Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปจาก KKP Research ชี้ว่าโลกกำลังไป EV แต่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังใกล้ตาย เพราะพึ่งพาแต่การเป็นฐานการผลิตให้ญี่ปุ่น แต่ไม่สามารถแข่งสู้ ‘จีน-อินโดนีเซีย’ ในสนาม EV ได้ เรื่องราวเป็นมายังไง สรุปมาให้แล้วใน 15 ข้อ

1) ประเทศไทยพึ่งพาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คิดเป็นประมาณ 5.9% ของ GDP แต่จริงๆ แล้วอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยไม่ได้เติบโตได้ด้วยตัวเอง แต่เติบโตจาก ‘การลงทุนทางตรง-ย้ายฐาน’ จาก ‘ญี่ปุ่น’ เป็นหลัก

2) เพราะช่วงปี 1985 เกิดข้อตกลงพลาซ่าที่ทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นมาก จนญี่ปุ่นเสียความสามารถในการแข่งขัน จำเป็นต้องย้ายฐานการผลิต บวกกับนโยบายเศรษฐกิจของไทย อย่างการลดภาษี การเปิดเสรีทางการค้า เขตเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ ทำให้ญี่ปุ่นเลือกย้ายฐานการผลิตมาไทย

3) แต่ปัจจุบัน “ไทยอาจจะไม่โชคดีเหมือนในอดีต” เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่ คือ ‘ยุคยานยนต์ไฟฟ้า’ หรือ EV ที่จะต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สำหรับประเทศไทยที่พึ่งพานวัตกรรมจากญี่ปุ่นและนวัตกรรมลดภาษีเป็นหลัก อาจไม่สามารถเป็นฐานการผลิต EV เหมือนที่เคยเป็นฐานการผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายในได้อีกต่อไป

4) แม้ใน 5 ปี EV จะยังมาแทนรถยนต์สันดาปทั้งหมดไม่ได้ เพราะกำลังการผลิตแร่ลิเทียมมีแค่ 1 แสนตันต่อปี พอทำแบตเตอรี่สำหรับ EV แค่ 11 ล้านคัน จากที่ทั่วโลกตอนนี้ผลิตรถยนต์ 80 ล้านคันต่อปีเท่านั้น 

5) แต่ในปี 2025 คาดว่า EV จะมีสัดส่วน 16.9% ของยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมดในโลก แต่ในไทยคาดว่า EV จะโตต่ำกว่าโลก และมีสัดส่วนเพียง 4.5% เท่านั้น เพราะราคา EV ยังแพงกว่ารถยนต์สันดาปภายในมากและมีทางเลือกน้อย 

6) สถานการณ์ ‘เสียเปรียบ’ ที่ไทยกำลังเจอตอนนี้เลยมีหลักๆ อยู่ 5 ข้อ 

ข้อแรกเลย คือ EV มาแรง แต่ค่ายรถญี่ปุ่นยังปรับตัวช้า โดยมีแผนผลิต EV น้อยกว่าค่ายจีน-อเมริกันมาก ส่งผลเสียกับไทยที่เป็นฐานการผลิตของรถญี่ปุ่น

ข้อสอง คือ การแข่งขันสูงขึ้น จีน-อินโดนีเซียอาจกำลังจะส่งออกแซงไทย เพราะสัดส่วนการส่งออกรถยนต์ในตลาดโลกของไทยลดลงจาก 1.7% เหลือ 1.3% แต่จีนเพิ่มจาก 0.7% เป็น 1.5% 

ข้อสาม คือ ไทยกำลังเจอปัญหาการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) หรือยิ่งผลิตน้อย ต้นทุนยิ่งสูง เพราะไทยส่งออกหลักไปประเทศพวงมาลัยขวา ที่มีขนาดเล็กอยู่แล้ว (แค่ 1 ใน 6 ของโลก) และปริมาณการผลิตลดลงอีกเมื่อเจอกับสังคมสูงอายุ จนเสียเปรียบด้านต้นทุน และยากที่จะเปลี่ยนมาผลิตพวงมาลัยซ้ายแทน

ข้อสี่ คือ ข้อตกลงทางการค้ากับ ‘จีน’ อาจทำให้มีการนำเข้า EV มากกว่าผลิตเอง เพราะนำเข้า EV ได้โดยไม่มีภาษี แถมจีนยังมีกำลังผลิตมากกว่า ทำให้ต้นทุนถูกกว่า

