Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แทพย์จุฬาฯ เปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหา ‘ลองโควิด’ อาจสัมพันธ์กับความผิดปกติระยะยาวในระบบเลือดและหลอดเลือดขนาดเล็กที่เกิดหลังจากติดเชื้อโรคโควิด-19 ขณะที่จีนพบอาการค้างยาวนานถึง 2 ปี  และซาอุดิอาราเบีย ผลการวิจัยพบว่าลองโอวิดทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบประสาท และปัญหาจิตเวชได้ 

วันที่ 12 พ.ค. 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์โควิด-19 และผลการวิจัยในต่างประเทศเกี่ยวกับภาวะลองโควิด (Long Covid) สาระสำคัญระบุว่าจากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก ถึงแม้ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนเสียชีวิตที่รายงานนั้นลดลงก็ตาม ทั้งนี้ จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 28.42% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

  • อัปเดตงานวิจัยโควิด-19

1. การศึกษาจากประเทศจีน โดย Huang L และคณะพบว่า คนที่ติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล มีอาการคงค้าง Long COVID อย่างน้อย 1 อาการ มากถึง 55% แม้ติดตามยาวมาถึง 2 ปี

2. งานวิจัย โดย Prasanan N และคณะ จาก UCL สหราชอาณาจักร พบว่า กลุ่มคนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วมีอาการคงค้าง Long COVID จะตรวจพบว่า มีความผิดปกติของสารเคมีในเลือดที่อาจนำไปสู่การแข็งตัวของเลือดได้ง่าย

ทั้งนี้ ในกลุ่มผู้ป่วย Long COVID ในการศึกษานั้น มีถึง 1/3 ที่ตรวจพบว่ามีอัตราส่วนของสาร Von Willebrand Factor (VWF) Antigen (Ag):ADAMTS13 สูงขึ้นกว่า 1.5 เท่า นอกจากนี้หากเจาะลึกในกลุ่มที่เป็น Long COVID และมีสมรรถนะในการออกกำลังกายที่จำกัด (impaired exercise capacity) จะตรวจพบความผิดปกติข้างต้นได้ถึง 55% และมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหาสมรรถนะในการออกกำลังกาย ถึง 4 เท่า

งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหา Long COVID ว่า อาจสัมพันธ์กับเรื่องความผิดปกติระยะยาวในระบบเลือดและหลอดเลือดขนาดเล็ก ที่เกิดหลังจากติดเชื้อโรคโควิด-19

3. การศึกษาโดย Alghamdi HY และคณะจากประเทศซาอุดิอาราเบีย พบว่ากลุ่มคนที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้ว จะเกิดปัญหา Long COVID ที่มีอาการผิดปกติของระบบประสาท และปัญหาจิตเวชได้ เกิดได้ตั้งแต่ปัญหาด้านความคิดความจำที่ถดถอยลง ปัญหาด้านการนอนหลับ ซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ ไปจนถึงการสูญเสียสมรรถนะการรับรสหรือดมกลิ่น โดยจากการสำรวจพบว่ามีผู้ที่ประสบอาการต่างๆ ตั้งแต่ 18.9-63.9%

ทั้งนี้ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood alteration) ที่คงอยู่ยาวนานกว่า 6 เดือนนั้นพบได้สูงถึง 7.6%

สำหรับไทยผลลัพธ์ในด้านการควบคุมป้องกันโรคระบาดนั้นสะท้อนให้เห็นได้ทั้งในเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อแต่ละวัน จำนวนเสียชีวิตแต่ละวัน ซึ่งยังติดอันดับ Top 10 ของโลก การใช้ชีวิตประจำวันจำเป็นต้องมีความระมัดระวัง ป้องกันตัวเสมอ ทั้งการทำงาน ทำมาค้าขาย ศึกษาเล่าเรียน การใส่หน้ากากนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นด่านสุดท้ายที่จัดการตนเองได้ ใส่หน้ากากควรปิดปากปิดจมูก ไม่ใช่ใส่ๆ หลุดๆ

การใส่แล้วพูด หากหน้ากากหลุดลงมา แปลว่าหน้ากากนั้นไม่เหมาะ ต้องปรับเปลี่ยนชนิดหน้ากาก หรือวิธีการใส่ และหน้ากากอนามัยที่ใช้ควรแนบชิดกับใบหน้า ถ้ามีร่องข้างแก้มข้างจมูก ควรกดให้แนบชิด หรือใส่หน้ากากผ้าทับด้านนอกเพื่อช่วยกดหน้ากากอนามัยด้านในให้แนบกับใบหน้ายิ่งขึ้น

อ้างอิง
1. Huang L et al. Health outcomes in people 2 years after surviving hospitalisation with COVID-19: a longitudinal cohort study. The Lancet Respiratory Medicine. 11 May 2022.
2. Prasannan N et al. Impaired exercise capacity in post-COVID syndrome: the role of VWF-ADAMTS13 axis. Blood Advances. 11 May 2022.
3. Alghamdi HY et al. Neuropsychiatric symptoms in post COVID-19 long haulers. Acta Neuropsychiatr. 11 May 2022.

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า