Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดชั้นยศตำรวจก่อนจะได้ตำแหน่ง ‘ผู้กำกับการ’ ตามระเบียบ ก.ตร. พ.ศ.2561 พบใช้เวลาเร็วสุด 17 ปี อดีตตำรวจเผยมี “ข้อยกเว้น” ที่ทำให้บางคนขึ้นเร็ว

หลังเกิดกรณี พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล ผู้กำกับการ สภ.เมืองนครสวรรค์ หรือ ผกก.โจ้ ก่อเหตุทำร้ายผู้ต้องหาคดียาเสพติดจนเสียชีวิต จนกลายเป็นข่าวสะเทือนวงการสีกากี จุดชนวนให้สังคมลุกมาตรวจสอบตำรวจอีกครั้ง และหนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี้ คือการได้มาซึ่ง “ตำแหน่งผู้กำกับการ”

workpointTODAY ได้สรุปข้อมูลจากระเบียบการเลื่อนยศและการเลื่อนตำแหน่งของตำรวจ ตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2561 ได้ระบุถึงขั้นตอนการคัดเลือกและแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเอาไว้ โดยจะมีตั้งแต่ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงมาถึงระดับสารวัตร

ในที่นี้จะขอหยิบเฉพาะการเลื่อนตำแหน่ง กว่าจะมาเป็นผู้กำกับการ (ผกก.) ซึ่งโดยรวมแล้วพบว่า จะใช้เวลาหลังเข้ารับราชการตำรวจในชั้นสัญญาบัตร หรือ ยศ ร.ต.ต. เป็นเวลาอย่างน้อย 17 ปี (ซึ่งระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละขั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม กฎ ก.ตร.) โดยการเลื่อนตำแหน่งจะพิจารณาจากคุณสมบัติ ดังนี้

  • รองสารวัตร เลื่อนขึ้นเป็น สารวัตร คุณสมบัติคือ ยศ ร.ต.อ. ทำงานในตำแหน่งมาแล้วอย่างน้อย 7 ปี
  • สารวัตร เลื่อนขึ้นเป็น รองผู้กำกับการ คุณสมบัติคือ ยศ พ.ต.ท. ทำงานในตำแหน่งมาแล้วอย่างน้อย 6 ปี
  • รองผู้กำกับการ เลื่อนขึ้นเป็น ผกก. คุณสมบัติคือ ยศ พ.ต.ท. ทำงานในตำแหน่งมาแล้วอย่างน้อย 4 ปี

โดยในการเลื่อนตำแหน่ง ได้ระบุว่า ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้จัดทำบัญชีข้อมูลหรือรายชื่อผู้เหมาะสมเสนอไปยังผู้มีอำนาจ นั่นคือ “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” แต่งตั้งโดยให้พิจารณาโดยคำนึงถึงอาวุโส  ประวัติการรับราชการ ผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติ และความรู้ความสามารถประกอบกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

⚫️กฎระเบียบ กับ การปฏิบัติจริง

แต่ในการปฏิบัติจริงอาจไม่ได้เป็นตามระเบียบนี้เสมอไป เพราะการจะขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นจะต้องรอตำแหน่งว่าง

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการสถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต อธิบายว่า “การเลื่อนยศในช่วง ร.ต.ต. ถึง ร.ต.อ. จะเป็นไปตามระบบอายุงานประมาณ 7 ปี แต่การจะเลื่อนตำแหน่งจาก ‘รองสารวัตร’ ขึ้นมาเป็น ‘สารวัตร’ ได้ ต้องรอให้มีตำแหน่งว่าง และต้องเข้าหาผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่ว่าจะได้เลื่อนขึ้นเลย หรือกระทั่งบางคนไม่ต้องรอให้ทำงานในตำแหน่งจนครบอายุงานที่กำหนด ก็เลื่อนตำแหน่งได้ คือ ใช้การยกเว้นหลักเกณฑ์ ส่งชื่อเข้าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ให้พิจารณา ซึ่งก็ทำให้บางคนได้ขึ้นเร็ว บางคนช้า หรือไม่ได้ขึ้นเลยก็มี”

ขณะที่ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ระบุว่า ก่อนที่จะขึ้นเป็น ผกก. จะต้องผ่าน 3 ชั้นยศมาก่อน ซึ่งเรื่องของเวลาว่าตำแหน่งละกี่ปีจะมีการปรับอยู่ตลอด ซึ่งกว่าจะได้ขึ้นเป็น ผกก. ก็ใช้เวลาอยู่ที่ราวประมาณ 17-18 ปี ซึ่งของ ผกก.โจ้ ที่เข้ารับราชการตำรวจ ปี 2547 และรับตำแหน่ง ผกก. ปี 2563 ยังถือว่าปกติอยู่ไม่เร็วมาก

