Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เวทีเสวนาโรคหืดว่าด้วยมิติใหม่การรักษาและรับมือฝุ่นพิษปลายปี พบฝุ่นPM2.5 ทำให้มีผู้ป่วยหอบหืดเพิ่มขึ้น เตือนช่วงปลายปีต้องเตรียมรับมือ

ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวภายในงานเสวนา “โรคหืดว่าด้วยมิติใหม่การรักษาและรับมือฝุ่นพิษปลายปี” ในงานประชุมวิชาการประจำปีสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศว่า วันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว แม้ขณะนี้หลายคนจะยังสัมผัสอากาศหนาวเย็นไม่ได้ก็ตาม แต่ก็ต้องเริ่มระมัดระวังสุขภาพร่างกายตนเองจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เพราะความกดอากาศสูงจะทำให้ฝุ่นควันไม่ลอยกระจายออกไป ฝุ่นจึงสะสมอย่างหนาแน่น

โดยปัญหาฝุ่นพิษช่วงปลายปี ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน – เมษายน ซึ่งจะเกิดปัญหาฝุ่นสะสมในทุกภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ยกเว้นเพียงภาคใต้ เพราะเป็นช่วงที่มีการเผาซากทางการเกษตร การเผาในที่โล่งต่างๆ และไม่ใช่แค่เพียงแต่ภายในประเทศที่มีการเผา ยังมีการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านอีก ทั้งจากเมียนมาร์ โดยเดือนพฤศจิกายนนี้ทางกัมพูชาก็จะมีการเผา ดังนั้นโซนทางตะวันออกของ กทม.ได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะทิศทางลมก็จะพัดเอาฝุ่นเหล่านี้เข้ามา

ศ.นพ.ชายชาญ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องของการก่อสร้างรถไฟฟ้าต่างๆ รวมไปถึงการจราจรติดขัด ทำให้เกิดเผาไหม้และปล่อยควันไอเสียมากขึ้น จนเกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สะสม โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.นั้น ตนมองว่า ฝุ่นจากสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดปีอยู่แล้ว แต่จะมีผลขึ้นมาเมื่ออากาศปิด แต่ที่ทำให้เกิดผลกระทบจริงๆ น่าจะมาจากการเผาในที่โล่งในพื้นที่ต่างๆ มากกว่า เพราะพบว่า ดัชนีการจราจรไม่ได้สัมพันธ์กับฝุ่นที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง ช่วงตอนกลางคืนที่รถไม่ได้ติดแล้ว ปริมาณรถก็ไม่ได้มาก แต่กลับมีฝุ่นเพิ่มขึ้น เพราะได้รับผลกระทบมาจากการเผามากกว่า อย่างไรก็ตาม ปัญหาของฝุ่น PM 2.5 จะมีผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยอาจทำให้คนที่ไม่เคยป่วยมาก่อน ป่วยขึ้นมาได้ โดยเฉพาะโรคหอบหืด ส่วนคนที่ป่วยอยู่แล้วมีอาการรุงแรงขึ้น ควบคุมอาการของโรคได้น้อยลง จนส่งผลระทบต่อกิจวัตรประจำวัน ไม่สามารถออกไปเรียนไปทำงานได้ ต้องใช้ยาช่วยบรรเทาอาการถี่ขึ้น หรืออาจต้องมานอนห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลมากขึ้น

“มีผลการศึกษาว่าฝุ่น PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุก 10% จะทำให้ผู้ป่วยหอบหืดมาห้องฉุกเฉินเพิ่มขึ้น 3% ดังนั้น หากฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นมาเป็น 100% ก็จะมีผู้ป่วยมามากถึง 30% จึงไม่แปลกที่ช่วงฝุ่นพิษปลายปีจะมีผู้ป่วยเข้ามาโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในระยะยาวยังทำให้อายุขัยสั้นลง เกิดมะเร็งปอดง่ายขึ้นเป็นโรคความดัน เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจขาดเลือดได้ง่ายขึ้นด้วย ดังนั้น ในช่วงปลายปีที่มีปัญหาฝุ่น ประชาชนและผู้ป่วยควรจะต้องติดตามดัชนีคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง หากเริ่มมีผลกระทบก็ควรป้องกันด้วยการใส่หน้ากากป้องกัน N95 หรือเปิดเครื่องฟอกอากาศ เพราะในบ้านและนอกบ้านค่าฝุ่นไม่ได้ต่างกัน” ศ.นพ.ชายชาญ กล่าว

ส่วนกรณีที่ กทม.มีการติดตั้งหอฟอกอากาศที่หน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ ศ.นพ.ชายชาญ มองว่าสามารถช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่นได้ประมาณ 10-15% ขึ้นกับว่าเป็นที่อับชุมชนเยอะหรือไม่ หากเป็นพื้นที่อับก็อาจจะได้ผลมาก อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องมีการใช้หลายตัวจึงจะช่วยลดปริมาณฝุ่นลงมาได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า