ข้อห้า คือ ไทยมีความสามารถในการแข่งขันลดลง เพราะต้นทุนสูงขึ้นจากค่าแรงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง

11) แล้วยิ่งถ้าเทียบกับคู่แข่งจะพบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังจะตาย เพราะไทยไม่มีบทบาทในการผลิต ‘ลิเทียมแบตเตอรี่’ ที่เป็นมูลค่าเพิ่มหลัก 30% ของ EV และเสียเปรียบคู่แข่งในตลาดอย่างจีน-อินโดนีเซียหลายด้าน เพราะไทยไม่มีเทคโนโลยีทันสมัยแบบจีนยากกับการเข้าไปในตลาด (แค่บริษัท CALT ของจีนบริษัทเดียวครองส่วนแบ่ง 40% แล้ว) 

อีกอย่างคือ อินโดนีเซีย เป็นแหล่งทรัพยากรนิกเกิล 30% ของโลก แล้วยังมีต้นทุนแรงงานถูกกว่า ตลาดใหญ่กว่า ทำให้หลายยริษัทผู้ผลิตเริ่มเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย จึงเป็นไปได้ที่ไทยจะเสียส่วนแบ่งตลาดยานยนต์ให้จีนและอินโดมากขึ้นเรื่อยๆ

12) แปลว่าในอนาคต เศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบทั้งห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ใช่แค่เฉพาะ ‘บริษัทประกอบรถยนต์’ แต่รวมถึง ‘บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์’ ชิ้นส่วนที่จะหายไปในการเปลี่ยนแปลงสู่ EV คือ เครื่องยนต์ ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบเกียร์ คิดเป็นมูลค่าเพิ่มกว่า 32.5% ของมูลค่าการผลิตรถยนต์สันดาปภายในเดิม 

ผลกระทบรุนแรง คือ กลุ่มเครื่องยนต์ ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

ผลกระทบปานกลาง คือ กลุ่มส่วนประกอบไฟฟ้า ตัวถัง ระบบเบรก และระบบหล่อเย็น

ไม่ได้รับผลกระทบ คือ ส่วนประกอบภายใน ล้อ-ยาง แต่เป็นชิ้นส่วนที่มูลค่าเพิ่มน้อย

13) KKP Research ประเมินว่า การมาของ EV จะทำให้ ‘ส่วนผลกระทบรุนแรง’ ต้องหยุดผลิตลง แต่ถ้าไทยยังผลิต-ส่งออกรถยนต์ได้เท่าเดิม แต่เปลี่ยนไปเป็น EV แทน มูลค่าเพิ่มจะลดลงจาก 53% เหลือเพียง 34% (เพราะมูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่ คือ แบตเตอรี่) 

14) กรณีเลวร้าย คือ ไทยส่งออกรถยนต์ได้ลดลงด้วย ทำให้แรงงานกว่า 7-8 แสนคนอยู่ในภาวะเสี่ยงตกงาน และถ้าไทยต้องเปลี่ยนจากประเทศผู้ผลิตเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกกลายมาเป็นประเทศที่ต้องนำเข้ารถยนต์ส่วนใหญ่ ดุลการค้าไทยในทศวรรษหน้ามีความเสี่ยงกลายเป็นขาดดุลได้

15) KKP Research แนะนำรัฐ 3 บทเรียน

ข้อแรก พึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศไม่ใช่คำตอบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะการผลิตจะไม่จำเป็นต้องใช้แรงงาน ดังนั้น ตั้งโรงงาน คือ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ต่างชาติมากกว่า

ข้อสอง ห่วงโซ่การผลิตเปลี่ยนแปลงเยอะ ไทยต้องกลับมาคิดกลยุทธ์ระยะยาวว่า ยังควรเป็นการผลิต EV ไหม

ข้อสาม ทางออกที่จำเป็นที่สุด คือ การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เพราะมูลค่าเพิ่มของ EV จะเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอิเลกทรอนิกส์ 

แต่จะเกิดขึ้นได้ระยะยาวต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมการลงทุน และการวิจัยและพัฒนา กำกับให้เกิดการแข่งขันเสรี และการลดการคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ แต่น่าเสียดายที่เรื่องเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ที่มา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า