Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อัปเดตสถานการณ์โรค ‘ฝีดาษลิง’ ล่าสุดทั่วโลกพบผู้ป่วย 344 คน ส่วนไทยคุมเข้มคัดกรองที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการแพร่ระบาด ให้สังเกตอาการ 21 วัน ‘อนุทิน’ เผยผลตรวจผู้ป่วยสงสัยไม่พบผู้ติดเชื้อ

วันที่ 27 พ.ค. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงการเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ว่า หลังเดินทางกลับจากการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 75 มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมาได้รับรายงานการเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงและมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองโรคจาก นพ.โรม บัวทอง ผู้อำนวยการกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กรมควบคุมโรค ซึ่งผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยยังต้องลงทะเบียนผ่าน Thailand pass หากพบผู้ป่วยที่สงสัยโรคฝีดาษลิง จะส่งมายังสถาบันบำราศนราดูร เพื่อเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ขณะนี้ผลการตรวจผู้ป่วยสงสัยที่เดินทางมาจากประเทศที่เฝ้าระวังยังไม่พบเชื้อโรคฝีดาษลิง แต่พบเป็นเชื้อเริม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคใดก็ต้องระวังเรื่องการสัมผัสใกล้ชิด ดังนั้น การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ และการเว้นระยะห่าง สามารถช่วยป้องกันได้

ทั้งนี้ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกได้เข้าพบนายเท็ดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก หารือเรื่องการขอสนับสนุนวัคซีนฝีดาษลิง ซึ่งรับปากว่าหากมีความจำเป็นจะให้การสนับสนุนตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ

อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้เตรียมการพึ่งพาตนเองด้วยโดยองค์การเภสัชกรรมมีการเก็บวัคซีนโรคฝีดาษคนแช่แข็งไว้กว่า 40 ปี ได้ส่งไปยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจสอบคุณภาพแล้ว

  • ทั่วโลกป่วยฝีดาษลิง 344 คน สธ.ย้ำมาจากประเทศเสี่ยงกักตัว 21 วัน

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิงทั่วโลกว่า ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 2565 มีการรายงานผู้ป่วยรายแรกในประเทศที่ไม่ใช่พื้นที่โรคประจำถิ่นของโรคนี้ โดยข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ค.2565 มีการรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 344 คน (เพิ่มขึ้น 35 คน) โดยประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สเปน 120 คน อังกฤษ 77 คน โปรตุเกส 49 คน แคนาดา 26 คน และเยอรมนี 13 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ติดโรค อยู่ในกลุ่มอายุ 20-59 ปี

สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษลิงในประเทศไทย ณ วันที่ 26 พ.ค.2565 ยังไม่พบผู้ป่วยภายในประเทศ แต่ยังต้องเฝ้าระวังและคัดกรองอย่างเข้มงวดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำหรับผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศเสี่ยงที่มีการรายงานพบผู้ป่วย โดยให้เฝ้าระวังสังเกตอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบ และรายงานเข้าสู่ระบบ Thailand pass เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในประเทศ

โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae พบได้ในสัตว์หลายชนิด ไม่ใช่แค่ลิง พบได้ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น กระต่าย กระรอก หนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก การติดต่อจากสัตว์สู่คนเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อและปรุงสุกไม่เพียงพอ การติดเชื้อจากคนสู่คนเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน หรืออาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย จากนั้น 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา จะมีอาการป่วยประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากสัตว์ พร้อมทั้งรับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า