SHARE

คัดลอกแล้ว

 

เด็กไทยหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับคำพูดเปรียบเทียบทำนองว่า ‘ทำไมไม่เก่งเหมือนลูกบ้านนู้น’ คำว่าเก่งที่ถูกตีกรอบและใช้เกรดเฉลี่ยเป็นมาตรฐาน คำว่าเก่งที่ดูจากสถาบันและมหาวิทยาลัยที่สอบติด เพราะสังคมที่ทุกคนต้องพึ่งตัวเองย่อมไม่มีที่ว่างให้ผู้แพ้ เลยมีตัวชี้วัดไม่มากที่จะตัดสินให้เราเป็นผู้ชนะ

ถ้าเปรียบเด็กเป็นต้นไม้ ก็เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่แตกต่างกัน และเป็นไปไม่ได้ที่ต้นไม้ทุกประเภทจะงอกงามอย่างพร้อมเพรียงในกระถางเดียว สังคมไทยซึ่งเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงก็ไม่ต่างจากกระถางต้นไม้ขนาดใหญ่ ที่เป็นฐานให้ต้นไม้นับล้านๆ ต้นเติบโต แต่กลับเป็นกระถางที่มีดินประเภทเดียว ต้นไม้ไหนอยู่รอดก็ชนะไป ส่วนต้นไหนอยู่ไม่ได้ก็ต้องเหี่ยวเฉาไปตามยถากรรม

ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มาพูดคุยกับรายการ Tomorrow เกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาการเข้าถึงการศึกษา ปัญหาความกดดัน และท้ายที่สุด เป็นที่มาของปรากฏการณ์โรคซึมเศร้าในเด็กเจนใหม่ ผ่านมุมมองหนังสือ หนังสือ เผด็จการความคู่ควร The Tyranny of Merit: What’s Become of the Common Good? 

เราจะมาคุยเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างปัญหารัฐสวัสดิการ สังคมเหลื่อมล้ำ และความเจ็บช้ำของเด็กเจนใหม่ ผ่านประสบการณ์ และมุมมองในฐานะอาจารย์กัน

[รัฐสวัสดิการที่ไม่เพียงพอ อีกหนึ่งต้นเหตุความเหลื่อมล้ำ]

หากบอกว่าปัญหารัฐสวัสดิการไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาความเหลื่อมล้ำและค่านิยม ‘ใครดี-ใครได้’ คงไม่เกินจริง

อธิบายก่อนว่า ‘รัฐสวัสดิการ’ เกิดขึ้นมาเพื่ออุดช่องว่าง อุดความแตกต่างของฐานะทางสังคม ด้วยการให้ความช่วยเหลือเรื่องพื้นฐานอย่างการศึกษา การรักษาพยาบาล หรือเงินช่วยเหลือคนสูงอายุ-คนพิการ พูดง่ายๆ คือมันมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียม

อ.ประจักษ์ยกตัวอย่างประเทศแถบสแกนดิเนเวียอย่างเช่น เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ ซึ่งมักจะเป็นประเทศที่ถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่างของชาติที่มีรัฐสวัสดิการดี เพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานของคน มันทำ ‘เงิน’ ไม่ใช้ตัวแปรสำคัญในการหาความสุขใส่ตัวมากเท่าประเทศที่ประชาชนต้องขวนขวายกันเอง

อ.ประจักษ์ย้ำว่า ‘เงินยังสร้างความสุขได้’ แต่ในประเทศที่กล่าวถึงไป เงินที่หามาได้ไม่ต้องเก็บสำรองไว้เป็นค่าเทอมลูก ค่ารักษาพยาบาล แล้วความสุขพื้นฐานอย่างห้องสมุด หรือสวนสาธารณะดีๆ ก็เป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไป เมื่อถึงจุดหนึ่ง ความร่ำรวยจึงไม่สร้างความแตกต่างทางความสุขมากขนาดนั้น เพราะประชาชนเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิตแล้ว

แตกต่างจากสังคมไทยยังเจอปัญหาส่วนนี้อยู่ หากพ่อแม่อยากให้ลูกมีการศึกษาที่ดี ก็ต้องยอมจ่ายเงินแพงขึ้นมาหน่อย อยากได้รับบริการสุขภาพที่ดีและรวดเร็วก็ต้องมีเงินสำรอง จึงไม่แปลกที่ทำให้สังคมของเราปลูกฝังค่านิยม ‘รวย=ประสบความสำเร็จ’ เพราะเงินเป็นต้นกำเนิดความสุข ความสะดวกสบาย และเป็นตั๋วใบสำคัญที่จะทำให้เราอยู่รอดในสังคมได้

[ความเหลื่อมล้ำพรากโอกาสการแข่งขัน]

“ยิ่งรวยยิ่งมีโอกาสเก่งมากกว่า” คือความจริงที่ยากจะปฏิเสธ อ.ประจักษ์เล่าว่า ไม่ใช่แค่ที่ไทย แต่ถ้าไปดูมหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลกอย่าง Havard หรือ Yale  จะพบว่าเด็ก 2 ใน 3 ที่สามารถเข้าไปเรียนในสถาบันเหล่านี้ได้เป็นกลุ่มคนที่รวยที่สุด 10% ของสังคม

