Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพมุมสูง พื้นที่ประสบอุทกภัย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี หลายชุมชนต้องอพยพทั้งหมู่บ้านหลังท่วมทั้งพื้นที่ (ภาพโดย Thai News Pix)

สทนช.ชี้ระดับน้ำโขงยังต่ำกว่าตลิ่ง ส่งผลให้แม่น้ำมูล จ.อุบลฯ ลดลงต่อเนื่อง คาดสถานี M.7 อีก 24 วัน ลดเท่าระดับตลิ่ง ประเมินมวลน้ำคงค้าง จ.อุบลฯ 2,700 ล้าน ลบ.ม. หลังทุกหน่วยระดมเร่งผลักดันน้ำไหลลง

เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ (16 ก.ย.62) ศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ระบุว่า ยังต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักมาก 7 จังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝังตะวันตก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝนลดลง

โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณ จ.ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ จ.อุบลราชธานี มีปริมาณฝนลดลงในระยะนี้ ในช่วงวันที่ 18 – 21 ก.ย. บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคอื่นๆมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ปริมาณฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (มม.) มีฝนตกหนักมากบริเวณ อ.บ่อไร่ (211) อ.คลองใหญ่ (204) อ. เกาะช้าง (165) จ.ตราด อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี (159) อ.เมือง (107) อ.กะเปอร์ (92) จ.ระนอง เขตจตุจักร กทม. (91)

 

น้ำมูล ชี ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่แม่น้ำสายหลัก คาดระดับน้ำในแม่น้ำยม มูล ชี มีแนวโน้มลดลง สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในหลายพื้นที่ ได้แก่ แม่น้ำยม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก แม่น้ำชี อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด อ.เมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี แม่น้ำมูล อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ อ.พิบูลมังสาหาร อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ลำเซบาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ลำเสียวใหญ่ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด แนวโน้มน้ำลดลง

แม่น้ำโขง ระดับน้ำที่ทุกจังหวัดริมลำน้ำโขง แนวโน้มลดลง 0.2-1.0 ม. ยกเว้น เชียงคานและหนองคาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 0.2-0.5 ม. ใน 3 วันข้างหน้า

ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ มีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 52,177 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ต้องเฝ้าระวัง 7 แห่ง ได้แก่ แม่จาง (81%) หนองหาร (112%) ลำปาว (84%) สิรินธร (92%) ศรีนครินทร์ (84%) วชิราลงกรณ (89%) และแก่งกระจาน (82%) เฝ้าระวัง น้ำน้อย 9 แห่ง โดยมีแนวโน้มปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 28 แห่ง ซึ่งถึงปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลลงแหล่งน้ำรวม 20,505 ล้าน ลบ.ม. ระบายออกรวม 13,215 ล้าน ลบ.ม. แหล่งน้ำขนาดกลาง เฝ้าระวังน้ำน้อย 61 แห่ง มีแนวโน้มปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 53 แห่ง แหล่งน้ำที่เสี่ยงน้ำมากกว่าความจุ 75 แห่ง ได้แก่ เหนือ 4 แห่ง ตอน. 68 แห่ง ตะวันออก 3 แห่ง

คุณภาพน้ำ ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่าค่ามาตรฐาน บริเวณ แม่น้ำมูล แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำนครชัยศรี

 

เขื่อนเจ้าพระยา ปรับแผนการระบายน้ำ

ส่วนลุ่มเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก : ระบายน้ำ 7.44 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การ 5,062 ล้าน ลบ.ม. (28%) และเก็บน้ำสำรอง 4,740 ล้าน ลบ.ม. ช่วยชะลอน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มชี-มูล 8 เขื่อนหลัก : ระบายน้ำ 4.11 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การ 1,911 ล้าน ลบ.ม. (32%) และเก็บสำรองน้ำเพิ่ม 1,554 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้บริหารจัดการฤดูแล้ง 62/63 ลุ่มภาคตะวันออก 6 เขื่อนหลัก : ระบายน้ำ 0.92 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การ 542 ล้าน ลบ.ม. (38%) และเก็บน้ำสำรอง 464 ล้าน ลบ.ม.

 

เฝ้าระวังน้ำหลาก-ดินโคนถล่ม

ขณะเดียวกันต้องเฝ้าระวังน้ำหลาก-ดินโคนถล่ม มีการแจ้งเตือน อพยพ ในพื้นที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด (4 ม.) เฝ้าระวัง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง (1 ม.) พื้นที่ประสบอุทกภัย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จ. (ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อํานาจเจริญ อุบลราชธานี)

อย่างไรก็ตาม สทนช.ชี้ระดับน้ำโขงยังต่ำกว่าตลิ่ง ส่งผลให้แม่น้ำมูล จ.อุบลฯ ลดลงต่อเนื่อง คาดสถานี M.7 อีก 24 วัน ลดเท่าระดับตลิ่ง ประเมินมวลน้ำคงค้าง จ.อุบลฯ 2,700 ล้าน ลบ.ม. หลังทุกหน่วยระดมเร่งผลักดันน้ำไหลลง พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางระยะสั้นและเร่งด่วน 4 แนวทางหลัก คือ

  • การเฝ้าระวังพื้นที่ ที่มีการไหลย้อนของแม่น้ำมูลตามลำน้ำสาขาฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก
  • ติดตามข้อมูลฝนในเขต จ.อุบลราชธานี และพื้นที่ต้นน้ำที่ไหลลงมูลล่างและในพื้นที่มูลล่าง พร้อมเฝ้าระวังในกรณีร่องมรสุมที่ตกแช่ในพื้นที่หลายวัน และในกรณีพายุพัดผ่าน
  • นำแผนที่เส้นชั้นความสูงทุกระยะ 2 เมตร วิเคราะห์ทิศทางของพื้นที่น้ำท่วมตามการคาดการณ์ระดับน้ำ เพื่อใช้ในการเตือนภัย  การเตรียมความพร้อม การอพยพ ประชาชน
  • เร่งพร่องน้ำในแม่น้ำมูล เพื่อลดระดับน้ำให้ลดลงต่ำ เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกในช่วง ก.ย.-ต.ค. โดยการลดน้ำหลากจากตอนบนเร่งระบายน้ำท้ายน้ำ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า