Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มช.เผยค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” เตรียมพัฒนา หลังพบอาจมีสารต้านมะเร็ง

วันที่ 19 ส.ค. 62 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แถลงข่าวการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ  ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะนักวิจัย แถลง ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก “พรหมจุฬาภรณ์” ในสกุลมหาพรหม โดยค้นพบจากป่าบนเขาหินปูนในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า ได้ร่วมกับ คณะนักวิจัยทำการวิจัยเรื่อง “อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพรรณไม้วงศ์กระดังงา (Annocaceae) ในประเทศไทยที่หายากและยังไม่เป็นที่รู้จัก เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน”

ซึ่งโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหนังสือพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทย (Flora of Thailand) และได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือชื่อใหม่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่

ในการวิจัยครั้งนี้ได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก (new species) ในสกุลมหาพรหม (Mitrephora (Blume) Hook.f. & Thomson) จากป่าบนเขาหินปูนในจังหวัดนครศรีธรรมราช พืชชนิดนี้มีลักษณะเด่น คือ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 2 เมตร มีดอกขนาดเล็กที่สุดในสกุล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร สีขาวเด่น และเปลี่ยนเป็นสีครีมเมื่อดอกมีอายุมากขึ้น มีกลิ่นหอมปานกลางคล้ายกลิ่นดอกโมก กลีบดอกชั้นในประกบกันเป็นรูปโดม โคนกลีบคอด เผยให้เห็นช่องว่างระหว่างกลีบ ผลเมื่อสุกสีแดงอมส้ม

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้กราบทูลขอพระราชทานนามไทย “พรหมจุฬาภรณ์” สำหรับพืชชนิดใหม่ของโลกชนิดนี้ และกราบทูลขอพระราชทานนามระบุชนิด “Chulabhorniana” เพื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitrephora Chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku และได้รับพระราชทานนามทั้งสอง อันเป็นเกียรติแก่คณะผู้วิจัยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอย่างยิ่ง

พรหมจุฬาภรณ์ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Brittonia เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นพันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งยวด (critically endangered) พบเพียงไม่กี่ต้น บริเวณป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่นอกเขตอนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบบนิเวศเขาหินปูนนั้นเป็นระบบนิเวศที่เปราะบาง และมักพบสิ่งมีชีวิตที่จำเพาะ กล่าวคือ ไม่พบที่อื่นใดอีก เมื่อถูกคุกคามมีโอกาสสูญพันธุ์สูง

เขาหินปูนลูกที่พบต้นพรหมจุฬาภรณ์นี้ มีโอกาสถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากการขยายตัวของสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งการระเบิดหินปูนเพื่อการใช้ประโยชน์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งประชาชนคนไทยทุกคน ต้องช่วยกันหวงแหนเขาหินปูนในประเทศไทย เพื่ออนุรักษ์ไม่ให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลก

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อช่วยขยายพันธุ์ต้นพรหมจุฬาภรณ์ให้มีจำนวนมากขึ้น และนำไปปลูกอนุรักษ์ไว้ในสวนพฤกษศาสตร์ หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นการลดโอกาสการสูญพันธุ์ของต้นพรหมจุฬาภรณ์

การค้นพบ “พรหมจุฬาภรณ์” นี้ จัดได้ว่าเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาต่อยอดในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนายารักษาโรคจากพืชสมุนไพร ก็เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยพบว่าพืชสกุลมหาพรหมหลายชนิดมีสารเคมีทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ต้นพรหมจุฬาภรณ์ก็อาจจะมีสารเคมีทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง และอาจพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งได้ในอนาคต ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งและพัฒนายาต้านมะเร็งเป็นหนึ่งในพระปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า