Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ครม.เคาะผ่อนปรนเงื่อนไขการนำเข้าข้าวสาลี-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นการชั่วคราว ผู้นำเข้าทั่วไปไม่เกิน 6 แสนตัน ช่วง พ.ค.- ก.ค.65 รวม 3 เดือน

วันที่ 3 พ.ค. 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร ผ่อนปรนมาตรการภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้ WTO ในโควตา โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) และผู้นำเข้าทั่วไปเป็นผู้นำเข้าได้ระหว่างเดือน พ.ค.-ก.ค. 65 (3 เดือน) ในอัตราภาษีร้อยละ 0 ปริมาณไม่เกิน 6 แสนตัน หรือร้อยละ 50 ของความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน

จากเดิมที่ให้ อคส. เป็นผู้นำเข้าเพียงผู้เดียวในอัตราภาษีร้อยละ 20 ปริมาณไม่เกิน 54,700 ตัน ภายหลัง ครม.เห็นชอบแล้วให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์เร่งรัดออกประกาศและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นโยบายและมาตรการตามข้อเสนอนี้ มีผลบังคับใช้โดยเร็วต่อไป

  • ผ่อนปรนเงื่อนไขการนำเข้าข้าวสาลีชั่วคราว

นอกจากนี้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2565 ผ่อนปรนเงื่อนไขการนำเข้าข้าวสาลี โดยยกเว้นการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วนต่อการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วนเป็นการชั่วคราว ระหว่างเดือน พ.ค.-ก.ค. 65 และหากมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ นับตั้งแต่เดือน เม.ย. รวมทุกช่องทางในปริมาณ 1.2 ล้านตันให้สิ้นสุดการผ่อนปรนแล้วกลับไปใช้มาตรการเดิม

กระทรวงพาณิชย์ได้หารือร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ผู้รวบรวมและผู้ผลิตอาหารสัตว์ มีข้อยุติร่วมกันในการเพิ่มปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยังไม่เพียงพอ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.2 ล้านตัน ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์และต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ จึงเห็นควรผ่อนปรนเงื่อนไขการนำเข้าเป็นการชั่วคราวเพื่อบรรเทาปัญหาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผ่อนคลายสถานการณ์ต้นทุนในภาคปศุสัตว์และช่วยให้ประชาชนไม่รับภาระราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นด้วย

นายกรัฐมนตรี กำชับให้ติดตามเฝ้าระวังการดำเนินการตามมาตรการภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ พร้อมให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำความตกลงขอความร่วมมือผู้ประกอบการที่ได้สิทธิประโยชน์จากมาตรการในครั้งนี้ ตรึงราคาสินค้าปศุสัตว์ที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภคเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนด้วย

  • ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขณะที่ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก โฆษกรัฐบาล แถลงว่า ครม. มีมติอนุมัติโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565 วงเงิน 224.44 ล้านบาท มีพื้นที่เป้าหมาย Tier 1 จำนวน 2.06 ล้านไร่ พื้นที่ Tier 2 จำนวน 6 หมื่นไร่ เพื่อให้เกษตรกรมีเครื่องมือจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติผ่านระบบการประกันภัย และเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือของภาครัฐในการรองรับต้นทุนการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565

รัฐบาลจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย Tier 1 ร้อยละ 60 และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อุดหนุนค่าเบี้ยประกัน Tier 1 ร้อยละ 40 มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1. ค่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน Tier 1 แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
– กลุ่มลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ค่าเบี้ยประกันภัย 160 บาทต่อไร่ พื้นที่เป้าหมาย 2 ล้านไร่ รัฐจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 96 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 60) และ ธ.ก.ส.จะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้อีก 64 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 40)
– กลุ่มลูกค้าเกษตรกรทั่วไป ค่าเบี้ยประกันภัยแยกเป็นพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ 150 บาทต่อไร่ พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง 350 บาทต่อไร่ พื้นที่ความเสี่ยงสูง 550 บาทต่อไร่ รวมพื้นที่เป้าหมายไม่เกิน 6 หมื่นไร่ โดยรัฐอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 90 บาทต่อไร่เท่ากันทุกพื้นที่ความเสี่ยง

2. ค่าเบี้ยประกันภัยแบบสมัครใจ Tier 2 ซึ่งเกษตรกรซื้อเพิ่มเติมและจะต้องจ่ายค่าเบี้ยเองตามระดับความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ คือ พื้นที่เสี่ยงภัยต่ำ 90 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงภัยปานกลาง 100 บาทต่อไร่ และพื้นที่เสี่ยงภัยสูง 110 บาทต่อไร่ โดยมีพื้นที่เป้าหมายไม่เกิน 6 หมื่นไร่

สำหรับวงเงินความคุ้มครอง ครอบคลุมภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยพิบัติธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ ช้างป่า โดย Tier1 ให้วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติจำนวน 1,500 บาทต่อไร่ และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด จำนวน 750 บาทต่อไร่ ส่วน Tier2 ให้วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติจำนวน 240 บาทต่อไร่ และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด จำนวน 120 บาทต่อไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรที่สนใจสามารถซื้อกรมธรรม์ได้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา

น.ส.รัชดา กล่าวว่า จากผลการดำเนินโครงการในปีการผลิต 2564 ที่ผ่านมา (ณ 15 ม.ค. 2565 สิ้นสุดจำหน่ายกรมธรรม์) มีเกษตรกรผู้เอาประกันภัยพื้นฐาน Tier 1 จำนวน 99,335 ราย มีพื้นที่เข้าร่วมประกันภัยจำนวน 1.60 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 55.78 ของจำนวนพื้นที่เป้าหมาย ทั้งนี้ รัฐบาลขอประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรร่วมทำประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นการลดความสูญเสียหากเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืชหรือโรคระบาด สำหรับเกษตรกรที่สนใจสามารถซื้อกรมธรรม์ได้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า