่รถนั้นจดทะเบียนเป็นหลัก และให้บริการโดยการเรียกผ่านแอปพลิเคชันเท่านั้น” ร่างกฎกระทรวง ระบุ

ร่างกฎกระทรวงฯ ข้อนี้อาจไม่สอดคล้องต่อการเดินทางในชีวิตประจําวันของประชาชนมากนัก โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะแต่ละวันมีคนจํานวนมากต้องเดินทางข้ามเมืองเพื่อไปทำงาน เช่น กรุงเทพฯ-นนทบุรี กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ หรือรังสิต-ปทุมธานี หรือแม้แต่การเรียกใช้บริการจากสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่เขตจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ก็อาจไม่สามารถทำได้

ประเด็นสุดท้ายคือการกำหนดให้คนขับต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ เช่นเดียวกับรถแท็กซี่ รวมถึงการขอใบอนุญาตของคนขับซึ่งมีหลายขั้นตอนและต้องใช้เวลานาน เนื่องจากปัจจุบัน “แกร็บคาร์” น่าจะมีคนขับนับแสนคน ยังไม่รวมถึงผู้ที่สนใจจะสมัครเพิ่มเติมอีกในอนาคต ขณะที่กรมขนส่งทางบก มีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบจํานวนจํากัด จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลของคนขับเกี่ยวกับประเด็นความพร้อมหรือความสามารถในการรองรับการขอใบอนุญาตของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ และอาจส่งผลกระทยต่อการให้บริการผู้โดยสารเหมือนในต่างประเทศ อย่างในประเทศมาเลเซีย

 

ขณะที่ประเภทรถ กำหนดให้ เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รย.1) ไม่น้อยกว่า 4 ประตู กําลังเครื่องยนต์ ไม่น้อยกว่า 50 กิโลวัตต์ (หรือ 67แรงม้า) และต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน 9 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก นั่นหมายความว่า ประเภทรถกระบะ 4 ประตู หรือ รถตู้ ก็ไม่สามารถนำมาให้บริการผ่านแอปพลิเคชันได้

อย่างไรก็ตาม ร่างกฎกระทรวงฯ นี้ ยังไม่ใช่ร่างที่จะบังคับใช้จริง เพราะขณะนี้กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ประชาชนไปแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ได้ที่ http://elaw.dlt.go.th/LawDraft.aspx?set=178 จนถึงวันศุกร์นี้ (29 พ.ย.62) เท่านั้น

 

อ่านเพิ่มเติม:

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า