SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะกรรมการชุดตำรวจฯ เสนอผบ.ตร. ตั้งกรรมการสอบวินัยและอาญา ‘พนักงานสอบสวนทำคดีบอส’ หลังสอบครบ 15 วัน พบข้อบกพร่อง 10 ข้อหา เผยเจอหลักฐานใหม่แล้วเตรียมเสนอผบ.ตร. ส่งอัยการสูงสุดรื้อคดีฟ้องบอสในข้อหา ‘เสพยาเสพติด’ และ ‘ข้อหาขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย’ ยืนยันจะพยายามติดตามตัวบอสกลับมาดำเนินคดีให้ได้

วันที่ 13 ส.ค. 2563 คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง คดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ที่อัยการสั่งไม่ฟ้องและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)ไม่แย้ง ชุดที่มี พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ เป็นประธานคณะกรรมการ ได้แถลงผลการสอบสวนภายหลังทำงานครบ 15 วัน ตามที่พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กำหนด

พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วยผบ.ตร. ในฐานะรองประธานกรรมการ ได้เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดการตรวจสอบความบกพร่องโดยไล่เรียงการทำงานสำนวนคดีนี้ตั้งแต่ปี 2555 จนกระทั่งอัยการมีความสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธในข้อหาสุดท้าย คือขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยสรุป คือ

1. ส่งเรื่องให้ ผบ.ตร. ดำเนินการในส่วนของตำรวจ โดยเสนอให้พิจารณาว่าประเด็นใดบ้างที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลไปแล้ว กรณีบกพร่องที่ยังไม่ได้ชี้มูลหรือลงทัณฑ์ เพื่อดำเนินการสั่งการทางวินัยและหากเป็นคดีอาญาจะเสนอให้ดำเนินคดีอาญาต่อไป รวมทั้งจะเสนอป.ป.ช.เอาผิดตามมาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วย ถ้าหากพบความผิด ยืนยันไม่มีฟอกขาว

พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ขยายความในเรื่องนี้ว่า คณะกรรมการฯ พบบกพร่องทั้งพนักงานสอบสวนชุดเก่าและชุดใหม่ ซึ่งจะต้องดำเนินการเพิ่มเติมลงทัณฑ์อีก ทั้งหมด 11 นาย บวกคนใหม่อีก 3 หรือ 4 นาย อาจจะเป็นผู้กำกับการสน.ทองหล่อ รวมทั้งพนักงานสอบสวนชุดเก่า ซึ่งสตช.เคยส่งเรื่องพนักงานสอบสวน 11 นาย เรื่องทุจริตประพฤติมิชอบละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ให้ ป.ป.ช. แล้ว รวมทั้งผู้กำกับการ จะถูกตั้งกรรมการสอบสวนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบ โดยพบข้อบกพร้องเพิ่มเติม อาทิ ไม่ตรวจปัสสาวะเมื่อได้ตัวผู้ต้องหาในทันทีที่ได้ตัวในเวลา 09.10 น. จนทำให้ผลตรวจสารเสพติดเปลี่ยน, ไม่เก็บหลักฐานคำให้การสอบสวนที่เป็นสำเนาไว้แต่ส่งตัวจริงไปที่อัยการทั้งหมด, ผู้ออกรายงานไม่ตรงกับรายงาน, ไม่ออกหมายจับตามคำสั่งพนักงานอัยการหลายครั้ง

(พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น)

ในส่วนของ พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น นักวิทยาศาสตร์ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ที่กลับคำให้การเรื่องความเร็วรถ พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ระบุว่า เสนอผบ.ตร. ตั้งกรรมการสอบความผิดตามมาตรา 157 ทั้งนี้จากการสอบแล้ว พ.ต.อ.ธนสิทธิ ไม่มีใครกดดัน “ท่านเคยจะไปให้การเรื่องวิธีคิดมาแล้ว เคยจะกลับไปแล้ว แต่พนักงานสอบสวนบอกว่า คดีหมดอายุความแล้ว ท่านก็เลยคิดว่าไม่ต้องไปให้การเพิ่มเติม หลังจากให้การในครั้งที่ 2 ที่ความเร็ว 80 หลังจากนั้นไม่กี่วันท่านก็จะไปบอกว่าไม่ถูก หลักการของท่านถูก ท่านก็ไปพบพนักงานสอบสวนใหม่ แต่พนักงานสอบสวนบอกว่าคดีขาดอายุความไม่มีความจำเป็นท่านเลยคิดว่ามันจบแล้ว อย่างนี้พนักงานสอบสวนก็ต้องโดนด้วย”

2. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏรายงานของผู้เชี่ยวชาญยืนยันความเร็วรถที่ 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และผู้เชี่ยวชาญอื่นก็ยืนยันที่ความเร็ว 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้จะใช้หลักการเดียวกันกับที่คำนวณได้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญแก่คดี ที่สามารถพิสูจน์การกระทำความผิดของผู้ต้องหาได้ เห็นควรส่งพยานหลักฐานไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 147

“ความเร็วที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คณะกรรมการฯ เรียกมาสอบ เราเชื่อความเร็วที่วันนี้เราสอบผู้เชี่ยวชาญคนกลางเพิ่มเติม เราสอบพนักงานกองพิสูจน์หลักฐานเพิ่มเติม สอบจนกระทั่งวิธีการคำนวณทุกอย่างปรากฏออกมาว่า พนักงานสอบสวนชุดตรวจสอบข้อเท็จจริงเชื่อว่า ความเร็วที่ถูกต้องควรจะเป็น 177 ครับ และ/หรือมากกว่า 80 ครับ เราสอบผู้เชี่ยวชาญอื่นเพิ่มเติมด้วยแล้ว ถึงแม้จะใช้วิธีการคำนวณที่มีลักษณะเหมือนไม่เกิน 80 ผมไม่อยากเอ่ยชื่อแต่ก็ได้ผลที่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเหมือนอยู่ที่ 124 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็เป็นความผิดอยู่”

3. พบความบกพร่องในเรื่องการดำเนินคดียาเสพติดให้โทษที่ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยได้สอบถามไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเภสัชกร พบว่า สารแปลกปลอมที่พบในร่างกายของนายวรยุทธ 2 ชนิดนั้น เป็นสารที่เกิดจากการใช้โคคาอีน (โคเคน) ร่วมกับแอลกอฮอล์ เท่านั้น การใช้ อะม็อกซีซิลลิน ทำให้เกิดสารแปลกปลอมดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้นจะดำเนินคดี ‘เสพโคเคน’ ซึ่งมีโทษจำคุก 6 เดือน – 3 ปี ปรับ 10,000 – 60,000 บาท เห็นควรให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีในเรื่องนี้ต่อไป

ทั้งนี้ กรณีของ พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วยผบ.ตร. ที่มีความเห็นไม่แย้งพนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้องคดีนายวรยุทธ คณะกรรมการฯ เห็นว่า ‘ยังไม่บกพร่อง’ เพราะการแย้งคำสั่งพนักงานอัยการแย้งได้เฉพาะข้อกฎหมาย กฎระเบียบว่าอัยการอ้างมาถูกต้องหรือไม่ และแย้งได้เฉพาะที่เป็นพยานที่สามารถกลับความเห็นพนักงานอัยการได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่า พยาน 16 ปากในสำนวน ล้วนแต่ให้การเป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องหา มีพยานความเร็วเพียงปากเดียวที่จะนำไปสู่การลงโทษผู้ต้องหาได้ แต่พยานความเร็วได้ให้การความเร็วก็ให้การเหลือไม่ถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงไม่มีจุดแย้งได้

นอกจากนี้ ทางผบ.ตร. จะเข้ามาดูแลการสั่งคดีเรื่องแย้งความเห็นของพนักงานอัยการด้วยตนเอง และจะมีการวางกฎระเบียบให้กับผู้ช่วยผบ.ตร. ที่จะได้รับมอบหมายแทนต่อไป อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ชุดนี้ไม่ได้สอบในส่วนของผลประโยชน์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า