Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหาหมอกควันไฟป่าส่งผลกระทบรุนแรงทางภาคเหนือ วิสัยทัศน์ในการมองต่ำทำให้สายการบินนกแอร์ไม่สามารถนำเครื่องลงจอดที่สนามบินได้ สุดท้ายต้องประสานของจอดที่สนามบินพิษณุโลกแทน ขณะที่รัฐบาลเร่งเปิดปฏิบัติการฝนหลวงพร้อมแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ‘เชียงใหม่-แม่สอด’ แล้ว

ข้อมูล (คพ.) พบว่าทุกจังหวัดภาคเหนืออยู่ในระดับสีแดง จ.ตาก พบจุดความร้อนมากที่สุด 367 จุด รองลงมาคือ จ.อุตรดิตถ์ 200 จุด และจ.น่าน 188 จุด หมอกควันที่ปกคลุมไปทั่วพื้นที่ส่งผลกระทบต่อการบินพาณิชย์ วานนี้ (2 มี.ค. 2566) เที่ยวบิน DD.190 ของนกแอร์ลงจอดไม่ได้เนื่องจากทัศนวิสัยไม่ได้ นักบินได้บินบนหลายรอบแต่ลงจอดไม่ได้ จึงตัดสินบินนำผู้โดยสารไปลงที่ท่าอากาศยานจังหวัดพิษณุโลก

จังหวัดวิกฤตตั้งรับหมอกควันไฟป่า

นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ประกาศให้ 9 อำเภอ สร้างการรับรู้ เน้นย้ำการปฏิบัติตามประกาศจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง กำหนดเขตควบคุมไฟป่า และขอความร่วมมือห้ามเผาโดยเด็ดขาด60 วัน ตามประกาศจังหวัดไปจนถึงวันที่ 16 เม.ย.นี้

เช่นเดียวกับ จ.เชียงใหม่ สถานการณ์ไฟป่าและฝุ่นควันมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จุดความร้อนส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัด ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันเชียงใหม่ จึงให้งดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามระบบ FireD ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวน ส่วนพื้นที่เกษตรและพื้นที่ทำกินให้อยู่ในอำนาจของนายอำเภอพิจารณาอนุญาต

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิด 5 แผนปฏิบัติการดับไฟลดฝุ่น คือ

  1. ทำแนวกันไฟ ให้มากที่สุด
  2.  ป้องปรามการเผาทุกพื้นที่
  3. หากมีการเผาเกิดขึ้น เร่งดับให้ได้ภายในวันนั้น
  4. ไฟที่ลุกลามเป็นวงกว้าง ให้ระดมกำลังคน รถน้ำ และเฮลิคอปเตอร์ เข้าดับให้เร็วที่สุด
  5. เฝ้าติดตามความชื้นในอากาศ เมื่อพร้อม ให้เร่งทำฝนหลวงทันที โดยกำหนดเป้า ให้มีฝนตกทุก 15 วัน

ข้อมูลรายงานคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พบว่าทุกจังหวัดภาคเหนืออยู่ในระดับสีแดง สูงสุดที่ ต.ธานี จ.สุโขทัย 224 มคก.ต่อลบ.ม. ขณะที่จุดความร้อนล่าสุด จ.ตาก ก็ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีจุดความร้อนมากที่สุด 367 จุด รองลงมาคือ จ.อุตรดิตถ์ 200 จุด และจ.น่าน 188 จุด

เปิดปฏิบัติการฝนหลวงพร้อมแก้ปัญหา PM2.5 ‘เชียงใหม่-แม่สอด’

และวันนี้ (3 มี.ค. 2566) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามความพร้อมของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ใน 5 ภูมิภาค จำนวน 7 ศูนย์ เพื่อเข้าแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่มีค่าเกินมาตรฐาน รวมถึงเข้าช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง สร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าไม้ การป้องกันการเกิดไฟป่าและบรรเทาปัญหาหมอกควัน ซึ่งทุกหน่วยมีความพร้อมขั้นสูงสุด และสามารถออกปฏิบัติการในทุกโอกาสเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้รับเรื่องขอรับบริการจากพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก ลำปาง อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ และภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา และระยอง แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถออกปฏิบัติการได้ เนื่องจากสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยระดับปฏิบัติการ มีค่าต่ำกว่า 60% อากาศมีเสถียรภาพ ส่งผลให้เมฆไม่ก่อตัวในพื้นที่เป้าหมาย หรือกลุ่มเมฆในพื้นที่เป้าหมายไม่เข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการ

สำหรับแนวทางการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของสภาพอากาศและความต้องการน้ำในแต่ละพื้นที่ของประเทศ เพื่อตอบโจทย์ความเดือดร้อนของประชาชน โดยมีอากาศยานทั้งหมด 30 ลำ ประกอบด้วย อากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จำนวน 24 ลำ และอากาศยานของกองทัพอากาศ จำนวน 6 ลำ

สถานการณ์ PM2.5 รุนแรงช่วงวันที่ 1 – 7 มี.ค. 2566 

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยให้ความสำคัญกับการดูแลและป้องกันสุขภาพของประชาชน เนื่องจากเมื่อรับสัมผัส PM2.5 เข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอาการตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ อาจมีอาการกำเริบและเสี่ยงที่จะมีอาการทรุดหนักได้

จากการเฝ้าระวังอาการและพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 ด้วย “4 Health_PM2.5” พบว่าในช่วงวันที่ 21 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ที่มีอาการจากการรับสัมผัส PM2.5 ร้อยละ 68.3 โดยอาการที่พบมากที่สุด คือ คันตา ร้อยละ 23.3 รองลงมาคือ แสบตาและแสบจมูก ร้อยละ 20 และคัดจมูก ร้อยละ 16.7

กรมอนามัยขอแนะนำให้ประชาชนตรวจเช็กค่าฝุ่นและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 โดยหากค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม หรือมีค่า 51 – 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประชาชนทั่วไปควรลดหรือจำกัดการทำกิจกรรมนอกอาคาร เปลี่ยนมาออกกำลังกายในอาคาร สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นเมื่อออกนอกอาคาร ผู้มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม

“หากค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีแดง หรือมีค่า 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป ประชาชนทั่วไปควรลดหรืองดการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายนอกอาคาร เปลี่ยนมาออกกำลังกายในอาคาร สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นเมื่อออกนอกอาคารทุกครั้ง สำหรับกลุ่มเสี่ยงให้งดออกนอกอาคาร ผู้มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างน้อย 5 วัน นอกจากนี้ ประชาชนควรเฝ้าระวังตนเองด้วยการประเมินอาการจากการรับสัมผัส PM2.5 พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ “4HealthPM2.5” หรือ เว็บไซต์ “คลินิกมลพิษออนไลน์” และหากมีอาการรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หายใจมีเสียงหวีด ให้รีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมอนามัย 1478 หรือกรมควบคุมโรค 1422” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า