SHARE

คัดลอกแล้ว

เรื่องราวของ “ลุงศรี” ศรีวิชัย สาทิพย์จันทร์ วัย 65 ปี ที่เคยยึดอาชีพขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเมืองพัทยาหาเลี้ยงครอบครัว 4 ชีวิต ประกอบด้วย ป้าศรี ลูกสาวคนโตและลูกชาย มานานกว่า 20 ปี แต่เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ไร้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเยือน

แต่ลุงศรีไม่ยอมจำนน และได้เห็นช่องทางทำกินใหม่ ในขณะที่ช่วงล็อกดาวน์คนออกจากบ้านไปซื้อข้าวของมาทำกับข้าวได้ยาก จึงพลิกวิกฤติเป็นโอกาส นำตะกร้าเก่าขึ้นพ่วงท้าย จับผักในสวนมัดเป็นกำ ออกเร่ขายตั้งแต่พัทยาเหนือ พัทยากลาง และพัทยาใต้…

บ้านเดิมของลุงศรี อยู่ที่ จ.บุรีรัมย์ ตอนอายุ 17 ปี เคยมาบวชเรียนที่วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี หลังจากสึกออกมา ตอนอายุ 22 ปี ได้สมัครเป็น “ยาม” ที่โรงแรมในเมืองพัทยา ด้วยที่ลุงศรีเป็นคนมีความคิดอยากก้าวหน้า จึงสอบถามคนในโรงแรมว่า จะทำอย่างไรให้มีโอกาสได้ทำงานในครัว ลุงศรีบอกว่าตอนนั้นคิดว่าถ้าเราเป็นยาม ก็คงเป็นยามอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าได้เข้าครัวน่าจะมีโอกาสได้พัฒนาตัวเองไปเป็นเชฟได้

เพื่อนจึงแนะนำให้ลุงศรีไปสมัครทำงานที่โรงแรมหรู รอยัล คลิฟท์ เริ่มแรกลุงศรีได้เข้าครัว แต่ไปเป็นเด็กล้างจาน ทำความสะอาด กระทั่งไต่เต้าจนได้เป็น ผู้ช่วยเชฟ พออายุ 26 ปี ได้แต่งงานกับป้าศรี มีลูกสาวคนแรกด้วยกันชื่อ จูจู ลุงศรีฝึกหัดงานในครัว จนอายุ 35 ปี ได้เป็นเชฟที่โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน ตอนนั้นมีรายได้ เดือนละ 8,000 บาท

หลังจากเป็นเชฟในโรงแรมระดับห้าดาวสักพัก ก็มีเพื่อนมาชวนไปทำงานเป็นเชฟในภัตตาคาร ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย รายได้กว่าเดือนละ 10,000 บาท ส่วนใหญ่ได้ทำอาหารยุโรป อาหารไทย อาหารฟิลิปปินส์ และอาหารอินโดนีเซีย แต่เมื่อมีลูกชายคนเล็ก ลุงศรีจึงตัดสินใจกลับมาเมืองไทยพร้อมเงินเก็บ 300,000 บาท มาซื้อที่ดินปลูกบ้าน และเริ่มขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเมืองพัทยา เพื่อจะได้มีเวลาอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว

เริ่มต้นอาชีพใหม่ด้วยจุดแข็ง “วินมอเตอร์ไซค์” รู้จักตรอกซอกซอยดีกว่าใครๆ  

ลุงศรี เล่าให้ฟังถึงจุดเปลี่ยนจากการเป็นวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเมืองพัทยา แต่ต้องกลับกลายมาขี่วินพุ่มพวงว่า เริ่มออกเร่ขายผักสดตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา เพราะเกิดโควิดไม่มีนักท่องเที่ยวมาพัทยาเลย แล้วเห็นว่าคนออกจากบ้านไปซื้อของกินกันยาก ลุงเลยคิดว่าเราออกขายผักดีกว่า จึงเอาตะกร้าเก่าๆ ที่มีอยู่ใส่ท้ายรถ เก็บผักจากสวนในบ้าน และบางส่วนไปซื้อจากคนรู้จักกันที่ปลูกผักขายในหมู่บ้านนาวัง อยู่ห่างจากบ้านของลุง ประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นผักที่ปลูกในทุ่งนาไม่ใช่สารเคมี ปลอดภัยกับลูกค้า มาทำเป็นกำ กำละ 20 บาท ใส่ถุงแขวนเป็นพุ่มเป็นพ่วงขี่เร่ขาย ไปตามถนนซอกซอยเล็กๆ ที่รถมอเตอร์ไซค์เข้าไปได้สะดวก เพื่อให้บริการขายผัดสดๆ ถึงหน้าบ้าน

นอกจากผักทั่วไป วินพุ่มพวงของลุงศรี มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนใครตรงที่มีผักในท้องถิ่นตามฤดูกาลมาขายด้วย เช่นผักติ้ว ที่มีช่วงกลางเดือนเมษายน ที่คนนิยมนำไปใส่ต้มยำ หรือจิ้มน้ำพริก แต่ผักที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ “มะเขือเปราะ” ลุงศรีบอกว่า มีเท่าไหร่ก็ขายหมด สำหรับรายได้จากการขายผัก ได้วันละ 200-300 บาท เพียงพอสำหรับกินใช้ เพราะก็กินผักที่ตัวเองขายนี้ด้วยไม่ได้ฟุ่มเฟือยอะไร

