Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ฮาร์ตคอน (HeartCon) หัวใจเทียมที่มีน้ำหนักเพียง 180 กรัม และขนาดเล็กกว่ากำหมัด พัฒนาโดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยหมายเลข 18 สังกัดสถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งประเทศจีน (CALVT) (ภาพจาก: สำนักข่าวซินหัว)

คณะนักวิทยาศาสตร์จีนเตรียมนำ “หัวใจเทียม” จากเทคโนโลยีการบินและอวกาศทดสอบทางคลินิกภายในปี 2019 คาดหวังผลสำเร็จช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจอ่อนแรงหลายล้านคนในประเทศ คาดจะได้รับอนุมัติให้จัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ภายใน 2 ปีข้างหน้า

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ย.62 คณะนักวิทยาศาสตร์จีนเตรียมนำ “หัวใจเทียม” จากเทคโนโลยีการบินและอวกาศทดสอบทางคลินิกภายในปี 2019 คาดหวังผลสำเร็จช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจอ่อนแรงหลายล้านคนในประเทศ

ฮาร์ตคอน (HeartCon) ซึ่งเป็นหัวใจเทียมที่มีน้ำหนักเพียง 180 กรัม และขนาดเล็กกว่ากำหมัด ได้รับการพัฒนาโดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยหมายเลข 18 สังกัดสถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งประเทศจีน (CALVT)

สวีเจี้ยน หัวหน้าวิศวกรโครงการฮาร์ตคอน กล่าวว่า หัวใจเทียมทำหน้าที่เหมือนเครื่องสูบน้ำที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย มีหลักการทำงานคล้ายกับเซอร์โวแมคคานิกส์ (servomechanism) หรือกลไกควบคุมการขับเคลื่อนจรวด

นักวิทยาศาสตร์จีนเริ่มพัฒนาหัวใจเทียมในปี 2009 โดยใช้แม่เหล็กและการยกของเหลวให้ลอยตัวด้วยแม่เหล็กจากเทคโนโลยีเซอร์โวของจรวด เพื่อผลิตเครื่องช่วยการเต้นของหัวใจห้องล่างรุ่น 3 ที่สร้างความเสียหายต่อเลือดน้อยลง

ภาพจาก: สำนักข่าวซินหัว

หัวใจเทียมนี้ ถูกทดสอบในสัตว์หลายครั้ง โดยปี 2013 แกะที่ถูกปลูกถ่ายฮาร์ตคอนมีชีวิตอยู่ได้ 120 วัน อีกสองปีต่อมาทดลองในแกะ 3 ตัว ซึ่งรอดชีวิตทั้งหมด และปี 2017 ทดลองในแกะ 6 ตัว โดยตัวหนึ่งมีชีวิตอยู่ได้ 180 วัน

นอกจากนั้น ยังมีการทดสอบในมนุษย์ โดยชายวัย 39 ปี และหญิงวัย 62 ปี เป็นผู้ป่วยสองรายแรกที่ถูกปลูกถ่ายฮาร์ตคอนในนครเทียนจินเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันต่างมีสุขภาพแข็งแรงดี

ผู้ป่วยสองรายแรกที่ถูกปลูกถ่ายฮาร์ตคอน (ภาพจาก: สำนักข่าวซินหัว)

เหรินว่านเฟิง ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือดของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่าการใช้ยารักษาหยั่งผลลัพธ์ไม่เท่ากับการปลูกถ่าย แต่การปลูกถ่ายก็เผชิญข้อจำกัดตรงขาดแคลนผู้บริจาค

ผู้ป่วยจำนวนมากจำต้องเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อรับการปลูกถ่ายหัวใจเทียมที่อาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.1 ล้านบาท) แต่คณะนักวิจัยชี้ว่าฮาร์ตคอนจะมีราคาถูกกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างน้อย 10 ล้านคนในจีน

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าหัวใจเทียมฮาร์ตคอนจะได้รับอนุมัติให้จัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ภายใน 2 ปีข้างหน้า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า