Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาฯ ตั้งกระทู้ถามสดปมเครื่องบินรบเมียนมารุกล้ำน่านอธิปไตยไทย ขณะที่ นายกฯส่ง รมช.กห. แจงแทน ยืนยันไทยดำเนินการรอบคอบรัดกุมทั้งด้านทหารและการทูต

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ทั้งนี้ในการพิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา นายศราวุธ เพชรพนมพร ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย (พท.)ได้ตั้งกระทู้สดด้วยวาจาสอบถาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเรื่อง กรณีที่มีเครื่องบินเมียนมาบินรุกล้ำน่านฟ้าไทย บริเวณอ.พบพระ จ.ตาก เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยพล.อ.ประยุทธ์ ติดภารกิจ จึงได้มอบหมายให้ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหมเข้าชี้แจงแทน

นายศราวุธ ถามว่า กองทัพเมียนมาได้เข้ามาปฏิบัติภารกิจทางการทหาร ผลการปฏิบัตินั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บ 3 ราย และเสียชีวิต 3 ราย ซึ่ง 1 ในนั้นเป็นคนไทย 1 ราย ทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายแดนได้รับความตกใจ โรงเรียนต้องปิดเรียน ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย ทำให้ถูกด้อยค่าศักดิ์ศรีความเป็นชาติ ประชาชนรู้สึกหวาดกลัว และรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งก่อนเกิดเหตุทางแม่ทัพภาคที่ 3 บินไปร่วมประชุมกับรัฐบาลเมียนมาในหัวข้อบริหารจัดการชายแดนร่วมไทย-เมียนมา หลังจากการประชุม 1 วันก็เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เรื่องนี้ทำให้คนไทยและสังคมดลกมองว่าเราหลับตาข้างหนึ่งเพื่อเปิดพื้นที่และเปิดโอกาสให้เครื่องบินรบเมียนมาเข้ามาใช้พื้นที่ไทยยิงถล่มชนกลุ่มน้อยใช่หรือไม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้เมียนมากับชนกลุ่มน้อยรบกันมายาวนาน แต่ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น อีกทั้งรู้สึกผิดหวังจากคำให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ที่มีมาตรฐานของนายกฯต่ำมากที่ยอมรับเหตุการณ์นี้ได้ และถามว่าจะซื้ออาวุธไปทำไมทุกปี เพราะเมื่อเกิดเหตุก็บอกว่าเขาเป็นเพื่อนเรา ที่บอกว่าเขาขอโทษแล้วนั้น ถามว่าเขาขอโทษกับใคร เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว รัฐบาลต้องเรียกร้องให้ขอโทษอย่างเป็นทางการ

ด้าน พล.อ.ชัยชาญ ชี้แจงว่า เราปรารถนาที่เห็นสันติภาพในเมียนมาโดยเร็ว และที่ผ่านมาไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านช่องทางต่างๆ ด้วยบทบาทที่สร้างสรรค์ระหว่างประเทศ ส่วนเหตุการณ์เครื่องบินเมียนมารุกล้ำเข้ามานั้น ทางกองทัพอากาศไทยมีการเฝ้าระวังทางอากาศตลอด 24 ชั่วโมงด้วยระบบเรดาห์ของกองทัพที่มีรัศมีตรวจสอบระยะห่างจากแนวชายแดนเพื่อตรวจจับเครื่องบินที่บินใกล้บริเวณแนวชายแดน โดยมีหน่วยบินเตรียมพร้อมที่จะขึ้นปฏิบัติการรองรับสถานการณ์ได้ทันที กรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.เวลา 11.16 น. เรดาห์กองทัพอากาศได้ตรวจพบอากาศยานของเมียนมา คาดว่าเป็นเครื่องบินรบมิก 29 บินห่างชายแดนไทยประมาณ 100 ไมล์ทะเล หรือ 108 กิโลเมตร เมื่อศูนย์ยุทธการทางอากาศได้ทำการพิสูจน์ฝ่ายแล้วได้เฝ้าติดตามตลอดเวลา

