Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ป.ป.ช. แจงหลักเกณฑ์ยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ ครม.ชุดรัฐบาล ‘เศรษฐา-พล.อ.ประยุทธ์’ ขีดเส้นไม่เกิน 4 พ.ย. 66

สื่อหลายสำนัก รายงานบทสัมภาษณ์ของ นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. ในวันนี้ (15 ก.ย. 66) ว่า ตามที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 102 กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 กำหนดให้ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง ภายใน 60 วัน นับถัดจากวันเข้ารับตำแหน่งหรือวันพ้นจากตำแหน่ง

โดยสำหรับนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี การยื่นบัญชีฯ กรณีเข้ารับตำแหน่งให้ถือวันถวายสัตย์ปฏิญาณฯ เป็นวันเข้ารับตำแหน่ง และการยื่นบัญชีฯ กรณีพ้นจากตำแหน่ง ให้ถือวันที่คณะรัฐมนตรีคณะใหม่ถวายสัตย์ฯ เป็นวันพ้นจากตำแหน่ง

สำหรับการยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกรณีเปลี่ยนผ่านรัฐบาลนั้น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณฯ เมื่อวันที่ 5 ก.ย.66 จึงส่งผลให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบของคณะรัฐมนตรีทั้ง 2 คณะ  ดังนี้

1. กรณีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 66 โดยมีระยะเวลาในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย. 66 ถึงวันที่ 4 พ.ย. 66

ทั้งนี้หากไม่สามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว สามารถยื่นคำขอขยายระยะเวลาการยื่นบัญชีฯ ได้ไม่เกิน 30 วัน โดยต้องยื่นคำขอดังกล่าวภายในวันที่ 4 พ.ย.66

2. นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 5 ก.ย.66 โดยมีระยะเวลาในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย.66 ถึงวันที่ 4 พ.ย.66 ทั้งนี้ หากไม่สามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว สามารถยื่นคำขอขยายระยะเวลาการยื่นบัญชีฯ ได้ไม่เกิน 30 วัน โดยต้องยื่นคำขอดังกล่าวภายในวันที่ 4 พ.ย.66

โดยหากมีรัฐมนตรีในรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายเศรษฐา ภายใน 30 วัน หลังพ้นจากตำแหน่ง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่ง และกรณีเข้ารับตำแหน่งใหม่ แต่ไม่ต้องห้ามที่จะยื่นไว้เป็นหลักฐาน

กรณีดำรงตำแหน่ง สส. และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีเข้ารับตำแหน่งใหม่ แต่ไม่ต้องห้ามที่จะยื่นไว้เป็นหลักฐาน

และกรณีพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายเศรษฐา ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ตามมาตรา 102 (9) และต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณี เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ตามมาตรา 102 (1)

ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. เชิญชวนให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ยื่นผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ https://asset.nacc.go.th./ods-app

เนื่องจากสามารถจัดเก็บและบริหารข้อมูลส่วนบุคคลตลอดจนรายการทรัพย์สินได้ง่าย ข้อมูลไม่สูญหายและสามารถนำไปใช้เป็นขึ้นมูลในการยื่นบัญชีฯ ครั้งถัดไปได้ อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลา ลดภาระในการเดินทาง และสะดวกรวดเร็ว มีความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งาน เพราะมีขั้นตอนยืนยันตัวตนอีกด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า