“ความซื่อสัตย์-.ใส่ใจ” เป็นจุดขายมัดใจลูกค้า

ลุงศรี บอกด้วยว่า ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อย่างผักที่เราปลูกเอง หรือผักที่ปลอดภัยไร้สาร ลูกค้าจะรู้ว่าเป็นผักคุณภาพดี แต่ถ้าเราไปเอาผักที่ขายในตลาดมาบอกเขาว่า เป็นผักปลูกเองอันนี้คนซื้อเขาดูออก แล้วเขาจะไม่ซื้อเรา อีกอย่างคือความใส่ใจ อย่างตอนขี่รถก่อนไปถึงบ้าน หอพัก ห้องแถวต่างๆ ลุงจะตะโกนเรียกลูกค้า บางคนตะโกนกลับมาให้รอก่อนเพราะเขาอยู่บนชั้น 3 เราก็จอดรอ หรือบางคนอยากได้ผักอะไร เขาจะบอกเรา ถ้าไม่มีวันนั้นเราก็จะถามว่าจะใช้วันไหน รอได้ไหม ลุงจะเอามาขายให้ ลูกค้าเขาก็รอลุง ไม่ไปหาซื้อมาก่อนเพราะเราบริการให้ถึงที่อย่างที่เขาต้องการ

หลังโควิด-19 ผ่อนคลาย คนออกจากบ้านได้มากขึ้น ยอดขายผักก็ลดลงบ้าง แต่ก็ยังขายได้เรื่อยๆ และอีกส่วนที่ขายผักได้ลดลงบ้าง เพราะมีคนมาขี่รถพุ่มพ่วงหลายคัน ซึ่งลุงศรี บอกว่า เห็นดีด้วยที่ขยันเพื่อครอบครัวของเขา ไม่หวง เพราะปากท้องเราไม่มีวันหยุด ส่วนตัวลุงศรีเองก็ยังใช้เส้นทางที่คุ้นเคยเพื่อเร่ขายผัก  โดยป้าศรี ภรรยา จะเริ่มจัดผักใส่ถุงให้ เริ่มออกวิ่งประมาณ 11.00 – 14.00 น.

จากการทำมาหากินในช่วงวิกฤติกลายเป็นอาชีพใหม่ที่ยั่งยืนกว่า

ลุงศรี : “เราขายวินพุ่มพวง มีโอกาสดีคือคนกินทุกวัน แล้วตอนนี้เศรษฐกิจก็ไม่ค่อยดี เพราะว่าคนตกงานว่างงานเยอะ ต่างชาติก็ยังไม่มาเที่ยว ยังไม่ได้เปิดสายการบินเหมือนเมื่อก่อน คนที่จะเที่ยวพัทยาก็ยังไม่มี เราต้องประคองไปก่อนช่วงนี้ ลุงว่าจะวิ่งขายผักไปเรื่อยๆ ดีกว่า เพราะว่าจับมาถูกจุดแล้ว จากครั้งแรกในชีวิตไม่เคยเลย เพิ่งมาหัด ถอดเสื้อวิน แขวนไว้ มาใส่เสื้อกั๊กพุ่มพ่วงที่มากระเป๋าเก็บตังค์อยู่ข้างหน้า”

วันที่เราโทรศัพท์ไปคุยกับลุงศรี ลุงศรีได้บอกกับเราตามตรงว่า ยังไม่ได้ขี่รถสามล้อพุ่มพ่วงที่ได้จากรายการปัญญาปันสุขออกขายผักเพราะยังขี่ไม่คล่อง แต่หัดขี่ทุกวันเพื่อให้คล่อง  พร้อมขอบคุณทีมงานทุกฝ่ายที่ทำให้ลุงได้รถสามล้อที่มีหลังคาด้วยช่วยให้เวลาออกเร่ขายผักไม่ต้องร้อนแดดตากฝน เหมือนใช้มอเตอร์ไซค์พ่วงท้าย

ก่อนจบบทสนทนา ลุงศรีได้ฝากข้อคิดเรื่องทัศนคติการทำงานว่า “ขอให้เรารักอาชีพ อาชีพอะไรก็แล้วแต่ ขอให้เรารักมัน แล้วมันจะบันดาลให้เราสำเร็จ จะช้าหรือไวแค่นั้น ยกตัวอย่าง อย่างที่ลุงขายพุ่มพ่วง เมื่อก่อนลุงไม่เคยคิดว่าลุงจะขายได้ และลุงไม่เคยมีอาชีพขายมาก่อน ไม่เคย เพิ่งเคยเริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 มีนา เป็นจุดประกายที่ลุงเริ่มขาย เพราะความตั้งใจ ความอดทน หนักเอา เบาสู้ มันอยูที่ใจ”

“ถ้าใจเรารัก ทุกคนต้องทำได้ ถ้าเราไม่รักอาชีพที่เราจะทำ มันทำไม่ได้หรอก ขอให้ใจรัก ทุ่มให้เต็มที่ ทำเถอะครับ มองคนที่ด้อยกว่าเรายังทำได้ แล้วเรายังมีมือมีเท้า ขออย่างเดียวใจรัก สำเร็จครับ”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า