Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาฯ นัดสุดท้าย โหวตรับหลักการ ร่างกฎหมายประมง อวดชาวประมงที่เกาะติดร่วมลุ้นแน่นห้องประชุม เคาะยึดร่างที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย เป็นหลักใช้พิจารณาในวาระต่อไป

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ (23 ก.พ. 66) ซึ่งเป็นนัดสุดท้ายก่อนปิดสมัยประชุม มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. … จำนวน 7 ฉบับ ในวาระรับหลักการ (วาระแรก) ซึ่งค้างมาจากการประชุมสัปดาห์ที่แล้ว

โดยมีชาวประมงเดินทางมาร่วมฟังภายในห้องประชุมสภาฯ เพื่อติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ที่ประชุมจะรับหลักการกฎหมายนี้หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 291 ต่อ 0 คะแนน งดออกเสียง 2 คะแนน และไม่ลงคะแนน 1 คะแนน รับหลักการร่างพ.ร.บ.ฯ และตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ จำนวน 25 คน

อย่างไรก็ตามเมื่อที่ประชุมรับหลักการแล้ว ต้องตกลงกันว่า จะใช้ร่างกฎหมายฉบับใดเป็นหลักในการพิจารณา

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย คัดค้านการใช้ร่างพ.ร.บ.ประมงฯ ของ นางกันตวรรณ  ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา พรรคประชาธิปัตย์กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยต้องการให้นำร่างของพรรคเพื่อไทย ขึ้นมาเป็นร่างหลัก เพราะหากในสมัยหน้า พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลจะดำเนินการต่อได้ทันที ถ้าไปนำร่างอื่นที่ไม่สมบูรณ์มาเป็นร่างหลัก ก็อาจจะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่

ทำให้ นางกันตวรรณ ลุกตอบโต้ว่า ร่างดังกล่าวไม่ใช่ร่างของตน หรือ พรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นร่างของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาฯ ที่มีการตั้งอนุ กมธ. ขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ โดยมีตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง รวมถึงตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมแสดงความเห็น จึงได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างรอบคอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และกล่าวด้วยว่า ตนไม่อยากให้สภาฯ แห่งนี้เล่นการเมือง จนวันสุดท้ายของการประชุมสภาฯ

หลังถกเถียงว่า จะใช้ร่างของฝ่ายใดเป็นหลัก ระหว่างร่างของพรรคเพื่อไทย และร่างของพรรคประชาธิปัตย์ สุดท้ายที่ประชุมลงมติด้วยคะแนน 140 ต่อ 137 คะแนน งดออกเสียง 1 คะแนน และไม่ลงคะแนน 1 คะแนน ใช้ร่างของพรรคเพื่อไทย เป็นร่างหลักในการพิจารณา

ขณะที่ นายศักดินัย นุ่มหนู ส.ส.ตราด พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ในฐานะคนหนึ่งที่มีส่วนผลักดันกฎหมายนี้ รู้สึกยินดีกับพี่น้องชาวประมงที่ร่างนี้ผ่านวาระแรก เนื่องจากพ.ร.ก.การประมง 2558 เป็นกฎหมายในยุค คสช. หลังจากสหภาพยุโรปประกาศให้ใบเหลืองประเทศไทย เพราะเห็นว่า ไทยไม่มีการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ทางการไทยปรับปรุงกฎระเบียบและออกบทลงโทษเพื่อเพิ่มความเข้มงวด แต่กลายเป็นว่า กฎหมายที่ออกมาไปกำกับควบคุมชาวประมงอย่างเข้มงวดเกินสัดส่วน ลิดรอนสิทธิการทำประมงพื้นบ้านของชาวประมงทั่วประเทศ หลังการบังคับใช้เกือบ 10 ปี ปัญหาต่างๆ ของพี่น้องชาวประมงยังคงอยู่ ไม่มีทีท่าจะคลี่คลาย ชาวประมงหลายรายต้องสูญเสียอาชีพและไม่สามารถทำมาหากินได้

นายศักดินัย กล่าวต่อว่า ตนร่วมลุ้นมาตลอด การที่สภาฯ เห็นชอบวาระแรก ทันเวลาก่อนครบวาระของสภาชุดนี้ ต้องให้เครดิตพี่น้องชาวประมงที่ต่อสู้ ทั้งผ่านการชุมนุมกดดันและการเข้าร่วมเป็นอนุกรรมาธิการ ยืนยันว่า การแก้ไขกฎหมาย ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องชาวประมงเท่านั้น แต่เพื่อยืนยันหลักสำคัญ 2 ประการ คือ 1.การแก้ไขกฎหมายต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนในการทำประมง และ 2.ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนและการส่งต่อทรัพยากรถึงคนรุ่นหลัง

“ที่ผ่านมาหลายฝ่ายมีความกังวลพอ เนื่องจากสภาฯ ไม่ครบองค์ประชุมและล่มบ่อย ทำให้กลุ่มพี่น้องชาวประมงกว่า 22 จังหวัดต้องมายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้อง ขอให้เลื่อนวาระพิจารณาและรับหลักการร่างกฎหมายนี้ให้ทันสมัยประชุม เพราะจะช่วยให้รัฐบาลหน้าหยิบมาดำเนินการต่อได้เลย ไม่จำเป็นต้องผลักดันกันใหม่” นายศักดินัย กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า