ดังนั้นมายาคติที่ว่า ‘การศึกษาคือช่องทางเลื่อนชนชั้นทางสังคม’ อาจไม่เป็นจริงเสมอไป เพราะโอกาสที่นักเรียนสักคน จะเข้ามหาวิทยาลัยระดับต้นๆ ของประเทศ หรือของโลก ต้องผ่านสนามแข็งขันที่เข้มข้น คนที่มีพื้นฐานทางครอบครัว ทางการเงินที่ดีมาตั้งแต่ต้นย่อมได้เปรียบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ส่วนคนที่ตกขบวนไปแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึง เด็กที่มีต้นทุนทางสังคมน้อยไม่มีสิทธิเข้ามาร่วมแข่งในลู่วิ่งด้วยซ้ำ เพราะลำพังแค่จะหาเลี้ยงชีพ จุนเจือครอบครัวก็ไม่มีแรงเหลือให้ฝัน หรือแม้แต่จะพัฒนาตัวเอง หรือต่อให้มีความฝันได้จริง ก็ยังยากที่จะมาแข่งในสนามที่คู่แข่งนำหน้าไปหลายช่วงตัว 

อ.ประจักษ์เสริมข้อมูลนึงที่น่าสนใจไม่น้อยคือ กองทุนเสมอภาคเพื่อการศึกษาว่า ปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัวทำให้เด็กที่ยังอยู่ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ (ป.1-ม.3) หลุดออกจากระบบไปกว่า 4 แสนคน 

และในช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมายังพบว่า มีเด็กไทยเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาประมาณ 2.4 ล้านคน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเด็กที่สูญเสียโอกาสเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจนที่สุด 40% อธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นคือครอบครัวที่มีรายได้ 400 บาท/เดือน

จึงไม่แปลกที่หนังสือจะสรุปข้อเท็จจริงหนึ่งไว้ว่า “ยิ่งในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำสูง เงินเป็นตัวกำหนดความสามารถ”

 

[แนวคิด ‘ใครดีใครได้’ กำลังทำร้ายเด็กยุคใหม่]

ไม่ใช่แค่ทำร้ายเด็กที่พ่ายแพ้ แต่เด็กที่ชนะเองก็ได้รับบาดแผลไปไม่น้อยจากแรงกดดันทางสังคมและครอบครัว การที่สังคมกำหนดว่าต้องประกอบ ‘อาชีพ’ ไหน ถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ ก็เหมือนมีลู่วิ่งเดียวให้เด็กต้องเดินตาม เด็กที่ทำได้ ก็ต้องทนอยู่กับสิ่งที่พวกเขาอาจจะไม่ได้ปรารถนามันมาตั้งแต่แรก แต่ต้องทนอยู่ไป เพื่อไม่ให้ตัวเองกลายเป็นคนพ่ายแพ้ในสังคม

อ.ประจักษ์เล่าว่า หนึ่งในปัญหาหลักๆ คือเด็กยุคใหม่ต้องเจอคือเรื่องของสุขภาพจิต ที่สังเกตว่าช่วง 4-5 ปี ประเด็นนี้ถูกพูดถึงในสังคมมากจนกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งนอกจากความคาดหวังจากคนรอบตัว ก็ถูกค่านิยมทางสังคมกดทับว่าต้องทำตัวยังไงถึงจะมีที่ยืนในสังคม 

หากกลับไปดูประเทศพัฒนาหลายๆ ประเทศ ทุกคนไม่จำเป็นต้องจบปริญญา สามารถประกอบอาชีพตามความถนัดของตัวเอง อย่างอาชีพช่างต่างๆ ก็มีรายได้มากพอที่เลี้ยงชีพ และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขเฉกเช่นอาชีพอื่นๆ 

เมื่อเด็กมีอิสระที่จะคิด จะทำ จะเลือกทางเดินของตัวเอง โดยไม่มีใครคอยชี้ว่าสิ่งใดถูก หรือผิด ก็ทำให้ความเครียดในการใช้ชีวิตน้อยลง แต่ไม่ต้องกดดันตัวเองตลอดเวลา

อ.ประจักษ์ได้ทิ้งท้ายด้วยการสรุปเนื้อหาภายในหนังสือสั้นๆ คือ “ประเทศที่มีรัฐสวัสดิการที่ดี น่าอยู่กว่าประเทศทุนนิยมเสรี” ในสังคมทุนนิยมเสรีไม่โอบอุ้มผู้แพ้ มีผู้คนมากมายถูกทิ้งไว้ข้างหลัง รัฐไม่หยิบยื่นโอกาสและมือเข้าไปช่วย สุดท้ายคุณก็พ่ายแพ้ให้กับระบบ

ส่วนผู้ชนะก็ไม่มีเส้นชัย ต้องตะเกียงตะกายต่อไปอย่างไม่รู้จบสิ้น ใช้ชีวิตอยู่กับความคาดหวังของสังคม และความกดดันของตัวเอง เมื่อรวยสิบล้านก็หาทางไปสู่ร้อยล้าน นี่ไม่ใช่สังคมที่น่าอยู่เลย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า