Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อิสรภาพทางการเงิน สิ่งที่ใครๆ ก็ต่างใฝ่ฝันถึง การมีเงินเข้าในบัญชีทุกเดือนไว้ใช้จากสินทรัพย์ในยามเกษียณ หรือยามที่ไม่ต้องการพึ่งรายได้จากการทำงานอีกแล้ว การจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องทำอย่างไร

ในวันนี้ TODAY Bizview จะมานำเสนอให้ทุกคนได้อ่านกัน

‘อิสรภาพทางการเงิน’ หรือ ‘Financial Freedom’ หากให้นิยามอย่างตรงไปตรงมาก็หมายถึง การมีสินทรัพย์ที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาในแต่เดือนให้แก่เจ้าของสินทรัพย์ (Passive Income)

โดยที่เจ้าของสินทรัพย์ไม่ต้องพึ่งรายได้จากการทำงาน (Active income) และรายได้จากสินทรัพย์นั้นสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของบุคคลนั้นๆ ได้

ซึ่งการเข้าถึงอิสรภาพทางการเงินได้ จะทำให้เจ้าของสินทรัพย์สามารถนำเวลาท่ีเหลือไปโฟกัสในสิ่งที่ชอบ โดยที่ไม่ต้องกังวลต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนอีกต่อไป

คนส่วนมากมักเข้าใจกันว่า การมี ‘อิสรภาพทางการเงิน’ เป็นเหมือนตำนาน (Myth) เท่านั้น ที่จะเกิดเฉพาะกับเศรษฐี หรือคนที่ถูกหวย จนคนส่วนมากไม่มีใครสามารถเข้าถึงกันได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น พนักงานประจำ หรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ก็สามารถเข้าถึงได้กันทุกคน เพียงแต่ต้องอาศัย ‘การวางแผน’ และ ‘วินัย’ จึงจะสร้างตำนานเหล่านี้ให้เป็นจริงได้

ลองมาดูกันกรณีตัวอย่างกันว่า หากอยากสร้างรายได้เดือนละ 50,000 บาทไว้ใช้หลังเกษียณต่อเดือนควร ทำอย่างไร

ตัวอย่างเช่น ‘นายร่ำรวย’ ต้องการเกษียณ ตอนอายุ 60 ปี และต้องการมีชีวิตจนถึง 80 ปี อยากมีเงินไว้ใช้หลังเกษียณเดือนละ 50,000 บาท แสดงว่าต้องมีรายได้ต่อปี 600,000 บาท 

[ เก็บเงินอย่างเดียว ]

ถ้านายร่ำรวยไม่ต้องการลงทุนใดๆ และต้องการมีเงินเก็บไว้สำหรับใช้เดือนละ 600,000 ต่อปี หลังจากเกษียณจนถึงตอนเสียชีวิต (20 ปี) จะต้องมีเงินต้นทั้งหมด 600,000 x 20 ปี = 12,000,000 ล้านบาท

[ ลงทุนในพันธบัตร ]

นายร่ำรวยมีการนำเงินดังกล่าวไปลงทุนในพันธบัตร แล้วนำรายได้จากดอกเบี้ยมาใช้โดยที่ไม่ต้องกระทบกับเงินต้น และความเสี่ยงจากการขาดทุนต่ำ โดยคิดเป็นดอกเบี้ยประมาณ 3% และสร้างเงินให้ประมาณ 50,000 บาทในแต่ละเดือน ควรมีเงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 20,000,000 ล้านบาท 

[ ลงทุนในหุ้น ]

นายร่ำรายต้องการรายได้เข้ามาในแต่ละเดือนจากปันผลประมาณ 5% และก็หวังให้เงินลงทุนมีโอกาสเติบโตขึ้นในระยะยาวด้วย แต่ก็มีโอกาสผันผวนในระยะสั้นด้วยเช่นกัน ก็ควรลงทุนในหุ้น ‘ปันผล’ ซึ่งควรมีเงินต้นประมาณ 12,000,000 ล้านบาท

[ ลงทุนในกองทุนอสังหาฯ ]

นายร่ำรวยต้องการรายได้จากดอกเบี้ยประมาณ 8-10% โดยที่ความเสี่ยงจากความผันผวนปานกลางถึงต่ำ ขึ้นกับความเสี่ยงของกองอสังหาฯ ในแต่ละประเภท ก็ควรเลือกการลงทุนในกองทุน ‘อสังหาฯ’ โดยที่ควรมีเงินลงทุนขั้นต้นประมาณ 6,000,000 บาท

กล่าวโดยสรุป คือ สูตรคำนวณเงินต้นที่ควรมี (โดยคิดจากปันผลต่อปีของสินทรัพย์ และเงินต่อปีที่คาดหวัง) = (เงินต่อปีที่คาดหวัง x 100) ÷ เปอร์เซนต์ปันผลของสินทรัพย์

[ ‘กฎ 300’ ]

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีการคำนวน คือ ‘กฎ 300’ = เงินที่ต้องการต่อเดือน x 300 ซึ่งใช้ในการประเมินคร่าวๆ ว่าหากต้องการใช้เงินต่อเดือนจำนวนหนึ่ง โดยที่ทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ประมาณ 3-4% ต่อปี ควรมีเงินต้นประมาณเท่าไหร่

ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเงินไว้ใช้ 30,000 ต่อเดือน ควรมีสินทรัพย์ตั้งต้นประมาณ 300 x 30,000 = 9,000,000 บาท โดยนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 3-4% ขึ้นไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า