Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการอิสระ เชื่อไม่มีใครค้านพัฒนาหัวลำโพง แนะต้องเพิ่มมูลค่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนรายได้น้อย

วันที่ 13 ธ.ค. 2564 ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ​ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม กล่าวถึงกรณีที่นายวินท์ สุธีรชัย อดีต ส.ส. และนักธุรกิจรุ่นใหม่ เสนอให้มีการพัฒนาหัวลำโพงให้เทียบเท่ากับแลนด์มาร์ค (Landmark) ในต่างประเทศว่า ประเด็นนี้ไม่มีใครคัดค้าน ที่การรถไฟฯ จะนำพื้นที่ว่างไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หรือปล่อยให้เอกชนเช่าเพื่อพัฒนา เพราะคงเป็นเรื่องดีที่การรถไฟจะมีรายได้ ปลดหนี้ และมีเงินมาพัฒนาสวัสดิภาพของพนักงาน และการให้บริการสาธารณะ

แต่สิ่งที่ประชาชนคาดหวังคือ การพัฒนานั้นต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถนำคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง มาสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นไปพร้อมกับการเพิ่มพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนในเมืองด้วย

การจัดการพื้นที่หัวลำโพง ควรแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประการแรก คือ การเดินรถ ซึ่งในอนาคตชุมทางรถไฟจะต้องย้ายไปอยู่บางซื่อ และหัวลำโพงจะกลายมาเป็นเพียงสถานีรถไฟในเมืองแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยการที่เส้นทางระหว่างบางซื่อ-หัวลำโพง ยังอยู่ในขั้นตอนประมูลเท่านั้น ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยต้องลำบากกับค่าใช้จ่ายและเวลาเดินทางที่เพิ่มเข้ามา ดังนั้นในระหว่างที่ Missing Link ยังไม่เสร็จ การรถไฟฯ ควรบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยการให้มีการเดินรถบนดินเข้าไปยังหัวลำโพง โดยเน้นที่ขบวนรถไฟชั้น 3 เพื่อไม่สร้างภาระให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ต้องอาศัยรถไฟเข้ามายังหัวลำโพง

และประการที่สอง คือ เรื่องการนำพื้นที่หัวลำโพงไปบริหารจัดการ ซึ่งมีความเป็นไปได้ 2 รูปแบบ

1. รูปแบบแรกคือ การเปลี่ยนกิจกรรมภายใน จากสถานีรถไฟ กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรม หรือลานกิจกรรมของคนเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้เข้ามาใช้พื้นที่ในการสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดในการผลักดันย่านสร้างสรรค์ (Creative District) ซึ่งรูปแบบนี้การรถไฟอาจประสานความร่วมมือกับทาง TCDC ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนี้ควรจะนำใช้พื้นที่บางส่วนให้เช่าสำหรับทำกิจกรรมหรือร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้า ที่นำเอาเอกลักษณ์ของหัวลำโพงมาเป็นจุดขายเพื่อหารายได้มาใช้สำหรับบริหารจัดการอาคารและพื้นที่

ในส่วนรูปแบบที่ 2 คือ การรักษาความเป็นสถานีไว้ ในขณะที่ชุมทางหลักไปอยู่บางซื่อ หัวลำโพงก็จะมีรถเข้ามาน้อยลง และมีผู้ใช้งานน้อยลง หัวลำโพงจึงอาจเปลี่ยนจากสถานีแบบเดิม ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ลานกิจกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร ผสมไปกับพื้นที่สถานีเดิม เช่นกรณีสถานีรถไฟ Atocha ในประเทศสเปน ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้หัวลำโพงยังคงทำหน้าที่เป็นสถานี พร้อมกับปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตคนเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้การถไฟมีรายได้เพิ่มขึ้น และประชาชนก็ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากพื้นที่สาธารณะที่เพิ่มเข้ามาในบริเวณนั้น

ปิด “หัวลำโพง” เปลี่ยนชีวิตคนหาเช้ากินค่ำ อยู่ยาก–เดินทางยาก

 

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า