Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 รับข้อเสนอจากกลุ่มคณะรณงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ( ครช. ) เพื่อเรียกร้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560

ที่รัฐสภา วันที่ 13 มีนาคม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และเเนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 พร้อมด้วย ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน อาทิ น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ น.ส.ภาดา วรกานนท์ พรรคพลังประชารัฐ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.อดีตพรรคอนาคตใหม่ นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน รับข้อเสนอจากกลุ่มคณะรณงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ( ครช. ) และเครือข่าย People Go Network

นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าว เหมือนข้อเสนอฉบับภาคประชาชนทั่วไป คณะกรรมาธิการฯจะนำเข้าไปพิจารณาเหมือนชุดอื่นๆ เพื่อสร้างความเสมอภาคเเละเท่าเทียมกันในทุกกลุ่ม โดยการพิจารณาของกรรมาธิการจะเสร็จสิ้นตามกรอบที่สภาผู้เเทนราษฎรได้กำหนดไว้ โดยมีหน้าที่ในการตรวจข้อเท็จจริงของหลักการในรัฐธรรมนูญว่า มีความถูกต้องหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นว่า รัฐธรรมนูญจะขัดเเย้งกับคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด

โดยมองตามหลักการที่ถูกต้อง อาทิ หลักสิทธิเเละเสรีภาพว่าดำเนินการตามความถูกต้อง เเละรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเเล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีควรจะต้องเพิ่มอะไร เเละควรจะมีหลักเกณฑ์ในการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร เเละรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายของประชาชน ดังนั้น ผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด คือ ประชาชน

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการมีการหารือถึงการพิจารณาเเก้ไข เเนวทางและหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 ให้เสร็จภายในสิ้นเดือนมีนาคม ก่อนจะสรุปผลรายงานของคณะกรรมาธิการไม่เกินวันที่ 10 เมษายน 2563 เเล้วจึงส่งรายงานต่อสภาผู้แทนราษฏรต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ( ครช. ) และ เครือข่าย people Go Network ได้ตั้งขบวนเดินรณงค์เพื่อเรียกร้องรัฐสภาให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 จากสถานีรถไฟใต้ดินกำแพงเพชร ตั้งเเต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา จนเดินมาทางถึงอาคารรัฐสภาแห่งใหม่เกียกกาย ในช่วงเวลา 11.00น โดยมีเจตจำนงค์ในการยื่นข้อเสนอเพื่อเสนอหลักเกณฑ์และเเนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 อาทิ 2 ประเด็นใหญ่คือ 1.สร้างสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เข้มแข็ง ไม่นำเหตุความมั่นคงมาอ้างในการจำกัดเสรีภาพ ให้ประชาชนเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สร้างหลักประกันด้านรัฐสวัสดิการ และ 2. สร้างกลไกเข้าสู่อำนาจที่ยึดโยงกับประชาชน กำหนดให้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. และ ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด การปฏิรูปประเทศหรือยุทธศาสตร์ชาติ ต้องไม่เกิดขึ้นโดยคนกลุ่มเดียวและต้องไม่นิรโทษกรรมให้คณะรัฐประหาร

อีกทั้งให้ตราพระราชบัญญัติการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ทั้งในด้านเสนอกฎหมายเเละทางการเมืองต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้จัดทำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เรื่องหลักเกณฑ์แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยเพียงเสียงเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า