Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Tokyo Electric Power Company (TEPCO) เตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี จากระบบทำความเย็นของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ จังหวัดฟุกุชิมะ ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2011 ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกภายในเดือนหน้านี้

มีการคาดการณ์ว่าจะปล่อยน้ำปนเปื้อนออกมาราว 1.33 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 

      • ขวดน้ำขนาด 1 ลิตร จำนวน 1,350 ล้านขวด
      • ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร จำนวน 6.7 แสนถัง
      • สระว่ายน้ำโอลิมปิก จำนวน 500 สระ
      • Aquaria Phuket จำนวน 193 แห่ง 
      • Blue Lake ประเทศนิวซีแลนด์ จำนวน 20 แห่ง

จากรายงานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ผู้อำนวยการใหญ่ Rafael Mariano Grossi ยืนยันว่า การปล่อยน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วลงสู่ทะเลนั้น ส่งผลกระทบในทางรังสีวิทยาต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีดังกล่าวได้รับการบำบัดแล้วด้วยระบบ Advanced Liquid Processing System (ALPS) ซึ่งเป็นระบบที่ทำการปั๊มและกรองนำแร่กัมมันตรังสีออกมา

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2021 TEPCO เคยออกมาประกาศถึงแผนการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ แต่กลับเจอเสียงคัดค้านอย่างหนักจากประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศบนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมไปถึงชุมชนประมงและชุมชนเกษตรกรรมรอบ ๆ ฟุกุชิมะ

แล้วทำไมญี่ปุ่นจึงตัดสินใจปล่อยน้ำเหล่านี้กัน? 

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่และสึนามิในญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 ที่สร้างความเสียหายให้กับแหล่งจ่ายไฟ และระบบทำความเย็นของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ จังหวัดฟุกุชิมะ ส่งผลให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกิดความร้อนสูง และทำให้เกิดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในน้ำที่อยู่ในโรงไฟฟ้า 

เมื่อเวลาผ่านไป ทางโรงไฟฟ้าจำเป็นจะต้องสูบน้ำใหม่เข้าไป เพื่อทำให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เย็นลง ประกอบกับมีน้ำใต้ดินและน้ำฝนไหลเข้าไปสมทบเพิ่มเติม ส่งผลให้มีน้ำปนเปื้อนปริมาณมหาศาลอยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้า TEPCO จึงตัดสินใจสร้างแทงค์น้ำเพื่อกักเก็บน้ำดังกล่าว แต่ตอนนี้ทางบริษัทยกเลิกกิจการโรงไฟฟ้าดังกล่าว และอยู่ระหว่างการกำจัดสารกัมมันตรังสี รื้อถอนสิ่งก่อสร้าง และปิดตัวโรงไฟฟ้า 

แม้ว่าน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีดังกล่าวจะได้รับการบำบัดก่อนลงสู่ท้องทะเลแล้ว แต่เป็นที่น่าสนใจว่าในน้ำเหล่านั้นยังมีแร่ทริเทียม ซึ่งเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี หลงเหลืออยู่ ด้าน TEPCO เองยืนยันว่า จะทำการเจือจางแร่ทริเทียมให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก่อนปล่อยลงสู่ท้องทะเลอย่างแน่นอน 

ในขณะที่ Robert H. Richmond ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางทะเล Kewalo แห่งมหาวิทยาลัยฮาวายออกมาให้ความเห็น ถึงรายงานแผนการปล่อยน้ำของทางญี่ปุ่นว่า เป็นรายงานที่ไม่รอบคอบและเร็วเกินไปที่จะสรุป และกังวลว่าการปล่อยน้ำปนเปื้อนที่บำบัดแล้ว ไม่เพียงพอที่จะลดผลกระทบต่อสัตว์น้ำใต้ท้องทะเล ในขณะที่แร่ทริเทียมเองจะตกค้างและสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหารทั้งพืช สัตว์ และแบคทีเรีย 

ในขณะที่ Canadian Nuclear Safety Commission ชี้ว่า แร่ทริเทียมนั้นอ่อนกำลังเกินกว่าจะซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ แต่หากบริโภคแร่ทริเทียมเข้าไปในปริมาณสูงมากก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง 

ด้านประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้และจีน ได้ออกมากล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน โดย เกาหลีใต้ เตรียมเพิ่มระดับความเข้มข้นในการตรวจตราต้นทางของอาหารจากญี่ปุ่น หลังแบนการนำเข้าอาหารทะเลจากพื้นที่ของฟุกุชิมะมาตั้งแต่ปี 2013 ในขณะที่ จีน ออกมาตำหนิอย่างรุนแรง และเตือนญี่ปุ่นให้เตรียมรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้

สำหรับประเทศไทย สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยออกมาระบุว่า มีความเป็นไปได้น้อยมากที่กัมมันตภาพรังสีจะส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลของประเทศไทย แต่การตรวจสอบอาหารทะเลจากชายฝั่งของประเทศไทยจะยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจะต้องมีการตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จะดำเนินการเพื่อประกันความปลอดภัยของผู้บริโภคไทยเช่นเดียวกัน

ที่มา:

aljazeera, reuters, cnn, nuclearsafety, nst

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า