รมช.กลาโหม กล่าวต่อว่า และ เมื่อเวลา 11.48 น. เครื่องบินลำดังกล่าวได้ปฏิบัติการอยู่ในประเทศเมียนมาฝั่งตรงข้ามอ.พบพระ และเมื่อเวลา 11.56 น. เครื่องบินลำดังกล่าวได้บินล้ำเขตแดนเข้ามาฝั่งไทยประมาณ 1 ไมล์ทะเลบริเวณ ต.วาเล่ อ.พบพระ มีทิศทางมุ่งหน้ากลับประเทศ และหายจากจอเรดาห์ไป ในช่วงที่บินล้ำเข้ามาเป็นช่วงเวลาสั้น กองทัพอากาศเมื่อจับเรดาห์ได้จึงมีมาตรการตอบโต้โดยทำการประท้วงผ่านผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทยประจำเมียนมา

รวมทั้งประท้วงผ่านช่องทางคณะกรรมการชายไทยท้องถิ่นไทย-เมียนมา (ทีบีซี) จากนั้นเวลา14.00 น.กองทัพอากาศไทยตรวบพบอากาศยานเมียนมาคาดว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบเอ็มไอ17 ห่างแนวชายแดนไทยประมาณ 48 ไมล์ทะเลหรือ 86 กิโลเมตร จึงส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ16 จำนวน2 ลำจาก อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ขึ้นทำการบินเวลา 14.02 น. เพื่อเตรียมพร้อมสกัดกั้น แต่ไม่ได้มีการล้ำเข้ามาในเขตแดนของไทย กองทัพอากาศจึงได้สั่งการให้เครื่องบินเอฟ 16 ดังกล่าวบินลาดตระเวนรบรักษาเขต เพื่อป้องกันการผิดพลาดหากกรณีเมียนมาล้ำเข้ามาไทยอีก ทุกอย่างเป็นไปตามหลักการสากล และการสั่งการที่เกี่ยวข้องภายใต้กระบวนการคิดและตัดสินใจที่เป็นแบบแผนทางทหารด้วยความรอบคอบรัดกุมทั้งด้านทหารและการทูต พร้อมทั้งเรียกร้องเยียวยาค่าเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้น และขอไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาอีก

พล.อ.ชัยชาญ ชี้แจงอีกว่า ส่วนที่แม่ทัพภาคที่ 3 ไปร่วมประชุมที่เมียนมานั้น ในประเทศรอบบ้านทั้งหมดเรามีกลไกความร่วมมือสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจร่วมมือป้องกันชายแดนให้มีความมั่นคง ป้อกงันการลักลอบทำผิดกฎหมยา ซึ่งรอบบ้านนั้นมีกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่ที่หน่วยทหารในพื้นที่ก็ได้เจรจาทำความเข้าใจกันเพื่อไม่ให้เหตุการณ์บานปลายมากขึ้น ระดับภาคที่มีแม่ทัพภาคทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมกัน ระดับสูงที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดสองประเทศดำเนินการร่วมกัน รวมถึงระดับกระทรวงกลาโหม กลไกเหล่านี้ป้องกันความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้สถานการณ์รุกลามออกไปจนไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทยและเพื่อนบ้านด้วย ยันยันว่าที่มีการไปร่วมประชุมนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการอะไรของเมียนมาทั้งสิ้น อีกทั้งในระดับกระทรวงต่างประเทศก็มีการดำเนินการอยู่ ไทยมีนโยบายชัดเจนยืนยันไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้ดินแดนไทยหรือสนับสนุนฝ่ายใดปฏิบัติในประเทศอื่นให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ไม่ให้ดำเนินการเด็ดขาด

พล.อ.ชัยชาญ ชี้แจงอีกว่า ขณะที่ผู้ที่เสียชีวิตมีสถานะเป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย เป็นบุตรของชนกลุ่มน้อยที่เกิดในไทย มีบัตรสีชมพู ซึ่งมีเพียงสิทธิด้านสาธารณสุขและสิทธิอาศัยในไทยได้ และอาศัยอยู่พื้นที่เมียนมา การเข้าออกไทยเป็นการดำเนินการของเขาตามชีวิตประจำวัน ยืนยันประเทศไทยยึดถือแนวทางการดำเนินการบนพื้นฐานตามฉันทามติ และหลักมนุษยธรรมอย่างเคร่งครัด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า