Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รอง ผอ.โรงพยาบาลน่าน เผยมีชาวบ้านเก็บเห็ดพิษไปปรุงเป็นอาหาร ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลพบพิษจากเห็ดทำลายตับและไตอย่างรุนแรง อาการโคม่า ช่วงเดือน พ.ค.- มิ.ย. 2562 มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน

วันที่ 14 มิ.ย.2562 นายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยที่กินเห็ดพิษแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว อ่อนเพลีย ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลบ่อเกลือ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลน่าน จำนวน 2 ราย โดย 1 ในนั้นมีอาการหนักเนื่องจากพิษทำลายตับและไตอย่างรุนแรง จากการซักประวัติผู้ป่วยทราบว่า มีการเก็บเห็ดป่าสีขาวชนิดหนึ่งจากป่า ต.บ่อเกลือ อ.บ่อเกลือ นำมาปรุงอาหารกินและดื่มสุราด้วยกัน 3 คน ซึ่งหลังรับประทานประมาณ 3 ชั่วโมง ทุกคนเริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ญาติได้ช่วยกันนำตัวส่งรักษาที่โรงพยาบาลบ่อเกลือ โดย 1 ใน 3 อาการดีขึ้นแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว แต่อีก 2 ราย มีอาการตับอักเสบ เอนไซม์ตับสูงขึ้น มีภาวะไตเสื่อม จึงส่งต่อมารักษาที่โรงพยาบาลน่าน และจากการสอบถามลักษณะเห็ดเบื้องต้น สันนิษฐานว่าเป็นเห็ดระโงกหิน หรือเห็ดโม่งโก้งตีนตัน ซึ่งเป็นเห็ดมีพิษ โดยพิษจะทำลายตับและไตอย่างรุนแรงด้วย

นายแพทย์พงศ์เทพ ฝากเตือนให้ระวังการรับประทานเห็ดพิษ เพราะในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะพบสถานการณ์ผู้ป่วยจากการรับประทานเห็ดมีพิษ เนื่องจากเห็ดที่กินได้ กับเห็ดพิษมีลักษณะคล้ายกัน โดยเห็ดที่กินได้ คือเห็ดโม่งโก้งตีนกลวง โคนเห็ดจะมีช่องอากาศกลวงอยู่ แต่เห็ดพิษก้านเห็ดจะตัน ซึ่งชาวบ้านอาจเกิดความสับสนเวลาเก็บ และเมื่อเก็บมารวมกันมาก ก็ยากที่จะตรวจสอบได้ว่าเป็นเห็ดชนิดกินได้หรือกินไม่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ อำเภอบ่อเกลือ และเฉลิมพระเกียรติ พบมีเห็ดพิษชนิดนี้แพร่กระจายอยู่ ทุกปีจะมีชาวบ้านถูกหามส่งรักษาตัวโรงพยาบาล และในบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตด้วย

ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-26 พฤษภาคม 2562 พบผู้ป่วยจากการรับประทานเห็ดพิษ 141 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ อายุมากกว่า 65 ปี รองลงมา 55-64 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรกคือ อุบลราชธานี อํานาจเจริญ ศรีสะเกษ ตาก และเพชรบุรี เฉพาะในช่วงหน้าฝน 2 เดือนของปีนี้ (เดือน พ.ค.-มิ.ย. 2562) พบผู้เสียชีวิตแล้วถึง 5 ราย ล่าสุดข้อมูลในช่วงเดือน พ.ค.- มิ.ย. 2562 กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานเหตุการณ์ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษ จำนวน 5 เหตุการณ์ จากจังหวัดศรีสะเกษ ตาก อํานาจเจริญ เชียงใหม่ และ เลย

ด้านนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า เห็ดที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตส่วนใหญ่ คือ เห็ดระโงกพิษ บางแห่งเรียกว่าเห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก หรือเห็ดไข่ตายซาก ซึ่งเห็ดชนิดนี้คล้ายคลึงกับเห็ดระโงกขาว หรือไข่ห่าน ที่สามารถรับประทานได้ แต่แตกต่างกันคือ เห็ดระโงกพิษจะมีก้านสูง กลางดอกหมวกจะนูนเล็กน้อย มีกลิ่นค่อนข้างแรง นอกจากนี้ยังมีเห็ดป่าชนิดที่มีพิษรุนแรงคือ เห็ดเมือกไครเหลือง โดยประชาชนมักสับสนกับเห็ดขิง ซึ่งชนิดที่เป็นพิษจะมีเมือกปกคลุมและมีสีดอกเข้มกว่า และยากแก่การสังเกตด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ทดสอบความเป็นพิษของเห็ด เช่น การจุ่มช้อนเงินลงไปในหม้อต้มเห็ด การนำไปต้มกับข้าวสาร หรือใช้ปูนกินหมากป้ายที่ดอกเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะกลายเป็นสีดำ เป็นต้น ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิงในการใช้ทดสอบพิษกับเห็ดกลุ่มนี้ได้ โดยเฉพาะเห็ดระโงกพิษที่มีสารพิษที่ทนต่อความร้อน แม้จะปรุงให้สุกแล้ว เช่น ต้ม แกง ก็ไม่สามารถทำลายสารพิษนั้นได้ จึงไม่ควรใช้วิธีการเหล่านี้ทดสอบความเป็นพิษของเห็ด

อาการหลังรับประทานเห็ดพิษ จะคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือถ่ายอุจจาระเหลว ไม่ควรซื้อยากินเองหรือไปรักษากับหมอพื้นบ้าน การช่วยเหลือในเบื้องต้นคือกระตุ้นให้ผู้ป่วยอาเจียน ที่สำคัญต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการรับประทานเห็ดโดยละเอียด พร้อมกับนำตัวอย่างเห็ดพิษไปด้วย (หากยังเหลืออยู่) และควรให้ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือนัดติดตามอาการทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปกติ เนื่องจากเห็ดพิษชนิดร้ายแรงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในช่วงวันแรก แต่หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงตามมาคือ การทำงานของตับและไตล้มเหลว อาจทำให้เสียชีวิตได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า