“แต่ในระบบอุปถัมภ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มักจะมีการโยกย้ายที่เป็นคุณกับผู้ที่มีอำนาจ ก็เหมือนที่เราได้ยินว่าตำรวจถูกกว่าหา ใช้เงินวิ่งเต้นซื้อตำแหน่ง หรืออาจมีวิธีการโยกย้าย หรือฝ่าหลักเกณฑ์ และในการแต่งตั้งทุกครั้ง ก็จะพบพวกที่ขอยกเว้นที่ถือว่าเป็นปัญหาของตำรวจ และสังคมของตำรวจ เพราะคนที่ได้รับการยกเว้นก็จะขึ้นเร็ว เช่น เป็นสัก 1-2 ปี ฝ่าหลักเกณฑ์ขอขึ้นไป โดยมี ก.ตร. เป็นคนอนุมัติ พูดง่ายๆ ว่า ขยิบตากันว่าคนนั้นคนนี้มีความสามารถ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้มีแค่ระดับ ผกก. แต่เป็นไปถึงระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรียกได้ว่าใครจะได้เป็นนายพลได้ อยู่ในรสนิยมที่เรียกว่า การวิ่งเต้น กฎที่มีไม่ยอมเดินไปตามกฎ ลัดเส้นทางประจำอยู่ปีเดียวกระโดด” พล.ต.ต.สุพิศาล กล่าว

⚫️ระบบ “ตั๋ว” กับการรับตำแหน่ง

ผศ.ร.ต.อ.ดร.จอมเดช ตรีเมฆ นักวิชาการอาชญาวิทยา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การจะเลื่อนตำแหน่ง จะเลื่อนได้ก็ต่อเมื่อ ‘นายให้ขึ้น’ เป็นที่รู้กันดีในแวดวงตำรวจ กล่าวคือ การจะได้เลื่อนตำแหน่งนายตำรวจจะต้องขอให้ผู้บังคับบัญชาเสนอชื่อตัวเอง (เป็นไปตาม กฎ ก.ตร. กำหนด) แต่ไม่ใช่ว่าจะได้ขึ้นทุกคน เพราะทุกตำแหน่งมี ‘โควตา’ อยู่

“ระบบการให้ตำแหน่ง โดยผู้บังคับบัญชาระดับสูง ใครไม่รู้จักนายก็ไม่ได้ขึ้น เพราะระบบการเลื่อนตำแหน่งเขียนมาเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเป็นคนกำหนดรายชื่ออยู่แล้ว และการเข้าหาเพื่อให้ได้เลื่อนตำแหน่งต้องมี ‘ตั๋ว’ แต่ใช่ว่าใครที่มีตั๋วจะได้ขึ้น เพราะในกรณีที่ตำแหน่งนั้นๆ มีผู้ต้องการหลายคน ก็จะมีแคนดิเดต แล้ววัดกันด้วยความใหญ่ของตั๋ว ว่าได้มาจากใคร” ผศ.ร.ต.อ.ดร.จอมเดช กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผศ.ร.ต.อ.ดร.จอมเดช ระบุอีกว่า ยังมีตำรวจที่เลื่อนขั้นขึ้นมาได้โดยไม่ต้องจ่าย แต่ต้องเป็นคนที่มีความสามารถจริงๆ และเป็นที่รักของผู้บังคับบัญชาจริงๆ หรือมีผลงานที่ประจักษ์ผู้บังคับบัญชา ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าต้องอาศัยการเข้าหาให้รู้จักมักคุ้นเป็นสำคัญด้วย

แม้ว่าปัจจุบันจะมีความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และ กฎ ก.ตร. แต่เชื่อว่าระบบนี้จะไม่หายไป หรือแม้แต่การกระจายอำนาจไปให้จังหวัดแต่งตั้งก็แก้ยาก และระบบการเลื่อนขั้นแบบนี้น่าจะมีมีอยู่เกือบทุกวงการ ไม่ใช่เฉพาะตำรวจเท่านั้น

ที่มา
http://www.personnelpolice.com/announce61/01/18012561-1.pdf
http://www.opc.police.go.th/pdf/polnation.pdf

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า