Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ตั้งตุลาการระดับศาลอุทธรณ์ 146 บัญชี ผู้พิพากษาชื่อดัง “อำนาจ-เชวง-อดุลย์”  ขึ้นระนาบ “พงษ์เดช” เลขาฯศาลนั่งหัวหน้าคณะ  “อนุรักษ์”ผงาดนั่งปธ.เเผนกคดีทุจริตฯ “ชำนาญ” เล็งทำหนังสือถึงนายกฯตรวจสอบปมถูกร้องเรียนหาเสียง ก.ต.ก่อนเสนอทูลเกล้าฯ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 64 ที่ห้องประชุมใหญ่ศาลฎีกา สนามหลวง นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตุลาการครั้งที่ 22/2564 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบบัญชีโยกย้ายเเต่งตั้ง บัญชี  4 ชั้น 4  สับเปลี่ยนตำเเหน่งระดับรองประธานศาลอุทธรณ์-ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 146 บัญชี

โดยมีบัญชีรายชื่อที่น่าสนใจดังนี้ เห็นชอบนายอํานาจ โชติชะวารานนท์ ประธานเเผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ นายอำนาจมีผลงานดูแลคดียาเสพติดทั้งประเทศที่อุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากศาลอุทธรณ์เป็นศาลเดียวที่มีอำนาจพิจารณาคดียาเสพติดที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ไปเป็นรองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1

นายเชวง ชูศิริ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาพระโขนง ซึ่งเป็นศาลที่มีคดีฆาตกรรมนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง นักธุรกิจ เข้าสู่การพิจารณาคดี โดยศาลมีคำพิพากษาประหารชีวิต พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต ส.ส.นครสวรรค์ และอดีต รมช.พาณิชย์ อีกทั้งนายเชวง ยังเป็นอดีตเลขาธิการประธานศาลฎีกายุคนายชีพ จุลมนต์ ไปเป็นประธานเเผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 1

นายอดุลย์ ขันทอง อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งพระโขนงคนเเรกภายหลังยกระดับจากศาลจังหวัดขึ้นมาเป็นศาลเเพ่ง ยังเปิดโครงการ “สัปดาห์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” เเละ “เดือนแห่งการประนีประนอมข้อพิพาท” สนับสนุนเผยแพร่และพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมและเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่คู่ความในการยุติข้อพิพาทด้วยตนเอง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือคลินิกแก้หนี้ จัดเจ้าหน้าที่เข้าร่วมให้คำปรึกษาช่วยเหลือลูกค้าที่เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันให้ได้รับความช่วยเหลือแบบเบ็ดเสร็จ ยังมีโครงการเปิดทำการพิจารณาคดีนอกเวลาราชการหรือ”nightcourt”(ไนท์คอร์ท ) ไปเป็นประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ภาค 2

นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล รองประธานแผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ ซึ่งถูกนายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ยื่นค้านบัญชีดังกล่าวจากกรณีถูกร้องเรียนว่าได้หาเสียงเลือกตั้งคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) บุคคลภายนอกในไลน์สภาตุลาการ ทั้งที่มีหน้าที่เป็น ก.ต. ไปเป็นประธานแผนกคดีทุจริต และประพฤติมิชอบในศาลอุทธรณ์โดยมีรายงานว่าที่ประชุม ก.ต.วันนี้ได้มีการพิจารณาความเหมาะสมว่าจะต้องส่งกลับไปยังอนุกรรมการตุลาการ (อกต.)เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติอีกหรือหรือไม่ โดย ก.ต.มีมติ 8ต่อ 6 ไม่ส่งกลับ อกต. จากนั้นจึงพิจารณาว่าจะผ่านขึ้นตำเเหน่งหรือไม่ปรากฎ ก.ต.เสียงข้างมาก10 ต่อ 4 เสียงผ่านบัญชีขึ้นเป็นประธานเเผนกคดีทุจริตฯในศาลอุทธรณ์

นายรุ่งศักดิ์ วงศ์กระสันต์ รองประธานแผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ เเละคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ไปเป็นประธานเเผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์

นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมไปเป็นหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1

นายไพโรจน์ โปเล็ม ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไปอดีตเลขานุการศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 9

นางกรกันยา สุวรรณพานิช เลขานุการประธานศาลฎีกา (นางเมทินี ชโลธร) ไปเป็นหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์

ด้านนายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา กล่าวภายหลัง ทราบมติ ก.ต. เสียงข้างมาก แต่งตั้งนายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล ขึ้นเป็นประธานเเผนกคดีทุจริตฯในศาลอุทธรณ์  ว่าในเรื่องนี้ ส่วนตัวยังคงมีข้อสงสัยในหลายประเด็น เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ต. เสียงข้างมากว่าก่อนหน้านี้ที่ตนเองเคยร้องเรียนให้มีการตรวจสอบนายอนุรักษ์ ในประเด็นแชทไลน์หลุดล็อบบี้การคัดเลือก ก.ต.บุคคลภายนอก เข้าข่ายความผิดหรือมีมูลในการกระทำความผิดหรือไม่ แต่ตนเองทราบข้อมูลจาก ก.ต.บางท่านว่า ได้มีการสอบหรืออยู่ระหว่างการสอบแต่จะมีปัญหาตามมาในภายหลังว่าถ้ายังสอบไม่เสร็จแล้วเหตุใดถึงล่าช้า เพราะมีหลายเรื่องที่ต้องตรวจสอบและแม้ว่ายังสอบไม่เสร็จก็ต้องส่งเรื่องไปให้อนุ ก.ต. ทำการตรวจสอบ แต่ปัญหาก็คือว่า วันนี้ได้มีการส่งเรื่องให้อนุ กต. ไปไต่สวนหรือไม่ มองว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่ แต่คงต้องดูรายงานการประชุมและเหตุผลของ ก.ต.แต่ละท่านก่อน ที่จะพิจารณาดำเนินการอย่างไรต่อ

นายชำนาญ ยังกล่าวต่อว่า แนวทางที่จะดำเนินการต่อจากนี้ คือ ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะที่จะต้องเป็นผู้นำความกราบบังคมทูล ว่า ก่อนที่จะนำความกราบบังคมทูล นั้น ควรตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน เพราะผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งสำคัญนี้ได้กระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ตนเองได้ยื่นร้องเรียนและคัดค้านไปหรือไม่ เพราะนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่จะต้องเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ก็ควรต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นตามข้อร้องเรียนหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ขณะนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ควรจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ก.ต. ซึ่งคงไม่ถึงกับต้องมีการยุบ ก.ต. ไป แต่อาจจะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ โครงสร้าง ก.ต. ในอนาคต

ทั้งนี้การประชุม ก.ต.ครั้งที่23/2564 ต่อไปวันที่ 23 ส.ค.64

ผลการประชุม ก.ต. 22/2564   

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า